Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/39332
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อลงกรณ์ คูตระกูล | - |
dc.contributor.author | ปุณยนุช ทาอินทร์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2016-07-05T02:16:41Z | - |
dc.date.available | 2016-07-05T02:16:41Z | - |
dc.date.issued | 2558-05 | - |
dc.identifier.uri | http://repository.cmu.ac.th/handle/6653943832/39332 | - |
dc.description.abstract | The study of Collaborative Knowledge Management Between Luang Nuea Subdistrict Municipality and Tai-Lue Community, Doi Saket District, Chiang Mai Province had 3 objectives as follows: 1) to study the identity of Tai Lue Wisdom 2) to study the nature of Tai Lue Tradition and Culture that affect Tai Lue Wisdom 3) to study the implementation of Luang Nuea Subdistrict Municipality in promoting and supporting Tai Lue Wisdom 4) to study the role of various departments on the development of Tai Lue Wisdom in Luang Nuea Subdistrict, Doi Saket District, Chiang Mai Province. This study was a qualitative research. The researcher collected data from 22 persons who concerned about learning resource development in Luang Nuea Village and all of them were also living in this community. The population included persons who had knowledge about Tai Lue Wisdom, seniors, local executives, community leaders, village philosophers/wisdom scholars, youth leaders, and municipal officials and using in-depth interviews and non-participant observation in various learning activities. The study found that people who involved in the management of local wisdom used a systematic process in knowledge management. This process was processing information in a thought or action as well as specific experience of individuals to generate the knowledge or innovation and storing it as the resource that the general people could easily access through various channels which they could bring the knowledge received to be applied in their lives. There were the sharing and transfer of knowledge. Finally, the knowledge would be spreading and circulating widely. Tai Lue Wisdom of Luang Nuea Village had a clear identity of ethnic group which had 4 characteristics included the knowledge and the knowledge system, the accumulation and dissemination of knowledge, the transfer of knowledge, and the creation. The development of wisdom to be become a place of learning had used several important factors, including strengthened community and cooperated in the development of learning resource and community leaders collaborated to develop and promote the knowledge of wisdom. It also had a network operation and mutual cooperation. The wisdom scholars were in a variety of fields and experiences, so that they were ready to transfer knowledge to those interested all the time. The suggestions of this study were as follows: 1) local government should support the budget to the wisdom scholars for developing and integrating knowledge 2) local government should develop Tai Lue Wisdom networks in northern provinces to be an outstanding work 3) local government should support the development of local wisdom to be a travel place managed by a unified community such as supporting budget, staffs, and information technology 4) community itself should create network in subdistrict, district, and province to be strengthened and propose projects to government agencies at various levels. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | การจัดการความรู้ร่วมกันระหว่างเทศบาลตำบลลวงเหนือกับชุมชนไทลื้อ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ | en_US |
dc.title.alternative | Collaborative Knowledge Management Between Luang Nuea Subdistrict Municipality and Tai-Lue Community, Doi Saket District, Chiang Mai Province | en_US |
dc.type | Independent Study (IS) | |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | การศึกษาเรื่อง การจัดการความรู้ร่วมกันระหว่างเทศบาลตำบลลวงเหนือกับชุมชนไทลื้อ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ ได้แก่ (1) เพื่อศึกษาลักษณะอัตลักษณ์ของภูมิปัญญาไทลื้อ (2) เพื่อศึกษาลักษณะของวัฒนธรรมประเพณีไทลื้อที่ส่งผลต่อภูมิปัญญาไทลื้อ (3) เพื่อศึกษาแนวทางการดำเนินงานของเทศบาลตำบลลวงเหนือในการส่งเสริมและสนับสนุนภูมิปัญญาไทลื้อ (4) เพื่อศึกษาบทบาทของฝ่ายต่างๆ ในการพัฒนาภูมิปัญญาไทลื้อ ตำบลลวงเหนือ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ศึกษาเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในชุมชนไทลื้อบ้านลวงเหนือ ซึ่งประกอบด้วยประชากรที่อาศัยอยู่ในชุมชนไทลื้อ เช่น ผู้มีความรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาไทลื้อ ผู้อาวุโส ผู้บริหารท้องถิ่น ผู้นำชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน/ครูภูมิปัญญา ผู้นำเยาวชน เจ้าหน้าที่เทศบาล จำนวนทั้งหมด 22 คน โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วมในกิจกรรมแหล่งเรียนรู้ต่างๆ จากการศึกษาพบว่า การจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นนั้น ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องใช้กระบวนการจัดการความรู้อย่างเป็นระบบ ซึ่งกระบวนการนี้เป็นการประมวลข้อมูลสารสนเทศต่างๆ ความคิด หรือการกระทำ ตลอดจนประสบการณ์เฉพาะของบุคคล เพื่อสร้างเป็นความรู้หรือนวัตกรรมขึ้นมา แล้วจัดเก็บความรู้หรือนวัตกรรมนั้นๆ ให้อยู่ในลักษณะของแหล่งข้อมูลที่บุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงได้ง่าย โดยอาศัยช่องทางต่าง ๆ เพื่อที่บุคคลเหล่านั้นได้นำความรู้ที่มีอยู่นั้นไปประยุกต์ใช้ต่อไป ซึ่งก่อให้เกิดการแบ่งปันและถ่ายโอนความรู้และในที่สุดความรู้ที่มีอยู่จะแพร่กระจายและเกิดการไหลเวียนของความรู้อย่างกว้างขวาง ภูมิปัญญาไทลื้อบ้านลวงเหนือนั้นมีความเป็นอัตลักษณ์ทางกลุ่มชาติพันธุ์ที่ชัดเจน 4 ลักษณะ ได้แก่ ความรู้และระบบความรู้ การสั่งสมและการกระจายความรู้ การถ่ายทอดความรู้ การสร้างสรรค์ การพัฒนาภูมิปัญญาให้เป็นแหล่งเรียนรู้ได้ ด้วยปัจจัยสำคัญหลายประการ ได้แก่ ชุมชนมีความเข้มแข็งและให้ความร่วมมือในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ผู้นำชุมชนให้ความร่วมมือในการพัฒนาและส่งเสริมองค์ความรู้ด้านภูมิปัญญา อีกทั้งยังมีการสร้างเครือข่ายการดำเนินงานที่ชัดเจนและให้ความร่วมมือซึ่งกันและกัน รวมถึงครูภูมิปัญญาในชุมชนมีหลากหลายสาขา และมีประสบการณ์ มีภูมิความรู้ที่พร้อมที่จะถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้ที่สนใจตลอดเวลา ดังนั้น ข้อเสนอแนะจากการศึกษานี้ ได้แก่ 1) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรสนับสนุนงบประมาณให้แก่ครูภูมิปัญญา เพื่อการพัฒนาหรือบูรณาการความรู้ที่มี 2) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรมีการพัฒนาเครือข่ายภูมิปัญญาไทลื้อ ในเขตจังหวัดภาคเหนือ พัฒนาภูมิปัญญาให้มีความโดด 3) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรสนับสนุนการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชนแบบครบวงจร ตั้งแต่การสนับสนุนงบประมาณ บุคลากร สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ 4) ชุมชนเองควรสร้างเครือข่ายในระดับตำบล อำเภอ จังหวัด ให้มีความเข้มแข็ง และเสนอโครงการให้หน่วยงานภาครัฐระดับต่างๆ | en_US |
Appears in Collections: | POL: Independent Study (IS) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Abstract.doc | Abstract (words) | 70 kB | Microsoft Word | View/Open Request a copy |
ABSTRACT.pdf | Abstract | 163.2 kB | Adobe PDF | View/Open |
full.pdf | Full IS | 4.36 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.