Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/74072
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | Singkome Tima | - |
dc.contributor.author | Win Lae Aung | en_US |
dc.date.accessioned | 2022-09-02T11:55:08Z | - |
dc.date.available | 2022-09-02T11:55:08Z | - |
dc.date.issued | 2022-07 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/74072 | - |
dc.description.abstract | Leukemia is a type of blood cancer, which is characterized by the clonal proliferation of malignant leukocytes resulting in production of abnormal blood cells that arise initially in the bone marrow before disseminating to the peripheral blood, lymph nodes, and other organs. Mutations in the FMS-like tyrosine kinase 3 (FLT3) genes are one of the most frequently identified genetic alterations that affect downstream intracellular signaling pathways thereby enhancing leukemogenesis. Although chemotherapy is the most common and effective treatment, this method still have limitations due to the therapeutic resistance and relapse in leukemia patients, as a consequence, patients with FLT3 gene mutations remain an ongoing challenge. Nowadays, drugs from herbal sources were selected as alternative drugs for studying their effectiveness on leukemia treatment. Cordyceps militaris (C. militaris) is a group of mushroom in a species of fungus in the family Clavicipitaceae, and the genus Cordyceps which has been widely used as an herbal remedy or crude drug in oriental medicine and folk tonic foods due to its numerous biological activities. In this study, C. militaris cultivated in the laboratory at Chiang Mai, was tested for a candidate anti-leukemic drug. This study aims (1) to evaluate the cytotoxicity of crude ethanolic extract and fractional extraction solvents including hexane, ethyl acetate, and ethanol fractions from C. militaris; (2) to examine their effects on FLT3 protein expression, cell cycle progression, and apoptosis induction in FLT3 overexpressing leukemic cell lines, including the wild-type FLT3 overexpressing leukemic cells (EoL-1) and FLT3-ITD mutant leukemic cells (MV4-11). MTT assay was used to determine the cytotoxicity of all C. militaris extracts at various concentrations in leukemic cell lines. The results showed that all the extracts demonstrated high inhibitory effects on EoL-1 cells when compared to MV4-11 cells and control. The ethyl acetate and hexane extracts showed strong cytotoxic effects with inhibitory concentration at 50% growth (IC50) values of 11.0±2.9 and 11.7±0.6 g/mL in EoL-1 cells while, 45.9±0.4 and 36.8±15.3 g/mL in MV4-11 cells, respectively. The inhibitory effect of the extracts on FLT3 protein expression in both leukemic cell lines were assessed by Western blot analysis. To determine the effect of extract on FLT3 protein expression, leukemic cells were treated with the non-toxic doses (IC20) of the extracts at indicated time periods. The results showed that crude ethanolic extract exhibited the strongest inhibitory effect on FLT3 protein expression in EoL-1 cells, whereas ethyl acetate fractional extract showed the most effective extract in inhibiting FLT3 protein expression in MV4-11 cells by a dose- and time-dependent manner. Furthermore, the effects of C. militaris extracts on cell cycle progression and apoptosis induction in leukemic cells were investigated using PI and Annexin V-PI stainings respectively. The results showed that both crude ethanolic extract and ethyl acetate fractional extract arrested the cell cycle at S phase in EoL-1 and MV4-11 cells in dose- and time-dependent manner. However, both extracts showed the apoptosis induction in both leukemic cells with not statistically significant when compared to the vehicle control group. Commercial grade cordycepin was used as a standard control in all experiments. This present study showed that anti-leukemia activities of C. militaris extracts in EoL-1 and MV4-11 cells may be involved in the inhibition of cell proliferation by inhibiting FLT3 protein expression and inducing cell cycle arrest at S phase. These findings suggested that C. militaris extracts may develop as an alternative anti-leukemic drug for treating leukemia, especially in FLT3 overexpressing acute myeloblastic leukemia. | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | Chiang Mai : Graduate School, Chiang Mai University | en_US |
dc.subject | Medical Technology | en_US |
dc.title | Study of anti-leukemia properties of cordyceps militaris extracts on FMS-Like Tyrosine Kinase 3 (FLT3) protein overexpressing leukemic cell lines | en_US |
dc.title.alternative | การศึกษาคุณสมบัติในการต้านมะเร็งเม็ดเลือดขาวของสารสกัดถั่งเช่าสีทองต่อเซลล์มะเร็งสายพันธุ์เม็ดเลือดขาวที่มีการแสดงออกของโปรตีนฟิมส์ไลค์ไทโรซีนไคเนส 3 ในระดับสูง | en_US |
dc.type | Thesis | |
thailis.controlvocab.thash | Leukemia | - |
thailis.controlvocab.thash | Plant Extracts | - |
thailis.controlvocab.thash | Cordyceps | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | มะเร็งเม็ดเลือดขาวเป็นมะเร็งของเซลล์เม็ดเลือดที่เกิดความผิดปกติในกระบวนการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนของเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ผิดปกติส่งผลให้มีการสร้างเซลล์เม็ดเลือดที่ผิดปกติออกมาเป็นจำนวนมากในไขกระดูกและกระจายออกมาในกระแสเลือด ต่อมน้ำเหลืองและอวัยวะอื่น ๆ ซึ่งการกลายพันธุ์ของยีนฟิมส์ไลค์ไทโรซีนไคเนส 3 (FLT3) ก็เป็นหนึ่งในความผิดปกติของยีนที่พบได้บ่อยและส่งผลกระทบต่อการส่งสัญญาณภายในเซลล์จนเหนี่ยวนำให้เกิดเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวได้ ถึงแม้การรักษาด้วยยาเคมีบำบัดจะเป็นวิธีการรักษาที่นิยมใช้และมีประสิทธิภาพสูงแต่ก็ยังคงมีข้อจำกัดในด้าน การดื้อต่อยาและการกลับมาเป็นซ้ำของผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวซึ่งรวมไปถึงปัญหาการรักษาผู้ป่วยที่มีการกลายพันธุ์ของยีน FLT3 ซึ่งยังคงเป็นปัญหาที่มีความท้าทายในการรักษาอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันได้มีการนำเอาสารสกัดจากสมุนไพรมาทำการศึกษาเพื่อใช้เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการรักษามะเร็งเม็ดเลือดขาว ถั่งเช่าสีทองอยู่ในตระกูลเชื้อราวงศ์เห็ดรา (Clavicipitaceae) สกุลถั่งเช่าหรือคอร์ไดเซพ ได้ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายเพื่อเป็นยาสมุนไพรทางการแพทย์ตะวันออกและปรุงแต่งอยู่ในอาหารพื้นบ้านเนื่องจากมีฤทธิ์ทางชีวภาพที่หลากหลายซึ่งในการศึกษานี้จะทำการศึกษาฤทธิ์ในการต้านมะเร็งเม็ดเลือดขาวของถั่งเช่าสีทองที่ได้รับการเพาะเลี้ยงในห้องปฏิบัติการในจังหวัดเชียงใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์ 1) ทำการศึกษาผลความเป็นพิษของสารสกัดจากถั่งเช่าสีทองแบบต่าง ๆ ได้แก่สารสกัดหยาบ สารสกัดหยาบแยกส่วนที่ใช้เฮกเซน เอทิลอะซิเตท และเอทานอล เป็นตัวทำละลาย 2) ศึกษาผลของสารสกัดเหล่านี้ต่อระดับการแสดงออกของโปรตีน FLT3 และผลต่อวัฏจักรของเซลล์ รวมทั้งผลในการเหนี่ยวนำให้เกิดการตายแบบอะพอพโตซีส ของเซลล์มะเร็งสายพันธุ์เม็ดเลือดขาวเพาะเลี้ยงที่มีการแสดงออกของโปรตีน FLT3 ในระดับสูงทั้งเซลล์สายพันธุ์ดั้งเดิมคือเซลล์ EoL-1 และเซลล์ที่มีการกลายพันธุ์ของโปรตีน FLT3 ได้แก่เซลล์ MV4-11 ซึ่งในการศึกษาความเป็นพิษ ของสารสกัดถั่งเช่าสีทองที่ความเข้มข้นต่าง ๆ ต่อเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวโดยวิธี MTT โดยพบว่า สารสกัดจากถั่งเช่าสีทองแบบต่าง ๆ มีความเป็นพิษต่อเซลล์ EoL-1 ได้มากกว่าเซลล์ MV4-11 โดยสารสกัดหยาบแยกส่วนที่สกัดด้วยเอทิลอะซิเตทและเฮกเซนแสดงความเป็นพิษกับเซลล์ได้ดีที่สุดและมีค่าความเข้มข้นที่ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์ได้ 50 เปอร์เซ็นต์ (IC50) เท่ากับ 11.0 ± 2.9 และ 11.7 ± 0.6 g/mL สำหรับเซลล์ EoL-1 ในขณะที่ค่า IC50 เท่ากับ 45.9 ± 0.4 และ 36.8 ± 15.3 g/mL สำหรับเซลล์ MV4-11 ตามลำดับ สำหรับการศึกษาผลของสารสกัดจากถั่งเช่าสีทองต่อระดับการแสดงออกของโปรตีน FLT3 นั้นจะทำการศึกษาด้วยวิธีเวสเทิร์นบลอทโดยจะใช้ความเข้มข้นของสารสกัดแบบต่าง ๆ ที่ค่าความเข้มข้นที่ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์ได้ร้อยละ 20 (IC20) ในการทดสอบร่วมกับเซลล์ มะเร็งเม็ดเลือดขาวตามเวลาที่กำหนดไว้ ผลการศึกษาพบว่าสารสกัดหยาบจากถั่งเช่าสีทองมีประสิทธิภาพที่ดีที่สุดในการลดระดับการแสดงออกของโปรตีน FLT3 ในเซลล์ EoL-1 ในขณะที่สารสกัดหยาบแยกส่วนที่สกัดด้วยเอทิลอะซิเตทให้ผลที่ดีที่สุดในเซลล์ MV4-11 และมีฤทธิ์ที่เพิ่มขึ้นตามความเข้มข้นของสารสกัดและระยะเวลาที่ใช้ในการทดสอบที่เพิ่มขึ้นอีกด้วย นอกจากนี้เมื่อนำเอาสารสกัดทั้งสองแบบมาทำการทดสอบผลต่อวัฏจักรของเซลล์ และการเหนี่ยวนำให้เกิดการตายแบบอะพอพโตซีสของเซลล์มะเร็งทั้งสองชนิดด้วยวิธีย้อมด้วย PI และ Annexin V-PI ตามลำดับ พบว่าสารสกัดทั้งสองแบบสามารถยับยั้งวัฏจักรเซลล์ในระยะ S ได้ทั้งในเซลล์ EoL-1 และ MV4-11 และมีฤทธิ์เพิ่มขึ้นตามความเข้มข้นของสารสกัด และระยะเวลาที่ใช้ในการทดสอบด้วย อย่างไรก็ตามสารสกัดทั้งสองแบบไม่สามารถเหนี่ยวนำให้เกิดการตายแบบอะพอพโตซีสได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับผลในกลุ่มควบคุมโดยในการศึกษาครั้งนี้ได้ใช้สารคอร์ไดซิปินเป็นสารสกัดมาตรฐานในทุกการทดสอบ ซึ่งจากผลการศึกษาในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าฤทธิ์ในการต้านมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิด EoL-1 และ MV4-11 ของสารสกัดจากถั่งเช่าสีทองอาจจะเกี่ยวข้องกับการยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์ทั้งสองชนิดนี้ผ่านทางการยับยั้งการแสดงออกของโปรตีน FLT3 และการเหนี่ยวนำให้วัฏจักรของเซลล์หยุดอยู่ที่ระยะ S ซึ่งผลการศึกษาครั้งนี้พบว่าสารสกัดจากถั่งเช่าสีทองสามารถนำมาพัฒนาเพื่อใช้เป็นทางเลือกในการต้านมะเร็งเม็ดเลือดขาวโดยเฉพาะในมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลันสายไมอีลอยด์ที่มีการแสดงออกของโปรตีน FLT3 ในระดับสูง | en_US |
Appears in Collections: | AMS: Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Thesis-Book-watermark-complete.pdf | Thesis Book-Win Lae Aung | 3.92 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.