Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69870
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | บัณฑิตา วงค์งาม | en_US |
dc.contributor.author | มาลี เอื้ออำนวย | en_US |
dc.contributor.author | พิมพาภรณ์ กลั่นกลิ่น | en_US |
dc.date.accessioned | 2020-10-08T08:36:16Z | - |
dc.date.available | 2020-10-08T08:36:16Z | - |
dc.date.issued | 2559 | en_US |
dc.identifier.citation | พยาบาลสาร 43,1 (ม.ค.-มี.ค. 2559) 12-22 | en_US |
dc.identifier.issn | 0125-5118 | en_US |
dc.identifier.uri | https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/77915/62474 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69870 | - |
dc.description | วารสาร พยาบาลสาร Nursing Journal วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ ความรู้ทางการพยาบาลและสุขภาพ 2. เพื่อส่งเสริมงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ และเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลและสุขภาพ 3. เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ระหว่างบุคลากรที่อยู่ในวงการวิชาชีพการพยาบาล | en_US |
dc.description.abstract | หัตถการที่คุกคามต่อร่างกายก่อให้เกิดความเครียดในทารกเกิดก่อนกำหนด การตอบสนองต่อสื่อสัญญาณความเครียดของทารกเกิดก่อนกำหนดที่เหมาะสมของผู้ดูแล จะช่วยให้ทารกสามารถปรับตัวต่อความเครียดได้ พยาบาลจึงควรมีทักษะในการสังเกตสื่อสัญญาณความเครียดและให้การตอบสนองที่เหมาะสมต่อสื่อสัญญาณความเครียดของทารกเกิดก่อนกำหนด การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองชนิดกลุ่มเดียววัดก่อนหลัง เพื่อศึกษาผลของการโค้ชต่อการปฏิบัติของพยาบาลในการตอบสนองต่อสื่อสัญญาณความเครียดของทารกเกิดก่อนกำหนดขณะได้รับหัตถการที่คุกคามต่อร่างกาย ประกอบด้วย การเจาะเลือดและการดูดเสมหะในท่อหลอดลมคอ กลุ่มตัวอย่างคือพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยหนักทารกแรกเกิด โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ จำนวน 13 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย ได้แก่แบบวัดความรู้ ภาพสไลด์พาวเวอร์พอยท์ คู่มือการปฏิบัติ และแผนการโค้ชการตอบสนองต่อสื่อสัญญาณความเครียดของทารกเกิดก่อนกำหนดขณะได้รับหัตถการที่คุกคามต่อร่างกาย วีดีทัศน์และแบบบันทึกการสังเกตสื่อสัญญาณความเครียดของทารกเกิดก่อนกำหนดขณะได้รับการดูดเสมหะในท่อหลอดลมคอ เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสังเกตการปฏิบัติของพยาบาลในการตอบสนองต่อสื่อสัญญาณความเครียดของทารกเกิดก่อนกำหนดขณะได้รับหัตถการที่คุกคามต่อร่างกาย รวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนมีนาคม ถึง มิถุนายน พ.ศ. 2556 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และสถิติไคสแควร์ ผลการศึกษาพบว่าภายหลังการโค้ช สัดส่วนการปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพของพยาบาลในการตอบสนองต่อสื่อสัญญาณความเครียดของทารกเกิดก่อนกำหนดขณะได้รับการเจาะเลือดและการดูดเสมหะในท่อหลอดลมคอสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า การโค้ชทำให้พยาบาลมีการปฏิบัติในการตอบสนองต่อสื่อสัญญาณความเครียดของทารกเกิดก่อนกำหนดขณะได้รับการเจาะเลือด และการดูดเสมหะในท่อหลอดลมคอเพิ่มขึ้นดังนั้นจึงควรส่งเสริมให้มีการโค้ชโดยผู้เชี่ยวชาญให้แก่พยาบาลในการปฏิบัติการตอบสนองต่อสื่อสัญญาณความเครียดของทารกเกิดก่อนกำหนดขณะได้รับหัตถการที่คุกคามต่อร่างกาย เพื่อให้การพยาบาลทารกเกิดก่อนกำหนดมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น Invasive procedures are stressors for preterm infants. Appropriate caregiver responses to stress cues can facilitate the preterm infants’ ability to adapt to the stressors. Therefore, nurses should have skills in recognizing stress cues of preterm infants and respondappropriately to them. The purpose of this quasi-experiment, a pre-post test design without a control group, was to examine effect of coaching on practices of nurses in responding to stress cues of preterm infants during invasive procedures which consisted of venipuncture and suctioning via endotracheal tube. The study samples were thirteen professional nurses working at the neonatal intensive care unit, Chiangrai Prachanukroh hospital. The instrumentsof this study were a knowledge questionnaire, a power point presentation, and a handbook along with a coaching plan for responding to stress cues of preterm infants during invasive procedures. A video tape and observation form on stress cues of preterm infants during the suctioning were also included. The instruments for data collection were an observation form on nurses’ responding to stress cues of preterm infants during invasive procedures. Data were collected during March and June 2013. Data were analyzed by using descriptive statisticsand Chi-square test.The results of this study revealed that after coaching, a significantly higher proportion of nurses intervened with effective practices when responding to stress cues of preterm infants during both venipuncture and suctioning (p<.001).The findings of this study indicate that coaching could enhance the practices of nurses when responding to stress cues of preterm infants during venipuncture and suctioning.Therefore, coaching of nurses on stress cues response practices should be conducted by a coach expert to enhance effective nursing care of preterm infants. | en_US |
dc.language.iso | Tha | en_US |
dc.publisher | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | การโค้ช | en_US |
dc.subject | การปฏิบัติของพยาบาล | en_US |
dc.subject | สื่อสัญญาณความเครียดของทารกเกิดก่อนกำหนด | en_US |
dc.subject | หัตถการที่คุกคามต่อร่างกาย | en_US |
dc.subject | Coaching | en_US |
dc.subject | Practices of Nurses | en_US |
dc.subject | Stress Cues of Preterm Infants | en_US |
dc.subject | Invasive Procedures | en_US |
dc.title | ผลของการโคชต่อการปฏิบัติของพยาบาลในการตอบสนองต่อสื่อสัญญาณความเครียดของทารกเกิดก่อนกำหนดขณะได้รับหัตถการที่คุกคามต่อร่างกาย | en_US |
dc.title.alternative | Effect of Coaching on Practices of Nurses in Responding toStress Cues of Preterm Infants During Invasive Procedures | en_US |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.