Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/74112
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสายชล สัตยานุรักษ์-
dc.contributor.advisorอรรถจักร สัตยานุรักษ์-
dc.contributor.authorปวีณา หมู่อุบลen_US
dc.date.accessioned2022-09-19T00:48:55Z-
dc.date.available2022-09-19T00:48:55Z-
dc.date.issued2021-06-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/74112-
dc.description.abstractCultural activities of King Rama III are one of the most memorable and famous approaches in his era. In this reason, the thesis explores how King Rama III used those activities to solve the political issues. This studies emphasis on social and economic change which had an effect on the relationship between King Rama III and his relatives and the nobles. The thesis showed that in the reign of King Rama III, people require the knowledge for the "present" world. The expanding social and economic leading to the accompanying increase in diverse population groups in Bangkok and other provinces, so the knowledge must serve to the large number of people's sophisticated relationships with their family, trade, and the king both in physical and mind. In this situation, King Rama Ill and his intellectuals considered to propagate the knowledge by using the elements of temples such as architecture and painting to establish his hegemony and power to govern. Moreover, they also used other media as hegemonic apparatuses such as literatures and textbooks to establish the knowledge for the "present" world. By using cultural activities, King Rama III had success to be dominator through his reign for over 27 years. Nowadays, the image of King Rama II still is the king who has strongly believed in Buddhism.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleพระราชกรณียกิจทางวัฒนธรรมในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวและการแก้ปัญหาทางการเมืองด้วยสันติวิธีen_US
dc.title.alternativeCultural activities of King Rama III and the peaceful solutions to political problemsen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ, 2330-2394-
thailis.controlvocab.thashไทย -- ประวัติศาสตร์ -- กรุงรัตนโกสินทร์ -- รัชกาลที่ 3, 2367-2394-
thailis.controlvocab.thashศิลปกรรมไทย -- สมัยรัตนโกสินทร์-
thailis.controlvocab.thashวัด -- สมัยรัตนโกสินทร์-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractพระราชกรณียกิจทางวัฒนธรรมในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นเรื่องที่โดดเด่นและเป็นที่จดจำยิ่งกว่าพระราชกรณียกิจอื่น ๆ การอธิบายเรื่องนี้จากมุมมองใหม่จึงมีความสำคัญ เพื่อจะเข้าใจรากฐานทางการเมืองของงานสร้างสรรค์ทางศิลปะและวัฒนธรรมในรัชกาลนี้ โดยวิทยานิพนธ์นี้จะแสดงให้เห็นว่าในรัชกาลพระบาทสมด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีปัญหาอันเกิดจากการขยายอำนาจทางเศรษฐกิจและการเมืองของเจ้านายและขุนนาง ส่งผลให้กษัตริย์ทรงพยายามทำให้พระราชอำนาจของพระองค์มีความมั่นคงและสูงส่งมากขึ้นด้วยพระราชกรณียกิจทางวัฒนธรรม เนื่องจากคนในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ต้องการความรู้เพื่อความสำเร็จใน "โลกนี้" แต่ก็ยังคงต้องการความรู้เพื่อความสำเร็จใน "โลกหน้า" อีกด้วย ดังนั้นวิธีการสำคัญที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเลือกใช้เพื่อแก้ไขปัญหาทางการเมืองที่ทรงเผชิญ ก็คือการสถาปนาพระราชอำนาจนำด้วยการสร้างและเผยแพร่ความรู้ที่ตอบสนองความต้องการทั้งสองด้านผ่านงานสร้างสรรค์ทางศิลปะและวัฒนธรรม ทำให้วัดเป็นกลไกที่สำคัญในการสร้างพระราชอำนาจนำพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวและเครือข่ายปัญญาชนของพระองค์ได้ปฏิบัติการในทางศิลปะและวัฒนธรรมภายใต้อุดมการณ์ของรัฐ ซึ่งทำให้เกิดความรู้ที่ตอบสนองความจำเป็นในชีวิตของคน ทั้งหลายส่วนหนึ่งเป็นความรู้ทางพุทธศาสนาที่มีรากฐานอยู่บนคติไตรภูมิที่ได้รับการปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงด้านโลกทัศน์และอุดมการณ์ในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ อีกส่วนหนึ่งเป็นความรู้เพื่อบรรลุชีวิตที่ดีใน "โลกนี้" โดยเฉพาะอย่างยิ่งความรู้เพื่อจัดการชีวิตของตัวเองทั้งทางร่างกายและจิตใจ และความรู้เพื่อจัดความสัมพันธ์กับคนอื่น ๆ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ตลาด ไปจนถึงความสัมพันธ์กับกษัตริย์ นอกจากนี้พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวและเครือข่าขปัญญาชนของพระองค์ยังมีปฏิบัติการในทางศิลปะและวัฒนธรรมอื่น ๆ อีกหลายประการทั้งในวัดและนอกวัด ที่ทำให้พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ที่ดีตามอุดมการณ์ของรัฐ ส่งผลให้ทรงมีพระราชอำนาจนำที่ทำให้พระองค์ครองราชย์ได้นานถึง 27 ปี และทรงมีภาพลักษณ์ว่าทรงศรัทธาในพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า แม้ว่าจะเป็นช่วงเวลาที่สังคมมีพลวัตสูงและเจ้านายกับขุนนางชั้นสูงมีอำนาจและบารมีอย่างมากก็ตามen_US
Appears in Collections:HUMAN: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
590131009 ปวีณา หมู่อุบล.pdf5.3 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.