Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64674
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorดารารัตน์ ปัญกัณฑ์en_US
dc.contributor.authorรุ่งฉัตร ชมภูอินไหวen_US
dc.date.accessioned2019-05-07T10:02:19Z-
dc.date.available2019-05-07T10:02:19Z-
dc.date.issued2553en_US
dc.identifier.issn0857-2178en_US
dc.identifier.urihttp://researchs.eng.cmu.ac.th/UserFiles/File/Journal/17_2/3Dararat.pdfen_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64674-
dc.descriptionวารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (Engineering Journal Chiang Mai University) เป็นวารสารที่ตีพิมพ์บทความวิชาการในลักษณะบทความวิจัย และบทความปริทัศน์ที่มีคุณภาพสูง ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี รวมถึงสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยมีเนื้อหาที่เป็นองค์ความรู้พื้นฐานจนกระทั่งการนำไปใช้ประโยชน์ ทั้งในแง่ทฤษฎี การวางแผน การทดลอง การออกแบบ หรือการพัฒนาอุปกรณ์และการจำลองการทำงานของระบบ หรือกระบวนการต่างๆ เป็นต้น โดยเปิดรับบทความวิชาการทางสาขาวิศวกรรมศาสตร์ ตลอดทั้งปีen_US
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ต้นทุนการผลิตของแผนกการฉีดอะลูมิเนียม (Die-casting) ในบริษัทกรณีศึกษาโดยใช้ระบบต้นทุนกิจกรรม (Activity-Based Costing System) และเปรียบเทียบต้นทุนผลิตภัณฑ์ที่ได้จากวิธีต้นทุนกิจกรรมกับต้นทุนผลิตภัณฑ์ที่คำนวณด้วยวิธีเดิม จากการเก็บข้อมูลพบว่า ต้นทุนค่าโสหุ้ยการผลิตของแผนกการฉีดอะลูมิเนียมในแม่พิมพ์มีสัดส่วนสูงถึง 81.19% โดยในการปันส่วนค่าโสหุ้ยเข้าสู่ผลิตภัณฑ์ในปัจจุบันนั้น บริษัทจะมีเกณฑ์ในการปันส่วน คือ จำนวนเวลาแรงงานทางตรง และเวลา 1 รอบการผลิต ซึ่งไม่ได้สะท้อนการใช้ทรัพยากรจริง ทำให้ต้นทุนผลิตภัณฑ์ที่คำนวณได้ไม่เป็นไปตามการใช้ทรัพยากรจริง งานวิจัยนี้ได้คำนวณต้นทุนผลิตภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์ในแผนกการฉีดอะลูมิเนียมในแม่พิมพ์ที่มียอดขายสูงสุด 5 อันดับแรกโดยใช้ระบบต้นทุนกิจกรรม ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้ คือ 1) การวิเคราะห์และระบุกิจกรรม 2) การจำแนกและศึกษาต้นทุนแต่ละประเภท 3) การกำหนดตัวผลักดันต้นทุน 4) การคำนวณต้นทุนกิจกรรม 5) การปันส่วนต้นทุนกิจกรรมเข้าสู่ผลิตภัณฑ์ ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบต้นทุนค่าโสหุ้ยการผลิตที่คำนวณด้วยระบบต้นทุนกิจกรรมกับต้นทุนค่าโสหุ้ยผลิตภัณฑ์ที่คำนวณด้วยวิธีเดิมพบว่า ผลิตภัณฑ์ 2 ชนิดมีค่าโสหุ้ยลดลงและผลิตภัณฑ์ 3 ชนิดมีค่าโสหุ้ยเพิ่มขึ้น เมื่อรวมกับต้นทุนวัตถุดิบทางตรงและต้นทุนแรงงานทางตรงแล้วพบว่าผลิตภัณฑ์ 2 ชนิดมีต้นทุนลดลง ผลิตภัณฑ์ 3 ชนิดมีต้นทุนเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับต้นทุนผลิตภัณฑ์ที่คำนวณด้วยวิธีแบบเดิม ผลการวิจัยนี้ผู้ประกอบการสามารถนำไปเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการตั้งราคาขายได้ นอกจากนี้งานวิจัยยังได้เสนอแนวทางการวิเคราะห์ว่ากิจกรรมใดเป็นกิจกรรมที่มีต้นทุนสูงพร้อมทั้งเสนอแนวทางในการลดต้นทุนไว้ด้วยen_US
dc.languageThaen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วารสารวิศวกรรมศาสตร์en_US
dc.titleการวิเคราะห์ต้นทุนการผลิตในแผนกการฉีดอะลูมิเนียม โดยระบบต้นทุนกิจกรรมen_US
dc.title.alternativeProduction Cost Analysis in an Aluminum Die-Casting Department Using Activity-Based Costing Systemen_US
dc.typeบทความวารสารen_US
article.title.sourcetitleวารสารวิศวกรรมศาสตร์en_US
article.volume17en_US
article.stream.affiliationsภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
article.stream.affiliationsภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.