Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/45975
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนัทมน คงเจริญ-
dc.contributor.authorสรชา สันตติรัตน์en_US
dc.date.accessioned2018-03-28T03:14:55Z-
dc.date.available2018-03-28T03:14:55Z-
dc.date.issued2556-12-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/45975-
dc.description.abstract‘Contempt of Court’ is a criminal offense that is significant to trial procedure. This offense is regulated for the purpose of sustaining respectful environment of trial procedure. However, its effectiveness seems to be suspected due to there has no precious definition for such offense. Therefore, a whole process is under judge’s interpretation and consideration. This offense, Contempt of Court, in foreign countries such as in the United Kingdom, the United States, and Japan, is similar in legislative purposes. However, in term of legal enforcement, it is different due to diversity of social context and culture. Likewise, this offense under Thai jurisprudence was influenced from foreign countries but it has been adapted and enforced regarding to Thai culture and local identities. From research in Supreme Court’s decrees, it could be noticed that since political revolution in 1990’s, Supreme Court had set criteria, jurisprudence, and court procedure in particular. Moreover, they are specially regulated in the Code of Judicial Conduct applied to all levels of court. Significantly, the court owns an absolute judicial power since every step of legal procedure is solely under the court’s decision. According to reasons made to judgments, it can be noticed that legal enforcement of such offense applied in each case was inconstant. Especially, an interpretation of court was ambiguous such as the interpretation to the scope of conducts that implies to “discourteous behavior”, or to the scope of area that implies to “in the area of court”. In addition, trial procedure seems to increase tendency to abuse the possessed power of court. In particular, in the case that judges are beneficiary, or directly or indirectly involve in the circumstance where intermediary status and justice of court can be suspected. In other word, defendants to the Contempt of Court cannot predict to both the steps of court procedure and the severity of legal punishment. Therefore, the defendants’ right is rarely protected in contrary to the basic rules of right’s protection that citizen should be provided by the nation. Unpredictable enforcement of such offense not only affects to fairness of parties in litigation, but enforcement itself is also a dominant obstacle to the law enforcement investigation. As consequence, these may cause arbitrary and capricious decision making. For example, a judge abusively applies his broaden judicial power, or a verdict is made without reasonable ground. These defects are against the rules of justice, a principle rule for judiciary organization of the nation.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectคดีละเมิดอำนาจศาลen_US
dc.subjectหลักความยุติธรรมen_US
dc.subjectกระบวนพิจารณาคดีของศาลen_US
dc.titleคดีละเมิดอำนาจศาลกับหลักความยุติธรรมในกระบวนพิจารณาคดีของศาลen_US
dc.title.alternativeContempt of Court Case and Principle of Justice in Court Procedureen_US
dc.typeThesis
thailis.classification.ddc342.06-
thailis.controlvocab.thashการพิจารณาและตัดสินคดี-
thailis.controlvocab.thashคำพิพากษาศาล-
thailis.controlvocab.thashศาล-
thailis.manuscript.callnumberว 342.06 ส172ค-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractแม้ว่าความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลจะเป็นความผิดสำคัญที่จำเป็นต่อกระบวนการพิจารณาคดีของศาล โดยเป็นความผิดที่มีขึ้นเพื่อคุ้มครองให้การดำเนินกระบวนพิจารณาต่างๆ ของศาลเป็นไปด้วยความสงบราบรื่นก็ตาม แต่ในทางปฏิบัติการนำความผิดฐานนี้มาบังคับใช้ยังคงเป็นปัญหาและก่อให้เกิดข้อกังขาต่างๆ ตามมา เนื่องจากความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลนี้เป็นความผิดที่ไม่มีบทนิยามหรือความหมายที่แน่นอนชัดเจน ต้องอาศัยการตีความและการใช้ดุลยพินิจของผู้พิพากษาแต่เพียงอย่างเดียว ความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลในต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นอังกฤษ อเมริกา หรือญี่ปุ่น ที่แม้จะมีความคล้ายคลึงกันในเรื่องวัตถุประสงค์ในการบัญญัติกฎหมาย แต่ในด้านการบังคับใช้ก็มีความแตกต่างกันไปตามบริบทสังคมและวัฒนธรรมของแต่ละประเทศ เช่นเดียวกับไทยที่แม้จะรับเอาความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลมาจากต่างประเทศ แต่ก็มีวิธีการบังคับใช้ที่แตกต่างและมีลักษณะเฉพาะตามสภาพสังคมและวัฒนธรรมของไทยเรา ซึ่งจากการศึกษาจากคำพิพากษาศาลฎีกาคดีละเมิดอำนาจศาลย้อนกลับไปเป็นเวลา 80 ปี นับตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นต้นมาพบว่า ศาลฎีกาได้วางหลักในการตีความพฤติการณ์ที่ถือเป็นความผิด หลักกฎหมาย ไปจนถึงวิธีพิจารณาความคดีละเมิดอำนาจศาลไว้เป็นการเฉพาะแตกต่างไปจากวิธีพิจารณาความทั่วไป และแม้จะมีการบัญญัติวิธีการบังคับใช้ไว้ในประมวลจริยธรรมข้าราชการตุลาการไว้เป็นการเฉพาะแล้ว แต่เนื่องจากความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลเป็นความผิดที่ใช้บังคับกับศาลทุกประเภท และทุกระดับชั้น โดยเป็นความผิดที่ให้อำนาจศาลไว้เป็นพิเศษ กล่าวคือ ในทุกขั้นตอนของกระบวนพิจารณาคดีตั้งแต่การตีความพฤติการณ์ที่ถือเป็นความผิด ไปจนกระทั่งถึงการพิพากษาตัดสินคดีล้วนอยู่ภายใต้ดุลยพินิจและการตีความของผู้พิพากษาแต่เพียงอย่างเดียว การศึกษาการให้เหตุผลประกอบคำพิพากษาของศาลยังทำให้เห็นถึงความไม่แน่นอนในการบังคับใช้ความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลของศาล โดยเฉพาะการตีความพฤติการณ์ที่ถือเป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล การพิจารณา และการลงโทษที่ยังไม่มีความชัดเจนนักว่า พฤติการณ์แบบใดบ้างที่ศาลถือเป็นการ “ประพฤติตนไม่เรียบร้อย” และสถานที่ใดบ้างที่ศาลถือเป็น “ในบริเวณศาล” นอกจากนี้ขั้นตอนหรือกระบวนพิจารณาคดีของศาลยังเป็นขั้นตอนที่สุ่มเสี่ยงต่อการใช้อำนาจเกินขอบเขตของศาลอย่างมาก เนื่องจากเป็นกระบวนพิจารณาที่ขึ้นอยู่กับผู้พิพากษาแต่เพียงอย่างเดียว โดยเฉพาะในคดีที่ผู้พิพากษาตกเป็นผู้มีส่วนได้เสียในคดีนั้นเสียเอง ซึ่งย่อมเป็นกรณีที่ก่อให้เกิดข้อกังขาถึงความเป็นกลางและความยุติธรรมของผู้พิพากษาผู้มีอำนาจหน้าที่ในการตัดสินคดีนั้นว่าจะสามารถให้ความยุติธรรมให้แก่บุคคลผู้ถูกกล่าวหาว่าละเมิดอำนาจศาลได้อย่างแท้จริงหรือไม่ จากการวิเคราะห์คำพิพากษาฎีกา จึงอาจกล่าวได้ว่า ความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลเป็นความผิดหนึ่งที่ไม่สามารถคาดเดาหรือคาดการณ์ได้ว่าผู้ที่ตกเป็นผู้ถูกกล่าวหาจะได้รับการพิจารณาคดีอย่างไร และจะถูกลงโทษสถานใด อีกทั้งยังเป็นความผิดที่ผู้ถูกกล่าวหาแทบจะไม่ได้รับการประกันสิทธิใดๆ จากกฎหมายและจากรัฐ ตามสิทธิที่ประชาชนทุกคนพึงได้รับจากกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม ซึ่งความไม่แน่นอนของการบังคับใช้ความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลนี้ นอกจากจะส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการต่อสู้คดีของคู่ความ ทำให้คู่ความไม่สามารถต่อสู้คดีกันได้อย่างเต็มที่แล้ว ยังส่งผลกระทบต่อการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐของประชาชน ทำให้องค์กรตุลาการกลายเป็นองค์กรที่อยู่ในแดนสนธยา ยากต่อการตรวจสอบ และสุ่มเสี่ยงต่อการใช้อำนาจตามอำเภอใจ อันเป็นการละเมิดหลักความยุติธรรมอันถือเป็นหลักการสำคัญขององค์กรตุลาการซึ่งถือเป็นสถาบันที่สำคัญของประเทศen_US
Appears in Collections:LAW: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ABSTRACT.pdfABSTRACT242.12 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
APPENDIX.pdfAPPENDIX231.45 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 1.pdfCHAPTER 1379.37 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 2.pdfCHAPTER 2533.9 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 3.pdfCHAPTER 3712.03 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 4.pdfCHAPTER 4693.69 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 5.pdfCHAPTER 5608.34 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CONTENT.pdfCONTENT212.24 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
COVER.pdfCOVER533.25 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
REFERENCE.pdfREFERENCE333.15 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.