Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73689
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | Saruda Tiwananthagorn | - |
dc.contributor.advisor | Sahatchai Tangtrongsup | - |
dc.contributor.author | Doolyawat Kladkempetch | en_US |
dc.date.accessioned | 2022-07-21T10:43:33Z | - |
dc.date.available | 2022-07-21T10:43:33Z | - |
dc.date.issued | 2020-12 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73689 | - |
dc.description.abstract | Ancylostoma ceylanicum is a zoonotic helminth that is frequently found in domestic dogs and cats throughout Asia and Southeast Asia but largely neglected in many countries, including Thailand. In this study, we estimated the prevalence of A. ceylanicum in community dogs and soil environments in four provinces of Thailand, including Chiang Mai, Chiang Rai, Lampang, and Phayao provinces. In a total of 299 dog fecal samples and 212 soil samples from 53 temples, the prevalence of hookworm infection by microscopic examination were 26.4% (79/299) and 10.4% (22/212) in dog and soil samples, respectively. A PCR with restriction fragment length polymorphism assay targeting the internal transcribed spacer region of nuclear ribosomal DNA was used to identify the hookworm species. In the present study, A. ceylanicum was the predominant hookworm species infecting dogs, and the proportion of A. ceylanicum and A. caninum infections were 96.6% and 3.5%, respectively. In addition, we confirmed the presence of A. ceylanicum larvae in the soil. The genetic characterization and evolutionary analyses of A. ceylanicum among Thai and Asian populations were conducted using the mitochondrial cytochrome c oxidase subunit 1 gene, consecutively. There were 9 haplotypes which identified from Thai A. ceylanicum, and the haplotype diversity and the nucleotide diversity were 0.4436 and 0.0036, respectively. Phylogenetic analysis revealed that A. ceylanicum from this study clustered in the same clade of A. ceylanicum from other reference countries. The median-joining network demonstrated six unique haplotypes in Thailand; nevertheless, three haplotypes were communally found in Malaysia, Cambodia, and China. The highest nucleotide diversity of Chinese A. ceylanicum populations advocated that Chinese A. ceylanicum could be the ancestor of the populations. Pairwise fixation indices implied that Thai population was closely related to Malaysian A. ceylanicum, suggesting gene flow between these populations. At last, A. ceylanicum genotypes in dogs and soil samples in this study were similar, and the temples with hookworm-positive dogs were correlated with the presence of hookworm-contaminated soil, as these levels showed about 4-fold increase compared with temples with hookworm-negative dogs (OR=4.38, 95% CI: 1.55-12.37). Hence, increased awareness and public concern in the communities with regards to the responsibility of temples and municipal offices to provide proper deworming programs to community dogs should be intensively endorsed to reduce the risk of transmission of this zoonotic disease. Moreover, parasitic examination and treatment should be strongly applied before dogs are imported and exported worldwide. | en_US |
dc.language.iso | en | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | Genetic characterization of Hookworm in soil and community dogs in upper Northern Thailand | en_US |
dc.title.alternative | ลักษณะทางพันธุกรรมของพยาธิปากขอในดินและสุนัขชุมชนในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย | en_US |
dc.type | Thesis | |
thailis.controlvocab.thash | Hookworms -- Thailand, Northern | - |
thailis.controlvocab.thash | Dogs -- Thailand, Northern | - |
thailis.controlvocab.thash | Helminths -- Thailand, Northern | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | พยาธิปากขอ (Hookworm) เป็นหนอนพยาธิที่สำคัญชนิดหนึ่ง ซึ่งสามารถติดต่อจากสัตว์สู่คนได้ โดยปกติแล้วพยาธิปากขอจะสามารถพบได้ในสุนัขและแมว ที่อาศัยอยู่ในบริเวณประเทศแถบทวีปเอเชีย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อย่างไรก็ตามพยาธิปากขอยังคงถูกละเลย ถึงความสำคัญในการก่อโรคจากประเทศต่างๆ โดยการศึกษานี้จะเป็นการศึกษาเพื่อยืนยันถึงชนิดของพยาธิปากขอที่พบได้ในสุนัขและในดิน บริเวณที่แหล่งที่สุนัขอยู่อาศัย รวมทั้งศึกษาวิวัฒนาการและศึกษาโครงสร้างพันธุศาสตร์ประชากรของพยาธิปากขอภายในประเทศไทย เปรียบเทียบกับข้อมูลประเทศอื่นๆในทวีปเอเชีย ได้แก่ มาเลเซีย กัมพูชา และจีน สำหรับการศึกษาพยาธิปากขอ ได้ทำการตรวจหาจากอุจจาระของสุนัขจำนวนทั้งหมด 299 ตัวอย่าง และดินในบริเวณที่สุนัขอยู่อาศัยจำนวน 212 ตัวอย่างจากทั้งหมด 53 วัด ซึ่งตั้งอยู่ภายในจังหวัดภาคเหนือตอนบน 4 จังหวัดได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง และพะเยา โดยผลจากการตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์พบพยาธิปากขอ โดยมีความชุกอยู่ที่ร้อยละ 26.4 (79/299) จากตัวอย่างอุจจาระของสุนัข และร้อยละ 10.4 (22/212) จากตัวอย่างดินในบริเวณที่สุนัขอยู่อาศัย หลังจากนั้นทำการศึกษาจำแนกชนิดของพยาธิปากขอ ด้วยวิธีปฏิกิริยาลูกโซ่พอลิเมอเรสและตัดด้วยเอนไซม์ตัดจำเพาะ (PCR-RFLP) ในส่วนของ Internal transcribed spacer (ITS) หลังจากนั้นทำการศึกษาลักษณะทางพันธุกรรมของยีน mitochondria cytochrome c oxidase subunit 1 (cox1)โดยวิธี PCR และ Sequencing และวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ทางพันธุกรรม พยาธิปากขอที่พบในการศึกษานี้ มีทั้งหมด 2 ชนิด โดย สามารถจำแนกชนิดได้เป็นพยาธิปากขอชนิด Ancylostoma ceylanicum 96.6% ส่วนพยาธิปากขอชนิด A. caninum เป็น 3.5% ของตัวอย่างอุจจาระที่ให้ผลบวก ตามลำดับ นอกจากนี้ยังมีการตรวจพบพยาธิปากขอในดิน ชนิด A. ceylanicum การศึกษาลักษณะทางพันธุกรรมของยีน cox1 ของพยาธิปากขอ A. ceylanicum ในการศึกษาครั้งนี้พบว่า มีแฮโพลไทป์ทั้งหมด 9 แฮโพลไทป์ โดยมีค่า haplotype diversity และ nucleotide diversity อยู่ที่ 0.4436 และ 0.0036 ตามลำดับ การศึกษาทางด้านแผนภูมิความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของยีน cox1 พบว่าพยาธิปากขอ A. ceylanicum ที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้อยู่ในกลุ่มเดียวกันกับ พยาธิปากขอที่พบในหลายประเทศของทวีปเอเชีย การศึกษาความสัมพันธ์ของแฮโพลไทป์ โดยวิธี Median Joining Network พบว่า 6 แฮโพลไทป์ที่พบในการศึกษาครั้งนี้ มีลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์และมีความแตกต่างจากข้อมูลก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม 3 แฮโพลไทป์ที่เหลือนั้น พบว่ามีความเหมือนกับประเทศของทวีปเอเชีย ที่นำข้อมูลมาใช้ในการอ้างอิงคือ มาเลเซีย กัมพูชา และจีน การศึกษาค่า Nucleotide diversity พบว่าข้อมูลจากประชากรของพยาธิปากขอ A. ceylanicum จากประเทศจีน มีค่ามากที่สุดบ่งบอกถึงความหลายภายในประชากร อาจเป็นข้อสันนิษฐานได้ว่าประเทศจีนอาจเป็นต้นกำเนิดของกลุ่มพยาธิปากขอ A. ceylanicum สำหรับการศึกษาค่า Fixation indices พบว่า พยาธิปากขอในประเทศไทย มีความใกล้เคียงกับประเทศมาเลเซียมากที่สุด อาจแสดงถึงการถ่ายเทเคลื่อนย้ายยีน ระหว่างประชากรของสองประเทศนี้ โดยสรุป การศึกษาครั้งนี้เป็นการยืนยันว่า พยาธิปากขอ A. ceylanicum เป็นพยาธิปากขอชนิดหลักที่พบในสุนัขและดินบริเวณแหล่งที่อยู่อาศัยของสุนัข ในบริเวณจังหวัดภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย รวมทั้งการหาความสัมพันธ์ระหว่างความเสี่ยงในการติดพยาธิปากขอจากสุนัขและในดิน จะพบว่า ถ้าในวัดใดมีสุนัขที่ให้ผลบวกต่อพยาธิปากขอ จะพบว่ามีโอกาสที่จะพบเจอพยาธิปากขอปนเปื้อนในดินบริเวณวัดมากถึง 4 เท่า เมื่อเทียบกับวัดที่ไม่พบสุนัขที่ให้ผลบวกจากพยาธิปากขอ ดังนั้นการสร้างความตระหนักถึงการดูแลสุขภาพของสุนัขภายในวัดและชุมชน จะมีส่วนที่จะช่วยในการลดความเสี่ยง ของการติดหรือได้รับพยาธิปากขอที่ปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม และจากสัตว์สู่คน นอกจากนี้การขนย้ายสัตว์ระหว่างประเทศควรจะมีโปรแกรมการถ่ายพยาธิที่ครอบคลุมทั่วถึง เพื่อไม่ให้เป็นการแพร่พันธุ์ของพยาธิปากขอ A. ceylanicum อีกด้วย | en_US |
Appears in Collections: | VET: Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
611435903 ดุลยวัต กลัดเข็มเพชร.pdf | 2.84 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.