Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69243
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อ.ดร.จิราคม สิริศรีสกุลชัย | - |
dc.contributor.advisor | อ.ดร.ณฉัตร์ชพงษ์ แก้วสมพงษ์ | - |
dc.contributor.author | ธันย์ชนก บุญจอง | en_US |
dc.date.accessioned | 2020-08-01T07:28:34Z | - |
dc.date.available | 2020-08-01T07:28:34Z | - |
dc.date.issued | 2015-11 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69243 | - |
dc.description.abstract | This study aims to (i) measure Willingness to pay for reducing pollution from solid waste biogas power plant project (ii) examine factors affecting willingness to pay for reducing pollution from solid waste biogas power plant project and (iii) guideline to development biogas power plant in Chiang Mai Province. The population for study is households who dwell around biogas power plant of Bantan, Hod, Chiang Mai Province. Sampling by questionnaire totally 400 sample for study socioeconomic factors that influence to willingness to pay composed of basic factors and recognition and attitude for biogas power plant factors. The basic factors of this study is gender, age, the number of housing, education, occupation, income. The recognition and attitude factors is benefit or effect from biogas power plant by contingent valuation method (CVM) with hypothetical market close and ended question was used to assess the amount which households are willingness to pay. Data use to analyze environment pollution information from biogas power plant project by Interval Regression Model. The result from analyze the basic information of sample who have list in civil registration in Bantan, Hod, Chiang Mai Province totally 400 people, shown mostly is female, age between 51-60 years old, Marital status is married, time to live in biogas power plant area is 31-40 years, number of housing is 4 people, education is primary or below, occupation is famer, income per household is between 2,001-8,000 baths/mount. The effect of physical and mental health is agree of breathing is not easy when scent of solid smell by average score 4.43. The mostly of factors have relationship to willingness to pay is income per household. If have hight income per household trends willingness to pay is more than low income per household. Next factors is family size. If have hight number of housing, trends willingness to pay is increase and factors occupation. If have constancy of occupation, trends willingness to pay is increase, The result form sampling population to valuation of willingness to pay for reducing pollution from solid waste biogas power plant was average 70.12 bath. In conclusion , if power plant or government have to policy makers to fee of reducing pollution in area and around it recommend fee to be between 20-70 baths, because it’s mostly of willingness to pay of sample. If more than one, the probability of people in area not cooperate enough is hight. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | ความเต็มใจที่จะจ่ายในการลดมลพิษจากโครงการโรงไฟฟ้า ก๊าซชีวภาพจากขยะมูลฝอย กรณีศึกษาตำบลบ้านตาล อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ | en_US |
dc.title.alternative | Willingness to Pay for Reducing Pollution from Solid Waste Biogas Power Plant Project: Case Study of Bantan, Hod, Chiang Mai Province | en_US |
dc.type | Independent Study (IS) | |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินมูลค่าความเต็มใจที่จะจ่ายในการลดมลพิษจากโครงการโรงไฟฟ้าก๊าซชีวภาพจากขยะมูลฝอยเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความเต็มใจจะจ่ายในการลดมลพิษจากโรงผลิตไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพจากขยะมูลฝอยและเพื่อเป็นแนวทางสำหรับการพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังงานขยะในจังหวัดเชียงใหม่ประชากรที่ใช้ศึกษา คือ ครัวเรือนที่อาศัยอยู่บริเวณโดยรอบโรงงานผลิตไฟฟ้าก๊าซชีวภาพจากขยะมูลฝอย ตำบลบ้านตาล อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ โดยจะสุ่มตัวอย่าง จากประชากรและสำรวจความคิดเห็นจากแบบสอบถาม จำนวน 400 ครัวเรือน ใช้ในการศึกษาปัจจัยทางเศรษฐกิจสังคม ที่กำหนดความเต็มใจจ่าย ประกอบด้วย ปัจจัยพื้นฐานและปัจจัยด้านการรับรู้ และทัศนคติต่อโรงงานผลิตไฟฟ้าก๊าซชีวภาพจากขยะมูลฝอย โดยปัจจัยพื้นฐานที่ศึกษาในครั้งนี้ ได้แก่ เพศ อายุ จำนวนสมาชิกในครัวเรือน ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ สำหรับปัจจัยด้านการรับรู้ และทัศนคติ เช่น การใช้ประโยชน์หรือผลกระทบที่เกิดจากโรงงานผลิตไฟฟ้าก๊าซชีวภาพจากขยะมูลฝอยโดยใช้วิธีประเมินมูลค่าสิ่งแวดล้อมโดยการสัมภาษณ์จากประชาชนโดยตรง (Contingent Valuation Method : CVM) ด้วยการกำหนดสถานการณ์สมมติ (Hypothetical Market) จะใช้คำถามปลายปิด (Close-Ended Question) ในลักษณะของความเต็มใจที่จะจ่าย (Willingness to Pay : WTP) เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลสิ่งแวดล้อมมลพิษในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าก๊าซชีวภาพจากขยะมูลฝอย ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ แบบจำลองสมการถดถอยแบบช่วง (Interval Regression Model) มาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการศึกษาข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างประชาชนที่มีชื่ออยู่ตามข้อมูลทะเบียนราษฎร์ ในเขตพื้นที่ตำบลบ้านตาล อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ทั้งหมด 400 คน พบว่าส่วนใหญ่เป็น เพศหญิง มีอายุระหว่าง 51 - 60 ปี มีสถานภาพสมรส มีระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ระหว่าง 31 - 40 ปี จำนวนสมาชิกในครอบครัว 4 คน ระดับการศึกษาสูงสุด คือ ประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ประกอบอาชีพชาวไร่/ชาวสวน รายได้ต่อครัวเรือนต่อเดือนอยู่ในช่วง 2,001 - 8,000 บาท ได้รับผลกระทบในด้านสุขภาพกายและจิตใจเห็นด้วยมากที่ว่าท่านหายใจไม่สะดวกเมื่อได้รับกลิ่นเหม็นจากขยะ ผลกระทบด้านกายภาพ เห็นด้วยมากที่ว่าท่านหายใจไม่สะดวกเมื่อได้รับกลิ่นเหม็นจากขยะด้วยคะแนนเฉลี่ย 4.43 ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กับมูลค่าความเต็มใจจ่ายมากที่สุด คือ รายได้ต่อครัวเรือนต่อเดือน(Income) ผู้ที่มีรายได้ต่อครัวเรือนมาก มีแนวโน้มเต็มใจที่จะจ่ายในการลดมลพิษมากกว่าครัวเรือนที่มีรายได้น้อย จำนวนสมาชิกในครัวเรือน (Family size) จำนวนสมาชิกมาก มีแนวโน้มเต็มใจจ่ายในการลดมลพิษ มากขึ้น อาชีพ (Occupation) อาชีพยิ่งมั่นคงมาก ยิ่งมีแนวโน้มเต็มใจจ่ายในการลดมลพิษมากผลจากการสุ่มตัวอย่างจากประชากร เพื่อประเมินมูลค่าความเต็มใจที่จะจ่ายในการลดมลพิษจากโรงไฟฟ้าก๊าซชีวภาพจากขยะมูลฝอยนั้น มูลค่าความเต็มใจที่จะจ่ายโดยเฉลี่ยมีค่าเท่ากับ 70.12 บาท ดังนั้น สรุปได้ว่าถ้าโรงไฟฟ้าหรือหน่วยงานรัฐจะดำเนินนโยบายการเก็บค่าลดภาวะมลพิษในเขตพื้นที่ประชาชน ที่อยู่ใกล้เคียง ควรเก็บประชาชนอยู่ที่ช่วงระหว่าง 20 บาท ถึง 70 บาท เนื่องจากเป็นช่วงที่ประชาชน มีความเต็มใจที่จะจ่ายมาก ถ้ามากกว่าจำนวนดังกล่าวความน่าจะเป็นที่อาจจะไม่ได้รับความร่วมมือ จากประชาชนในพื้นที่เท่าที่ควร | en_US |
Appears in Collections: | ECON: Independent Study (IS) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Full.pdf | 5.41 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.