Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69608
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เศรษฐพงศ์ เศรษฐบุปผา-
dc.contributor.authorจิรทัศน์ ประกรณ์en_US
dc.date.accessioned2020-08-17T01:45:24Z-
dc.date.available2020-08-17T01:45:24Z-
dc.date.issued2020-05-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69608-
dc.description.abstractThe objective of this independent study was to create an appropriate approach in order to improve the comfort conditions, with minimum energy consumption for air conditioning, inside the classrooms and offices in the structural engineering building and the hydraulic engineering building at the faculty of engineering, Chiang Mai University. In the study, both buildings were modeled by program Building Energy Code (BEC) to calculate the values of Overall Thermal Transfer Value (OTTV) and the values of Roof Thermal Transfer Value (RTTV) in order to find how to improve those buildings' envelope to meet the concerning regulations for building design with energy conservation. The model simulation by BEC revealed that with the existing conditions of the building the value of OTTV was 36.15 W/m2 which met the criteria of the ministerial regulation. However, the value of RTTV was as high as 89.61 W/m2 failing to pass the concerning regulation. Therefore, a method of spraying insulation foam underneath the roof of both buildings was tried. Though the RTTV value was satisfied but this approach cost too much. The method of putting a 2-inch thick insulation sheets of fiber glass over the ceiling of the classrooms and offices was then tried. This method satisfied both the RTTV value and the cost.The last step of this independent study was to assess how to manage the air conditioners which most of them were old and not in good condition. The study compared two cases of air conditioner replacement: 1) replacing with normal type; and 2) replacing with inverter type. It was found that the breakeven point were after 19.1 years and 8.6 years for case1 and case2, respectively. In conclusion, the appropriate approach for improving the buildings is installing sheets of 2-inch thick fiber glass insulator and replacing the old air conditioners with the inverter type.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleทางเลือกในการปรับปรุงเปลือกอาคารเพื่อลดการใช้พลังงาน สาหรับการปรับอากาศในอาคารภาควิชาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeAlternatives for Buildings Envelope Improvement to Reduce Energy Consumed by Air Conditioning in Civil Engineering Building, Chiang Mai Universityen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการค้นคว้าอิสระโครงการนี้มีวัตถุประสงค์ในการสร้างทางเลือกที่เหมาะสมสำหรับสร้างสภาวะน่าสบายในห้องเรียนและห้องทำงานที่อยู่ในโรงประลองวิศวกรรมโครงสร้างและอาคารวิศวกรรมชลศาสตร์ของภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยใช้พลังงานในการปรับอากาศให้น้อยที่สุด ในกระบวนการศึกษาได้ใช้การจำลองส่วนประกอบของอาคารในโปรแกรม Building Energy Code (BEC) เพื่อคำนวณค่าการถ่ายเทความร้อนรวมของผนังด้านนอกอาคาร (Overall Thermal Transfer Value, OTTV) และค่าการถ่ายเทความร้อนรวมของหลังคา (Roof Thermal Transfer Value, RTTV) ว่าควรมีการปรับปรุงเปลือกอาคารอย่างไรจึงจะผ่านกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน ผลจากการจำลองแบบอาคารด้วยโปรแกรม BEC พบว่า ค่า OTTV ในปัจจุบันของอาคารมีค่าเท่ากับ 36.15 วัตต์ต่อตารางเมตร ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานในการออกแบบ โดยพบว่ามีสาเหตุหลักมาจากการที่อาคารมีแผงกันแดดอยู่รอบๆ แต่ค่า RTTV ที่ได้มีค่าสูงถึง 89.61 วัตต์ต่อตารางเมตร ซึ่งสูงเกินมาตรฐาน ดังนั้นในขั้นตอนต่อไปของการศึกษาจึงได้ทดลองใช้วิธีพ่นโฟมที่เป็นฉนวนใต้วัสดุมุงหลังคา ซึ่งพบว่าค่า RTTV ผ่านเกณฑ์ แต่ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงเกินไป จึงได้ทดลองเปลี่ยนเป็นการใช้ฉนวนใยแก้วหนาสองนิ้ววางบนแผ่นฝ้าเพดานของห้องเรียนและห้องทางานต่างๆ แทน ซึ่งพบว่าได้ค่า RTTV ที่ไม่สูงเกินเกณฑ์ และไม่มีค่าใช้จ่ายที่สูงจนเกินไป จึงเป็นทางเลือกที่เหมาะสมสำหรับปรับปรุงเปลือกอาคารในขั้นตอนสุดท้ายของการศึกษา เป็นการประเมินว่าควรมีการจัดการกับเครื่องปรับอากาศซึ่งส่วนใหญ่เก่ามากแล้วอย่างไร จากการเปรียบเทียบสองกรณี ได้แก่ 1) การเปลี่ยนเครื่องปรับอากาศแบบธรรมดาซึ่งมีราคาถูก กับ 2) การเปลี่ยนเครื่องปรับอากาศเป็นแบบอินเวอร์เตอร์ซึ่งมีราคาสูง แต่ใช้พลังงานไฟฟ้าต่ำกว่า พบว่า กรณีที่ 1 จะเกิดความคุ้มทุนที่ระยะเวลา 19.1 ปี ส่วนกรณีที่ 2 จะเกิดความคุ้มทุนที่ระยะเวลา 8.6 ปี ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า ควรติดตั้งฉนวนกันความร้อนชนิดใยแก้วหนาสองนิ้วเหนือฝ้าเพดานของห้องต่างๆ และเปลี่ยนเครื่องปรับอากาศเป็นแบบอินเวอร์เตอร์en_US
Appears in Collections:ENG: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
580632063 จิรทัศน์ ประกรณ์.pdf4.12 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.