Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/40011
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorผศ.ดร.รุ่งฉัตร ชมพูอินไหว-
dc.contributor.authorรัชนีวรรณ สันลาดen_US
dc.date.accessioned2017-08-30T07:40:03Z-
dc.date.available2017-08-30T07:40:03Z-
dc.date.issued2558-09-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/40011-
dc.description.abstractThis research focuses on reducing bus overhaul times at a bus company which provides public bus transportation services and studied the overhaul of five “BENZ” buses. Time-variance values for the bus overhaul process were assessed, with the process being divided into two categories: (i) overhauling the buses using the original method (three buses in total) and (ii) overhauling the buses using the lean concept (as suggested by the researcher; two buses in total). The study focused on the lead times for the overhaul process across four divisions, the body, coloring, air compressor and electrical - electronics division. The research began with a current state value stream mapping process, then the value of the sub overhauling process was analyzed, in order to separate out the value-added processes from the non-value adding processes. After that the causes of time and factor analysis of the lead times and any variances found at the bus maintenance station were carried out using a Fish bone diagram and Future State Value Stream Mapping, to assess how the overhaul process might be improved to achieve a smoother flow. To develop the modified process, the researcher used lean tools and techniques such as ECRS, Convert Internal to External Setup, the Two-Bin system and Visual Control. The research results show that the modified process was able to reduce the overhaul lead time from 497.62 hours to 336 hours (a reduction of 161.62 working hours) and also reduce the overhaul time range from 332 hours to 64 hours (faster by 268 working hours). This reduction in time-variance will allow the automotive division to plan a continuous and smoother service, as well as be able to better predict overhaul schedules.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectการผลิตแบบลีนen_US
dc.titleการลดเวลานำในการปรับสภาพรถโดยสารประจำทางโดยใช้แนวคิดลีนen_US
dc.title.alternativeBus Overhaul Lead Time Reduction Using Lean Conceptsen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.classification.ddc658.5-
thailis.controlvocab.thashการผลิตแบบลีน-
thailis.controlvocab.thashการควบคุมการผลิต-
thailis.controlvocab.thashวิศวกรรมอุตสาหการ-
thailis.manuscript.callnumberว 658.5 ร112ก-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractงานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อลดเวลานำในการปรับสภาพรถโดยสาร และวิเคราะห์หากิจกรรมที่ทำให้เกิดการกระจายของเวลานำในการปรับสภาพรถโดยสารทำการศึกษาในบริษัทกรณีศึกษา ซึ่งดำเนินการให้บริการด้านการขนส่งประชาชนด้วยรถโดยสารประจำทาง โดยทำการศึกษาการดำเนินงานการปรับสภาพรถโดยสารชนิด BENZ ทั้งหมด 5 คัน ซึ่งแบ่งรถโดยสารออกเป็น 2 กลุ่มได้แก่ รถโดยสารที่ได้รับการปรับสภาพด้วยวิธีการเดิมที่บริษัทใช้อยู่ 3 คัน และรถโดยสารที่ได้รับการปรับสภาพโดยใช้แนวคิดลีนตามแนวทางที่ผู้วิจัยเสนอแนะ 2 คัน การศึกษาเวลานำครอบคลุม 4 แผนก ได้แก่ แผนกตัวถัง แผนกสี แผนกแอร์ และแผนกไฟฟ้า-อิเลคทรอนิกส์วิธีการวิจัยเริ่มจาก การทำแผนภาพสายธารคุณค่าสถานะปัจจุบัน (Current State Value Stream Mapping) ต่อมาทำการวิเคราะห์คุณค่าของกิจกรรมย่อยของงานปรับสภาพรถโดยสาร เพื่อทำการวิเคราะห์และแยกแยะกิจกรรมที่มีคุณค่าและกิจกรรมที่ไม่เกิดคุณค่า และได้ทำการวิเคราะห์หาสาเหตุของเวลานำในการปรับสภาพรถโดยสารที่มาก และการกระจายของเวลานำในงานปรับสภาพรถโดยสารสูงโดยใช้แผนผังก้างปลา (Fish bone diagram) จากนั้นได้ทำแผนภาพสายธารคุณค่าแห่งอนาคต (Future State Value Stream Mapping) เพื่อทำการวิเคราะห์กิจกรรมหลังการปรับปรุงที่มุ่งให้เกิดการไหลอย่างต่อเนื่อง โดยในการปรับปรุงกระบวนการปรับสภาพรถโดยสารนี้ได้นำเครื่องมือและเทคนิคของการผลิตแบบลีนมาประยุกต์ใช้ ได้แก่ การใช้เทคนิคการปรับปรุงงาน ECRS โดยการจัดเรียงลำดับการทำงานใหม่และทำการรวมงานเข้าไว้ด้วยกัน การเปลี่ยนงานภายในให้เป็นงานภายนอก (Convert Internal to External Setup) โดยการแยกการทำงานภายนอกออกจากการทำงานภายใน การจัดการอะไหล่โดยใช้หลักจัดการอะไหล่แบบระบบสองถัง (Two-Bin System) และ การควบคุมด้วยสายตา (Visual Control)โดยการออกแบบบอร์ดแสดงสถานะการดำเนินงานในการบ่งบอกสถานะการดำเนินงานตลอดกระบวนการปรับสภาพรถโดยสาร ผลที่ได้หลังการปรับปรุงพบว่า จากการใช้ข้อมูลวิกฤตของเวลานำมาพิจารณา สามารถลดเวลาในการดำเนินงานปรับสภาพรถโดยสารโดยภาพรวมของการทำงานทั้งหมด จากการพิจารณาโดยใช้การดำเนินงานแบบขนานและทับซ้อนกันเป็นเวลารวม 691 ชั่วโมงทำงานลดเหลือ 349 ชั่วโมงทำงานหรือลดลงได้ 342 ชั่วโมง และสามารถลดค่าพิสัยจากการแยกของแต่ละแผนกในรายคันของเวลานำในการปรับสภาพรถโดยสารจาก 145.5 ชั่วโมง เป็น 7 ชั่วโมง หรือคิดเป็นลดลง138.5 ชั่วโมงทำงาน ผลจากการลดเวลาและการกระจายของเวลาในการดำเนินการปรับสภาพรถโดยสารนี้ได้ ส่งผลให้ฝ่ายจัดการยานยนต์ซึ่งเป็นฝ่ายที่ตรวจรับรถหลังการปรับสภาพสามารถที่จะวางแผนการนำรถโดยสารออกให้บริการได้อย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังสามารถคาดการณ์เวลาในการปรับสภาพรถโดยสารได้อีกด้วยen_US
Appears in Collections:ENG: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Abstract.docAbstract (words)189.5 kBMicrosoft WordView/Open    Request a copy
ABSTRACT.pdfAbstract 389.36 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
FULL.pdfFull IS6.71 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.