Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66771
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorอาฑิตยา เท็งตระกูล"en_US
dc.contributor.authorนระเกณฑ์ พุ่มชูศรีen_US
dc.date.accessioned2019-09-17T08:55:03Z-
dc.date.available2019-09-17T08:55:03Z-
dc.date.issued2562en_US
dc.identifier.citationวารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 26, 2 (พ.ค.-ส.ค. 2562), 1-14en_US
dc.identifier.issn2672-9695en_US
dc.identifier.urihttp://researchs.eng.cmu.ac.th/UserFiles/File/Journal/26_2/01.pdfen_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66771-
dc.descriptionวารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (Engineering Journal Chiang Mai University) เป็นวารสารที่ตีพิมพ์บทความวิชาการในลักษณะบทความวิจัย และบทความปริทัศน์ที่มีคุณภาพสูง ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี รวมถึงสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยมีเนื้อหาที่เป็นองค์ความรู้พื้นฐานจนกระทั่งการนำไปใช้ประโยชน์ ทั้งในแง่ทฤษฎี การวางแผน การทดลอง การออกแบบ หรือการพัฒนาอุปกรณ์และการจำลองการทำงานของระบบ หรือกระบวนการต่างๆ เป็นต้น ได้รับการยอมรับอยู่ในฐานข้อมูล Thailand Citation Index (TCI) กลุ่มที่ 1 สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีen_US
dc.description.abstractงานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงนโยบายการจัดเก็บสินค้าคงคลังของกันชนหน้าสำหรับผู้จัดจำหน่าย ชิ้นส่วนอะไหล่ยานยนต์แห่งหนึ่งให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งปัจจุบันบริษัทกรณีศึกษาประสบปัญหาสินค้าคงคลัง มากเกินไปในสินค้าบางรายการจนเกิดต้นทุนจม แต่สินค้าบางรายการกลับมีคงคลังน้อยเกินไปจนทำให้สินค้าขาดมือไป บางช่วงเวลา ส่งผลให้ระดับความพึงพอใจของลูกค้าลดลง ปัญหาเหล่านี้เกิดจากการมีปริมาณของสินค้าคงคลังไม่ เหมาะสมกับความต้องการ จากการสำรวจพบกว่าบริษัทกรณีศึกษาใช้วิธีการพยากรณ์แบบนาอีฟ ซึ่งมีความผิดพลาดสูง (MAPE 38%)และมีการจัดเก็บสินค้าคงคลังสำรอง (Safety Stock) ที่ไม่คำนึงถึงความแปรปรวนหรือการกระจายของอุปสงค์ ทำให้ปริมาณสินค้าคงคลังที่ต้องจัดเก็บ (Inventory Target) เมื่อเทียบกับความต้องการใช้ต่อเดือนสูงถึง 5.2 เท่า งานวิจัยฉบับนี้แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกได้มุ้งเน้นความแม่นยำ ของการพยากรณ์โดยเปรียบเทียบระหว่าง วิธีการปัจจุบันกับวิธีค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่อย่างง่ายวิธีปรับเรียบเอกซ์โพเนนเชียลแบบโฮลท์และวิธีบอกซ์–เจนกินส์ส่วนที่สองเป็นการปรับปรุงนโยบายสินค้าคงคลังให้มีความเหมาะสม โดยทำการวิเคราะห์ลักษณะของสินค้า รูปแบบของอุปสงค์และอุปทาน รวมถึงจุดอ่อนของนโยบายปัจจุบันที่ควรปรับปรุง โดยใช้ปริมาณของสินค้าคงคลังที่ต้องจัดเก็บ (Inventory Target) และความสามารถในการจดั ส่งสินคา้ให้แก่ลูกคา้ (% Allocation) เป็นตัววัดประสิทธิภาพของวิธีการทั้งก่อน และหลังการปรับปรุงโดยเปรียบเทียบกับยอดขายจริงย้อนหลังตั้งแต่ เดือนมกราคมถึงเดือนธันวาคม 2559 ผลการวิจัยพบว่า การพยากรณ์ด้วยวิธีการบอกซ์–เจนกินส์หรือ ARIMA ด้วยตัวแบบที่ต่างกันและจำนวนเดือน ของข้อมูลยอดขายที่ใช้แตกต่างกันซึ่งขึ้นอยู่กับลักษณะของอุปสงค์ทำให้สินค้าทุกรายการที่เลือกใช้เป็นตัวแทน มีความคลาดเคลื่อนอยู่่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้โดย MAPE≤20% และได้นโยบายคงคลังที่เหมาะสมมากยิ่งขึ้น คือ นโยบาย Base Stock Level ซึ่งทำให้ปริมาณสินค้าคงคลังที่ต้องจัดเก็บลดลงโดยมีปริมาณสินค้าคงคลังที่ต้องจัดเก็บลดลงจาก 5.2 เหลือ 4.0 เดือน และรักษาความสามารถในการจัดส่งสินค้าให้แก่ลูกคา้โดยเฉลี่ยแต่ละเดือนอยู่ระหวา่ ง 81-100%en_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectสินค้าคงคลังen_US
dc.subjectกันชนหน้าen_US
dc.subjectอะไหล่ยานยนต์en_US
dc.titleการปรับปรุงนโยบายการจัดเก็บสินค้าคงคลังของกันชนหน้า สำหรับผู้จัดจำหน่ายชิ้นส่วนอะไหล่ยานยนต์แห่งหนึ่งen_US
dc.title.alternativeFront Bumpers Inventory Policy Improvement for an Automotive Spare Parts Distributoren_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.