Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67450
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | ปรัชญา คัมภิรานนท์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2020-04-02T14:46:50Z | - |
dc.date.available | 2020-04-02T14:46:50Z | - |
dc.date.issued | 2562 | en_US |
dc.identifier.citation | วารสารวิจิตรศิลป์ 10,2 (ก.ค.-ธ.ค. 2562) 71-92 | en_US |
dc.identifier.issn | 1906-0572 | en_US |
dc.identifier.uri | https://www.tci-thaijo.org/index.php/fineartsJournal/article/view/134041/153326 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67450 | - |
dc.description | วารสารวิจิตรศิลป์ ได้เผยแพร่บทความทางด้านศิลปกรรม ในระบบวารสารวิจิตรศิลป์ออนไลน์ (ThaiJO) มีกำหนดออกปีละ 2 ฉบับ ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม | en_US |
dc.description.abstract | บทความมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับการแทรกแซงด้วยการออกแบบ หมายถึง การใช้กระบวนการออกแบบเข้าไปมีส่วนร่วมในสถานการณ์บางอย่าง เพื่อทำให้สถานการณ์ดังกล่าวเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น ขั้นตอนของการแทรกแซงด้วยการออกแบบสามารถแบ่งได้เป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ (1) การระบุสถานการณ์ (2) การวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย และ (3) การออกแบบอย่างมีส่วนร่วม การระบุสถานการณ์มีองค์ประกอบที่สำคัญ ได้แก่ สถานที่ ผู้แสดง และกิจกรรมทางสังคม นักออกแบบสามารถประยุกต์ใช้หลักการสังเกตอย่างมีส่วนร่วมระบุโจทย์ของการแทรกแซง จากนั้นนักออกแบบสามารถประยุกต์หลักการวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ เพื่อจำแนกกลุ่มเป้าหมายของการแทรกแซง แล้วจึงนำกลุ่มเป้าหมายดังกล่าวเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการออกแบบ ผู้วิจัยได้นำแนวคิดการแทรกแซงด้วยการออกแบบไปวิเคราะห์การปฏิบัติการในโครงการผลิตสื่อประชาสัมพันธ์ เทศกาลงานออกแบบเชียงใหม่ดีไซน์วีค 2016 พบว่าการออกแบบตามแนวคิดดังกล่าว ก่อให้เกิดผลลัพธ์ 2 ประการ ได้แก่ ประการที่ 1 ผลงานสื่อประชาสัมพันธ์โครงการซึ่งมีความสำคัญน้อยกว่า ผลลัพธ์ ประการที่ 2 การแทรกแซงด้วยกระบวนการออกแบบอย่างมีส่วนร่วม ที่สามารถสร้างการปฏิสัมพันธ์ระหว่างศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ กับชุมชนนักออกแบบในจังหวัดเชียงใหม่ อันนำไปสู่ความร่วมมือต่อไปในอนาคต นักออกแบบที่สนใจแนวคิดนี้จำเป็นต้องปรับทัศนคติในการออกแบบ จากการเป็นผู้ควบคุมผลผลิตของการออกแบบ มาเป็นการสร้างกระบวนการออกแบบร่วมกับกลุ่มเป้าหมาย และมีทักษะการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี รวมทั้งสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อีกด้วย | en_US |
dc.language.iso | Tha | en_US |
dc.publisher | คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | การแทรกแซงด้วยการออกแบบ | en_US |
dc.subject | กระบวนการออกแบบ | en_US |
dc.subject | การออกแบบอย่างมีส่วนร่วม | en_US |
dc.title | แนวคิดและการปฏิบัติของการแทรกแซงด้วยการออกแบบ | en_US |
dc.title.alternative | Concept and Practice of Design Intervention | en_US |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.