Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66786
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorชนะพล เจริญธนาวรกุล "en_US
dc.contributor.authorฟ้าลั่น ศรีสุริยชัยen_US
dc.date.accessioned2019-09-17T08:55:04Z-
dc.date.available2019-09-17T08:55:04Z-
dc.date.issued2562en_US
dc.identifier.citationวารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 26, 2 (พ.ค.-ส.ค. 2562), 131-146en_US
dc.identifier.issn2672-9695en_US
dc.identifier.urihttp://researchs.eng.cmu.ac.th/UserFiles/File/Journal/26_2/12.pdfen_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66786-
dc.descriptionวารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (Engineering Journal Chiang Mai University) เป็นวารสารที่ตีพิมพ์บทความวิชาการในลักษณะบทความวิจัย และบทความปริทัศน์ที่มีคุณภาพสูง ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี รวมถึงสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยมีเนื้อหาที่เป็นองค์ความรู้พื้นฐานจนกระทั่งการนำไปใช้ประโยชน์ ทั้งในแง่ทฤษฎี การวางแผน การทดลอง การออกแบบ หรือการพัฒนาอุปกรณ์และการจำลองการทำงานของระบบ หรือกระบวนการต่างๆ เป็นต้น ได้รับการยอมรับอยู่ในฐานข้อมูล Thailand Citation Index (TCI) กลุ่มที่ 1 สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีen_US
dc.description.abstractงานวิจัยฉบับนี้ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบของการรบกวนระหว่างไอออนประจุบวก 4 ชนิด ได้แก่ โซเดียมไอออน โพแทสเซียมไอออน แคลเซียมไอออนและแมกนีเซียมไอออนที่มีต่อกลไกการแลกเปลี่ยนไอออน ระหว่างไอออนในน้ำเกลือและไอออนที่เกาะบนพื้นผิวของหินทราย ซึ่งเป็นกลไกที่มีความสำคัญในการเพิ่มผลผลิตน้ำมัน งานวิจัยฉบับนี้ได้ทำการทดลองโดยการเปลี่ยนอัตราส่วนความเข้มข้นของไอออนประจุบวกในน้ำเกลือที่ใช้แทนที่น้ำมันทั้งสิ้น 5 ค่าได้แก่ 1:0, 4:1, 1:1, 1:4 และ 0:1 แล้วทำการวัดปริมาณของน้ำมัน ที่ถูกแทนที่จากการใชน้ำเกลือสูตรต่าง ๆ จากผลการศึกษาพบว่า เมื่อความเข้มข้นของแคลเซียมไอออนและแมกนีเซียมไอออนอยู่ในอัตราส่วน 1:1 จะทำให้ปริมาณผลผลิตน้ำมันมีค่าสูงที่สุดซึ่งเท่ากับ 45.25 เปอร์เซ็นต์เนื่องจากเป็นอัตราส่วนที่ทำให้เกิดการเชื่อมกันระหว่างไอออนประจุบวกสองกับน้ำมันที่พื้นผิวของหินน้อยที่สุด ในขณะที่การใช้น้ำเกลือที่มีอัตราส่วนระหว่างโซเดียมไอออนต่อโพแทสเซียม ไอออนเท่ากับ 1:1 จะทำให้เกิดประสิทธิภาพสูงที่สุด กล่าวคือ ได้ผลผลิตน้ำมัน 40.11 เปอร์เซ็นต์เนื่องจากได้รับ ผลกระทบน้อยที่สุดจากการถูกจำกัดปริมาณการเกาะบนพื้นผิวของไอออนประจุบวกหนึ่งแต่ละชนิดไม่ให้มากเกินไป จึงทำให้เกิดกลไกการแลกเปลี่ยนไอออนได้ดีที่สุด นอกจากนี้ยังพบว่าค่าอัตราส่วนความเข้มข้น ระหว่างโซเดียมไอออนกับ แคลเซียมไอออนเท่ากับ 4:1 เป็นค่าที่ทำให้ทั้งกลไกการแลกเปลี่ยนไอออนของไอออนประจุบวกหนึ่งและกลไกการเกิดเป็นสารประกอบเชิงซ้อนของไอออนประจุบวกสองสามารถเกิดขึ้นได้ดีจึงส่งผลให้ปริมาณผลผลิตน้ำมันที่ได้มีค่าสูงสุด ที่ 38.38 เปอร์เซ็นต์en_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectไอออนประจุบวกen_US
dc.subjectกลไกการแลกเปลี่ยนไอออนen_US
dc.subjectแหล่งกักเก็บหินทรายen_US
dc.titleผลกระทบของอัตราส่วนไอออนประจุบวกที่มีต่อกลไกการแลกเปลี่ยนไอออนของการฉีดอัดน้ำเกลือที่มีความเค็มต่ำในแหล่งกักเก็บหินทรายen_US
dc.title.alternativeThe effects of cation ratios on ion exchange mechanism of low salinity waterflooding in sandstone reservoirsen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.