Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67494
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | วราภรณ์ บุญยงค์ | en_US |
dc.contributor.author | นันทพร แสนศิริพันธ์ | en_US |
dc.contributor.author | ฉวี เบาทรวง | en_US |
dc.date.accessioned | 2020-04-02T14:46:51Z | - |
dc.date.available | 2020-04-02T14:46:51Z | - |
dc.date.issued | 2562 | en_US |
dc.identifier.citation | พยาบาลสาร 46,4 (ต.ค.-ธ.ค. 2562) 83-93 | en_US |
dc.identifier.issn | 0125-5118 | en_US |
dc.identifier.uri | https://www.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/230267/156746 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67494 | - |
dc.description | วารสาร พยาบาลสาร Nursing Journal วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ ความรู้ทางการพยาบาลและสุขภาพ 2. เพื่อส่งเสริมงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ และเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลและสุขภาพ 3. เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ระหว่างบุคลากรที่อยู่ในวงการวิชาชีพการพยาบาล | en_US |
dc.description.abstract | ความเครียดมีความสำคัญต่อสุขภาพด้านร่างกาย จิตใจ และสังคมของผู้จะเป็นบิดา ผู้จะเป็นบิดาจะมีความเครียดเพิ่มมากขึ้นหากภรรยามีภาวะแทรกซ้อน ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นการตั้งครรภ์เสี่ยงสูง และจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล งานวิจัยเชิงพรรณนาหาความสัมพันธ์ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนทางสังคม ความรู้สึกไม่แน่นอน อายุ และการวางแผนการตั้งครรภ์กับความเครียดของผู้จะเป็นบิดาที่ภรรยามีภาวะครรภ์เสี่ยงสูง และเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้จะเป็นบิดาที่ภรรยามีภาวะครรภ์เสี่ยงสูง และเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล เลือกตามคุณสมบัติที่กำหนด จำนวน 85 ราย ที่มาเข้ารับการรักษา ณ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่ ระหว่างเดือนกันยายน 2558 ถึง เดือน มกราคม 2559 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบวัดความรู้สึกเครียด ของ Hansleben et al. (1983) ฉบับภาษาไทย โดย Wongpakaran& Wongpakaran (2010) แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคมของผู้จะเป็นบิดาที่ภรรยาตั้งครรภ์เสี่ยง ของ Naewchalee (2007) และแบบสอบถามความรู้สึกไม่แน่นอนในการตั้งครรภ์เสี่ยง ของ Naewchalee (2007) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบพอยท์ไบซีเรียลผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ (ร้อยละ 68.20) มีความเครียดในระดับปานกลาง โดยมีคะแนนเฉลี่ย 17.08 (S.D. = 5.31) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ (ร้อยละ 62.40) มีการสนับสนุนทางสังคมในระดับสูง โดยมีคะแนนเฉลี่ย 75.71 (S.D. = 11.31) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ (ร้อยละ 68.20) มีความรู้สึกไม่แน่นอนในระดับปานกลาง โดยมีคะแนนเฉลี่ย 87.32 (S.D. = 18.34) การสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางลบกับความเครียด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r= -.306, P < .01) ความรู้สึกไม่แน่นอนมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความเครียด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r = .398, P < .01) การวางแผนการตั้งครรภ์มีความสัมพันธ์ทางลบกับความเครียด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r = -.295, P < .05) ดังนั้นจากผลการวิจัยนี้ ผู้ปฏิบัติการพยาบาล/ผดุงครรภ์ ควรมีการประเมินเกี่ยวกับความรู้สึกไม่แน่นอนและการสนับสนุนทางสังคมของผู้จะเป็นบิดาที่ภรรยามีภาวะครรภ์เสี่ยงสูง และเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับวางแผนการพยาบาลที่มีประสิทธิภาพ ในการลดความเครียดในผู้จะเป็นบิดาที่ภรรยามีภาวะครรภ์เสี่ยงสูง และเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล | en_US |
dc.language.iso | Tha | en_US |
dc.publisher | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | ผู้จะเป็นบิดา | en_US |
dc.subject | ตั้งครรภ์เสี่ยงสูง | en_US |
dc.subject | ความเครียด | en_US |
dc.subject | การสนับสนุนทางสังคม | en_US |
dc.subject | ความรู้สึกไม่แน่นอน | en_US |
dc.title | ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเครียดของผู้จะเป็นบิดาที่ภรรยามีภาวะครรภ์เสี่ยงสูง และเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล | en_US |
dc.title.alternative | Factors Related to Stress of Expectant Fathers During Hospitalization of High Risk Pregnant Wives | en_US |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.