Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73752
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อะเคื้อ อุณหเลขกะ | - |
dc.contributor.advisor | พิมพาภรณ์ กลั่นกลิ่น | - |
dc.contributor.author | ฉันทนา จันแจ่ม | en_US |
dc.date.accessioned | 2022-08-03T15:57:44Z | - |
dc.date.available | 2022-08-03T15:57:44Z | - |
dc.date.issued | 2563 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73752 | - |
dc.description.abstract | Central venous catheterization is an important and necessary invasive procedure for critically ill patients, which may cause the patient to be at risk of acquiring a bloodstream infection. This developmental study aimed to develop and assess the efficiency of the video media to aid nurses in the prevention of central line-associated bloodstream infection (CLABSI). The samples used for developing and evaluating the efficiency of video media were 41 nurses purposively selected from the medical department of a university hospital in the northern region. The duration of the study was from May to October 2020. The study tools consisted of a video media design plan, a CLABSI knowledge test questionnaire, and satisfaction with the developed video media questionnaire, both were verified content validity by 6 experts. The content validity indexes were .98 and 1.0, respectively. The reliability of the knowledge test questionnaire was . 79. The suitability of the video media was checked by 3 video media experts. Data were analyzed using descriptive statistics and t-test, and the etficiency of the video media was tested according to Meguigan's standard. The video media length was 17 minutes 21 seconds and consisted of knowledge of CLABSI and practice guidelines for nurses in the prevention of CLABSI. The result of the efficiency of the video media showed that the mean knowledge scores of the samples after watching video media statistically significantly increased from 17.47 to 25.10 out of 30 marks (p < .01). The efficiency of the video media was 1.44. The samples were satisfied with the overall parts of the video media, the content, the design and presentation, and the benefit at the highest level with mean scores of 4.77, 4.72, 4.76, and 4.87 out of 5, respectively. The developed CLABSI video media is efficient and helps nurses obtain more knowledge which can be applied to promote knowledge and practices among nurses in the prevention of bloodstream infections for patient safety. | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | การพัฒนาสื่อวีดิทัศน์การป้องกันการติดเชื้อในกระแสโลหิตที่สัมพันธ์กับการใส่สายสวนหลอดเลือดดำส่วนกลางสำหรับพยาบาล | en_US |
dc.title.alternative | Development of a video media in prevention of central line-associated bloodstream infection for nurses | en_US |
dc.type | Thesis | - |
thailis.controlvocab.thash | การติดเชื้อจากเลือด | - |
thailis.controlvocab.thash | การติดเชื้อ | - |
thailis.controlvocab.thash | หลอดสวน | - |
thailis.controlvocab.thash | วีดิทัศน์ | - |
thailis.controlvocab.thash | ผู้ป่วย -- การดูแล | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | การใส่สายสวนหลอดเลือดดำส่วนกลางเป็นหัตถการที่สำคัญและจำเป็นต่อผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะวิกฤต แต่อาจทำให้ผู้ป่วยเสี่ยงต่อการติดเชื้อในกระแสโลหิตได้ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินประสิทธิภาพสื่อวีดิทัศน์การป้องกันการติดเชื้อในกระแสโลหิตที่สัมพันธ์กับการใส่สายสวนหลอดเลือดดำส่วนกลางสำหรับพยาบาล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการพัฒนาและประเมินประสิทธิภาพของสื่อวีดิทัศน์คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงจากพยาบาลแผนกอายุรกรรมโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคเหนือ จำนวน 41 คน ระยะเวลาในการดำเนินการวิจัยตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2563 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการออกแบบสื่อวีดิทัศน์ แบบทดสอบความรู้เรื่องการป้องกันการติดเชื้อในกระแสโลหิตที่สัมพันธ์กับการใส่สายสวนหลอดเลือดดำส่วนกลางและแบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อสื่อวีดิทัศน์ ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 6 ท่าน ได้ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา 98. และ 1.0 ตามลำดับ ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบความรู้เท่ากับ .79 ตรวจสอบความเหมาะสมของสื่อวีดิทัศน์โดยผู้ทรงคุณวุฒิด้านสื่อวีดิทัศน์ 3 ท่าน วิเคราะห์ข้อมูล โดยสถิติเชิงพรรณนา การทดสอบค่าที (t-test) และคำนวณประสิทธิภาพของสื่อวีดิทัศน์ตามเกณฑ์มาตรฐานของเมกุยแกนส์ สื่อวีดิทัศน์เรื่องการป้องกันการติดเชื้อในกระแสโลหิตที่สัมพันธ์กับการใส่สายสวนหลอดเลือดดำส่วนกลาง มีความยาว 17 นาที 21 วินาที ประกอบด้วยเนื้อหาเกี่ยวกับการติดเชื้อในกระแสโลหิตจากการคาสายสวนหลอดเลือดดำส่วนกลางและแนวปฏิบัติในการป้องกันการติดเชื้อในกระแสโลหิตจากการใส่สายสวนหลอดเลือด ผลการประเมินประสิทธิภาพของสื่อวีดิทัศน์พบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ของกลุ่มตัวอย่างหลังชมสื่อวีดิทัศน์เพิ่มขึ้นจาก 17.47 เปีน 25.10 คะแนน จากคะแนนเต็ม 30 คะแนน ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .01) ประสิทธิภาพของสื่อวีดิทัศน์คิดเป็น 1.44 กลุ่มตัวอย่างมืความพึงพอใจต่อสื่อวีดิทัศน์ในภาพรวม ด้านเนื้อหา ด้านการออกแบบและนำเสนอและด้านประโยชน์ที่ได้รับในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยคะแนน 4.77, 4.72,4.76 และ 4.87 คะแนนจากคะแนนเต็ม 5 คะแนน ตามลำคับ สื่อวีดิทัศน์การป้องกันการติดเชื้อในกระแสโลหิตที่สัมพันธ์กับการใส่สายสวนหลอดเลือดคำส่วนกลางสำหรับพยาบาลที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ ช่วยให้พยาบาลมีความรู้เพิ่มขึ้น สามารถนำไปใช้ในการส่งเสริมความรู้และการปฏิบัติของพยาบาลในการป้องกันการติดเชื้อในกระแสโลหิต เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย | en_US |
Appears in Collections: | NURSE: Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
611231027 ฉันทนา จันแจ่ม.pdf | 4.86 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.