Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/39916
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorรองศาสตราจารย์ ดร. วรลัญจก์ บุญยสุรัตน์-
dc.contributor.authorประดับใจ สายเมืองนายen_US
dc.date.accessioned2017-08-23T04:13:45Z-
dc.date.available2017-08-23T04:13:45Z-
dc.date.issued2557-08-11-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/39916-
dc.description.abstractThe route along the road from Mueang district to Mae Sai and Chiang San districts, Chiang Rai province was once the route used by people to pass the ancient communities; so, there are many interesting cultural heritage left to be seen. At present, this route is still a significant tourist route of Chiang Rai province. In order to increase potential of learning and travelling along the mentioned route, this study aims to study Buddha images which are valuable, important and sacred according to belief of each community located along the aforementioned road. The overall aim is to manage this route as a learning and cultural tourism source. The result of the study found that there are 24 valuable, important and sacred Buddha images connected with residences and communities have been found dispersed around temples in the area of Mueang, Mae Jan, Chiang San and Mae Sai districts. Therefore, the following criterion was created to select 9 valuable and sacred Buddha images: The Emerald Buddha from Phra Kaew temple Mueang district, Phra Sing Buddha from Phra Sing temple Mueang district, Luang Pho Phra Si Ming Mueang from Ming Mueang temple Mueang district, Patilhan mong kron from Falang Mint temple Mueang district, Luangpor To from Phra that Chom Chan temple Mae Chan district , Pha Ngao Buddha from Pra Tat Pha Ngao temple Chiang San districts, Chiang San Sing 1 Buddha from Chedi Luang temple Chiang San districts, Na Wa Lan kwao Tue Buddha from Pu Khow temple Chiang San districts, In San Buddha from Pra Tat Doi Wao temple Mae Sai districts. All these mentioned Buddha images will be arranged along the learning and cultural tourism route. In order to create successful and effective learning and cultural tourism route, management form with the collaboration of community was proposed to encourage the participation of temples and residents in doing activities together, producing media for learning and facilities for tourism as well as collaborating with local administration located in each area taking part in supporting any activity.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectพระพุทธรูปen_US
dc.titleการศึกษาพระพุทธรูปสำคัญ ในจังหวัดเชียงราย เพื่อเพิ่มศักยภาพการจัดการเรียนรู้และการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมen_US
dc.title.alternativeThe Study of Buddha’s Important in Chiang Rai Province for Strengthen Potential Management of Learning and Cultural Tourismen_US
dc.typeThesis
thailis.classification.ddc915.9361-
thailis.controlvocab.thashพระพุทธรูป-
thailis.controlvocab.thashการท่องเที่ยว -- แง่ศาสนา -- เชียงราย-
thailis.controlvocab.thashเชียงราย -- ภูมิประเทศและการท่องเที่ยว-
thailis.controlvocab.thashเชียงราย -- ประวัติศาสตร์-
thailis.manuscript.callnumberว/ภน 915.9361 ป17114ก-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractเส้นทางตามแนวถนนจากอำเภอเมือง ผ่านอำเภอแม่จัน ไปยังอำเภอแม่สาย และอำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ในอดีตเคยมีเส้นทางผ่านชุมชนโบราณที่มีความรุ่งเรืองต่างๆ จึงปรากฏมรดกวัฒนธรรมที่น่าสนใจเป็นอันมาก และยังคงสืบทอดการเป็นเส้นทางท่องเที่ยวของจังหวัดเชียงรายอยู่จากอดีตหากแต่ปัจจุบันจุดมุ่งหมายของเส้นทางนี้กลับมุ่งเน้นพียงการท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการติดต่อทางธุรกิจการค้า โดยละเลยสิ่งที่สำคัญของเส้นทาง คือ สถานที่ที่มีความเกี่ยวโยงกับประวัติศาสตร์ของเมืองโบราณ อาทิ อาณาจักรเชียงแสน อาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ของล้านนาในอดีต ซึ่งยังคงหลงเหลือหลักฐาน คือ “พระพุทธรูปองค์สำคัญในหลากหลายยุคสมัย” ดังนั้นเพื่อเพิ่มศักยภาพองค์ความรู้บนเส้นทางดังกล่าวนี้ การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพระพุทธรูปสำคัญที่มีคุณค่า และความศักดิ์สิทธิ์ตามคติความเชื่อของชุมชนต่างๆ ตามเส้นทางถนนสายดังกล่าว และนำเสนอรูปแบบการจัดการ เพื่อให้เป็นเส้นทางการเรียนรู้เชิงประวัติศาสตร์และการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมต่อไป ผลการศึกษาพบพระพุทธรูปที่มีคุณค่า ความศักดิ์สิทธิ์ และเชื่อมโยงกับเหตุการณ์สำคัญของบ้านเมืองและชุมชนกระจายอยู่ในวัดต่างๆ ในเขตอำเภอเมือง อำเภอแม่จัน อำเภอเชียงแสน และอำเภอแม่สาย จำนวนทั้งสิ้น 24 องค์หากแต่มีความหลายหลายทางบริบทของแต่ละองค์ จึงได้สร้างเกณฑ์เพื่อทำการคัดเลือกพระพุทธรูปสำคัญซึ่งมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์และมีความศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อของคนในพื้นที่ เพื่อนำเสนอเป็นแหล่งเรียนรู้บนเส้นทางสายดังกล่าว ผลจากการวิเคราะห์จึงคัดเลือกพระพุทธรูปสำคัญได้จำนวน 9 องค์ บนเส้นทางดังกล่าว ได้แก่ พระหยกเชียงราย (พระพุทธรตนากร นวุติวัสสานุสรณ์มงคล) จากวัดพระแก้ว พระพุทธสิหิงค์ (พระสิงห์จำลอง) จากวัดพระสิงห์ หลวงพ่อพระศรีมิ่งเมือง จากวัดมิ่งเมือง อยู่ในเขตอำเภอเมือง พระพุทธรูปปฎิหาริมงคล จากวัดฝั่งหมิ่นอยู่ในเขตอำเภอเมือง หลวงพ่อโต (พระพุทธรูปเชียงแสน 5 พระองค์)จากวัดพระธาตุจอมจันทร์ อยู่ในเขตอำเภอแม่จัน หลวงพ่อผาเงา จากวัดพระธาตุผาเงา หลวงพ่อเชียงแสนสิงห์หนึ่ง จากวัดพระธาตุเจดีย์หลวง พระพุทธนวล้านตื้อ (พระเชียงแสนสี่แผ่นดิน) ณ บริเวณจุดชมวิวสามเหลี่ยมทองคำ อยู่ในอำเภอเชียงแสน พระเจ้าอินทร์สาน จากวัดพระธาตุดอยเวา อยู่ในเขตอำเภอแม่สาย แล้วนำมาจัดเป็นเส้นทางการเรียนรู้และการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เรื่องพระพุทธรูปสำคัญของจังหวัดเชียงราย นอกจากนั้นเพื่อให้การเพิ่มศักยภาพเส้นทางการเรียนรู้และการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมบรรลุเป้าหมาย เกิดประสิทธิภาพจึงเสนอรูปแบบของการจัดการอย่างมีส่วนร่วมของชุมชน รวมถึงให้วัดและภาคประชาชนในแต่ละสถานที่ได้มีส่วนร่วมในกิจกรรม จึงได้ร่วมกับชุมชนจัดทำสื่อเพื่อการเรียนรู้และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆสำหรับการท่องเที่ยว รวมทั้งการทำงานร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในแต่ละพื้นที่ให้ได้มีส่วนร่วมสนับสนุนกิจกรรมดังกล่าวเพื่อให้เกิดความยั่งยืนต่อไปen_US
Appears in Collections:GRAD-Humanities and Social Sciences: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Full.pdf17.48 MBAdobe PDFView/Open


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.