Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/39312
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | รศ.ดร.ศศิเพ็ญ พวงสายใจ | - |
dc.contributor.advisor | รศ.พรทิพย์ เธียรธีรวิทย์ | - |
dc.contributor.author | ธีรพัฒน์ พัฒน์ใหญ่ยิ่ง | en_US |
dc.date.accessioned | 2016-07-04T09:02:35Z | - |
dc.date.available | 2016-07-04T09:02:35Z | - |
dc.date.issued | 2558-05 | - |
dc.identifier.uri | http://repository.cmu.ac.th/handle/6653943832/39312 | - |
dc.description.abstract | This study aimed to analyze factors affecting the success and evaluating success of borrowers loaning the village development fund from the Government Savings Bank. Samples of the study were 8 groups of Borrower who received loans from the village development fund from the Government Savings Bank, Thasae branch, Chumphon province. The samples were Country Side Development Savings Group, Bang Mai Kaew Village Development Fund, Bank FonTok Village Fund, Suk Samran Saving Group, Ban Pan Wan Saving Group, Ban Pan Wan Farmers’ House Wife Savind Group, Na Mueang Village Fund, and Thung Bin Village Fund. Five factors were studied which affected the success, which included operational structure, group committee, group members, support from others, and overall achievement. Data were collected from the interviews, questionnaires and information documents from each group. Data were analysed by using descriptive statistics including frequency, percentage, and mean. Results from studying factors affecting success to manage loan from the Government Saving Bank found that in terms of operational structure, most of the groups had explicit operational structure. Moreover, the group regulations were specified, operations were planned, tasks were separated, group members were well cared, and group reputation was well propagated. In terms of group committee, the committees were experienced, cooperative and satisfied with their work. However, committees in some groups were not provided additional knowledge. In terms of group members, most of the members had well knowledge and understanding about applying loan. Loans were used in compliance with the objectives and the members saved money regularly. The defaults of members also occurred in very small proportions. In terms of the support, Village funds were supported by the government of training and giving advices. In contrast, the saving groups were not supported by the Government. Furthermore, Ban Pan Wan Famers’ House Wife Saving Group loaned from Rubror Sub-district Administration Organization for the revolving fund. In terms of the overall achievement, all of the members saved money and most of them loaned money from the group. All of the groups gained profits from the operation with average between 10,000-150,000 baht. The success of groups were analysed and found that there were 3 groups with highest success and 5 groups with medium success. The highest successful groups had higher potentials than the medium successful groups in every aspect. The highest successful groups had explicit operational structures, experienced committees who learnt more for additional knowledge, members who understood on applying loan, paying depth, and savings, support from the government. The proportion of loaner per members more than the medium successful group, and had average rate of profit per loan of 1.95%, while the medium successful group had 1.87% | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของลูกหนี้ที่ใช้สินเชื่อเพื่อ พัฒนาชนบทของธนาคารออมสิน | en_US |
dc.title.alternative | Factors Effecting the Success of Borrowers Loaning the Village Development Fund from Government Savings Bank | en_US |
dc.type | Independent Study (IS) | |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของลูกหนี้ที่ใช้สินเชื่อเพื่อพัฒนาชนบทของธนาคารออมสินและเพื่อประเมินความสำเร็จของลูกหนี้ที่ใช้สินเชื่อเพื่อพัฒนาชนบทของธนาคารออมสิน กลุ่มตัวอย่างคือกลุ่มสินเชื่อเพื่อพัฒนาชนบทที่ได้กู้เงินกับธนาคารออมสินสาขาท่าแซะ จังหวัดชุมพร จำนวน 8 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มออมทรัพย์พัฒนาร่วมใจสู่ชนบท กองทุนหมู่บ้านบางไม้แก้วพัฒนา กองทุนหมู่บ้านบางฝนตก กลุ่มออมทรัพย์สุขสำราญ กลุ่มออมทรัพย์บ้านพันวาล กลุ่มสตรีแม่บ้านพันวาลร่วมใจการเกษตร กองทุนหมู่บ้านนาเมือง และกองทุนหมู่บ้านทุ่งบิ่น โดยทำการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จทั้งหมด 5 ด้าน ได้แก่ ด้านโครงสร้างการปฏิบัติงาน ด้านคณะกรรมการกลุ่ม ด้านสมาชิกกลุ่ม ด้านการได้รับการสนับสนุนต่างๆ และด้านผลการดำเนินงานของกลุ่ม ข้อมูลได้จากการสัมภาษณ์กลุ่มประกอบแบบสอบถาม และข้อมูลจากเอกสารของกลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย ผลการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารสินเชื่อที่ได้จากธนาคารออมสิน พบว่าด้านโครงสร้างการปฏิบัติงาน ส่วนใหญ่กลุ่มมีโครงสร้างการปฏิบัติงานที่ชัดเจน โดยมีการกำหนดกฎระเบียบของกลุ่ม มีการวางแผนการปฏิบัติงาน มีการแบ่งหน้าที่ในการปฏิบัติงาน มีการดูแลสมาชิกกลุ่ม และมีการเผยแพร่ชื่อเสียงให้กับกลุ่มเป็นอย่างดี ด้านคณะกรรมการกลุ่มพบว่าส่วนใหญ่คณะกรรมการมีความรู้ความสามารถในการทำงาน มีส่วนร่วมและมีความพึงพอใจในการทำงานเป็นอย่างดี แต่ทั้งนี้ยังมีบางกลุ่มที่ทางกลุ่มไม่ได้จัดให้มีการเรียนรู้เพิ่มเติมในการทำงาน ด้านสมาชิกกลุ่ม พบว่าส่วนใหญ่สมาชิกมีความรู้ความเข้าใจในการใช้สินเชื่อเป็นอย่างดี มีการใช้สินเชื่อตามวัตถุประสงค์การให้กู้ มีการออมเงินกับกลุ่มอย่างสม่ำเสมอ และมีการผิดนัดชำระหนี้กับกลุ่มในสัดส่วนที่น้อยมาก ด้านการได้รับการสนับสนุนต่างๆ พบว่ากลุ่มที่มีสถานะเป็นกองทุนหมู่บ้าน จะได้รับการสนับสนุนด้านเงินทุนจากรัฐบาลและการเข้ามาให้ความรู้คำแนะนำในการทำงาน ส่วนกลุ่มที่มีสถานะเป็นกลุ่มออมทรัพย์ ไม่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลแต่อย่างใด ทั้งนี้ยกเว้นกลุ่มสตรีแม่บ้านพันวาลร่วมใจการเกษตรที่ได้รับเงินกู้จากองค์การบริหารส่วนตำบลรับร่อไว้สำหรับเป็นเงินทุนหมุนเวียนของกลุ่ม และด้านผลการดำเนินงานของกลุ่ม พบว่าสมาชิกทุกคนได้ออมเงินกับทางกลุ่ม และสมาชิกส่วนใหญ่ได้กู้เงินกับทางกลุ่มเช่นเดียวกัน ทุกกลุ่มมีผลกำไรจากการดำเนินงานโดยมีกำไรเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 10,000 – 150,000 บาท เมื่อประเมินความสำเร็จของกลุ่ม พบว่ากลุ่มที่มีความสำเร็จสูง มีทั้งหมด 3 กลุ่ม ส่วนกลุ่มที่มีความสำเร็จปานกลาง มีทั้งหมด 5 กลุ่ม ซึ่งกลุ่มที่มีความสำเร็จสูงมีศักยภาพสูงกว่ากลุ่มที่มีความสำเร็จปานกลางในทุกๆด้าน กล่าวคือกลุ่มที่มีความสำเร็จสูงมีโครงสร้างการปฏิบัติงานที่ชัดเจน คณะกรรมการมีความรู้เกี่ยวกับสินเชื่อและมีการเรียนรู้ศึกษาเพิ่มเติม สมาชิกมีความรู้ความเข้าใจในการใช้สินเชื่อ การชำระหนี้คืนให้กับกลุ่ม และการออมเงินกับกลุ่ม ได้รับการสนับสนุนเงินทุนจากรัฐบาล มีสัดส่วนผู้กู้ต่อสมาชิกมากกว่ากลุ่มที่มีความสำเร็จปานกลาง มีอัตราผลกำไรต่อจำนวนเงินกู้ที่ได้รับเฉลี่ยร้อยละ 1.95 ในขณะที่กลุ่มที่มีความสำเร็จปานกลางมีอัตราผลกำไรต่อจำนวนเงินกู้ที่ได้รับเฉลี่ยร้อยละ 1.87 | en_US |
Appears in Collections: | ECON: Independent Study (IS) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Abstract.docx | Abstract (words) | 54.44 kB | Microsoft Word XML | View/Open |
ABSTRACT.pdf | Abstract | 244.29 kB | Adobe PDF | View/Open |
full.pdf | Full IS | 3.16 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.