Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69078
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ศาสตราจารย์ ดร.อารีวรรณ กลั่นกลิ่น | - |
dc.contributor.advisor | อาจารย์ ดร.บุญพิชชา จิตต์ภักดี | - |
dc.contributor.author | พราวเดือน เนตรวิชัย | en_US |
dc.date.accessioned | 2020-07-24T01:22:19Z | - |
dc.date.available | 2020-07-24T01:22:19Z | - |
dc.date.issued | 2014-12 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69078 | - |
dc.description.abstract | Clinical practice guidelines (CPGs) for nurses are very important. CPGs are based on research and result in to the most effective practice for patients care. CPGs require the participation of all stakeholders in the health care team. The purpose of this study was to analyze the situation regarding the implementation of clinical practice guidelines in the Male Medical Ward at Sanpatong Hospital in Chiang Mai Province. The study involved a review of clinical practice guideline documents, and the participation of 1 Head Nurse, 4 nurses on the guidelines development team, and 8 nurse practitioners. Data were collected from documents, interviews, and focus groups. The instrumentation consisted of personal data record form, recording document form, as well as interview and focus group guides.The instruments were based on the concept of the Institute of National Health Medicine and Research Council Australia [1999, 2000] and validated by 3 expert nurses The personal data were analysed using descriptive statistics which included range, mean and standard deviation. The data from interviews and focus group were analyzed using content analysis. The results show the current status of clinical practice guideline implementation in the Male Medical Ward, Sanpatong Hospital, Chiang Mai Province. Study findings were as follows: 1) Printing and publishing: The clinical practice guidelines were made accessible through publication as booklets and summaries of guidelines were also available. Practitioners were prepared for guidelines use through meetings and training regarding the clinical practice guidelines. The problem encountered in this step, were that clinical practice guidelines were kept in a book and often could not be found when needed. The booklets were not attractive and the practitioners did not known them well, so no one was not familiar with their use. 2) The implementation guidelines: The development team was appointed to oversee guideline implementation which including supervision of guideline use and evaluation. A multidisciplinary team participated in sharing experiences to improve the quality of guideline implementation . Information technology was used to assist in the reporting metrics and incident reports. The problem in this step included a shortage of nursing staff and high workload. There were not enough leaders who were knowledgeable in clinical practice guidelines resulting in lack of continuity and no regular monitoring. 3) Evaluation: Continuity of the use of clinical practice guidelines was evaluated through examination of medical records every 3 months. Evaluation of performance outcomes was conducted by reviewing indicators and undesirable incidents. The problems identified was no continuous evaluation and evaluation results were not shared with practitioners. The findings of this study provide baseline information for management on the obstacles and suggestions for clinical practice guidelines in nursing practice. It is recommended that nurse administrators use this information to improve the quality of clinical practice guidelines implementation to improve quality of nursing care. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | การวิเคราะห์สถานการณ์การใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกในหอผู้ป่วยอายุรกรรมชายโรงพยาบาลสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ | en_US |
dc.title.alternative | Situational Analysis of Clinical Practice Guidelines Implementation in a Male Medical Ward, Sanpatong Hospital, Chiang Mai Province | en_US |
dc.type | Independent Study (IS) | |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | แนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับพยาบาลมีความสำคัญอย่างยิ่ง ซึ่งเป็นการใช้ผลการวิจัยนำไปสู่การปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการดูแลรักษาผู้ป่วย แนวปฏิบัติทางคลินิกนี้ต้องการการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายในทีมสุขภาพ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายสถานการณ์เกี่ยวกับการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกในการปฏิบัติการพยาบาล หอผู้ป่วยอายุรกรรมชาย โรงพยาบาลสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ ประชากรที่ใช้ศึกษา ได้แก่ เอกสารที่เกี่ยวกับการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิก หัวหน้ากลุ่มการพยาบาลจำนวน 1 คน พยาบาลวิชาชีพซึ่งเป็นทีมพัฒนาแนวปฏิบัติทางคลินิกจำนวน 4 คน และพยาบาลวิชาชีพผู้ปฏิบัติจำนวน 8 คน เก็บรวบรวมข้อมูล จากเอกสาร การสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนตัว แบบบันทึกการสำรวจเอกสาร แนวคำถามในการสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ศึกษาสร้างขึ้นตามแนวคิดของสถาบันทางการแพทย์และสุขภาพแห่งชาติ ประเทศออสเตรเลีย (1999, 2000) และตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ โดยผู้ทรงคุณวุฒิทางการพยาบาลจำนวน 3 ท่าน การวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของประชากรใช้สถิติบรรยาย ร้อยละ ค่าพิสัย ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่มใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่าสถานการณ์การใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกของพยาบาลหอผู้ป่วยอายุรกรรมชาย โรงพยาบาลสันป่าตอง มีดังต่อไปนี้ 1) ขั้นการจัดพิมพ์และเผยแพร่ มีการทำให้แนวปฏิบัติทางคลินิกเป็นสิ่งที่เข้าถึงได้ง่าย มีการเผยแพร่โดยได้จัดพิมพ์เป็นคู่มือไว้ในหอผู้ป่วย มีการสรุปประเด็นสำคัญเป็นแผนผังการปฏิบัติไว้ให้ มีการเตรียมความพร้อมแก่ผู้ใช้แนวปฏิบัติโดยการจัดประชุมและการจัดอบรม แต่พบปัญหาในขั้นตอนนี้คือ แนวปฏิบัติทางคลินิกในหอผู้ป่วยจัดเก็บไว้เป็นรูปเล่ม หากต้องการใช้จะหาไม่พบ คู่มือแนวปฏิบัติทางคลินิกจัดทำไม่น่าสนใจ และผู้ใช้แนวปฏิบัติยังไม่เข้าใจดีพอ จึงทำให้ไม่คุ้นเคยในการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิก 2) ขั้นการนำแนวปฏิบัติทางคลินิกไปใช้ มีการมอบหมายแต่งตั้งคณะพัฒนาแนวปฏิบัติ รวมทั้งการติดตามนิเทศและประเมินการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิก มีทีมสหสาขาวิชาชีพเข้ามาร่วมแสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนประสบการณ์ เพื่อปรับปรุงคุณภาพการใช้แนวปฏิบัติทางคลีนิกและมีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยในการรายงานตัวชี้วัดและรายงานอุบัติการณ์ แต่พบปัญหาของขั้นตอนนี้ คือการขาดแคลนบุคลากรทางการพยาบาลและภาระงานที่มากขึ้นของพยาบาล แกนนำที่มีความรู้เกี่ยวกับแนวปฏิบัติทางคลินิกมีไม่เพียงพอ และไม่มีความต่อเนื่องของการกำกับติดตามอย่างสม่ำเสมอ 3) ขั้นการประเมินผล มีการประเมินความต่อเนื่องของการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิก โดยการตรวจสอบเวชระเบียนทุก 3 เดือน และมีการประเมินผลลัพธ์ของการปฏิบัติโดยการประเมินตัวชี้วัดของแนวปฏิบัติทางคลินิกและการเกิดอุบัติการณ์ไม่พึงประสงค์ ในขั้นตอนนี้พบปัญหาว่าไม่มีการประเมินผลอย่างต่อเนื่อง และไม่ได้แจ้งผลการประเมินให้ผู้ปฏิบัติรับทราบ ผลการศึกษาครั้งนี้จะเป็นข้อมูลพื้นฐานในการจัดการปัญหาและเป็นข้อเสนอแนะให้มีการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกในการปฏิบัติการพยาบาล ผู้บริหารทางการพยาบาลสามารถนำข้อมูลนี้ไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกเพื่อพัฒนาคุณภาพการพยาบาลต่อไป | en_US |
Appears in Collections: | NURSE: Independent Study (IS) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Full.pdf | 3.56 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.