Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/77754
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorPanuphan Prapatigul-
dc.contributor.advisorSuraphol Sreshthaputra-
dc.contributor.advisorWallratat Intaruccomporn-
dc.contributor.authorUnchalee Punyakwaoen_US
dc.date.accessioned2022-10-28T10:51:01Z-
dc.date.available2022-10-28T10:51:01Z-
dc.date.issued2022-08-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/77754-
dc.description.abstractThe research has an important objective to Propose the process of strengthening the organic rice farmers group in Chun District, Phayao Province by using a mixed research process (Mixed methods) The study was conducted at two levels as follows: (1) Membership level is farmers who are members of the organic rice farmers group in Chun District, Phayao Province. 11 groups of 252 members using quantitative research.Criteria for assessing the potential of community enterprise groups of the Department of Agricultural Extension to be applied to divide farmers into 2 groups, namely 3 strong farmers and 8 weak farmers. The researcher calculated the sample size using Taro Yamane 's formula, the tolerance was 0.01, which resulted in the sample size from 84 strong farmers and 107 weak farmers. respectively, the tools used collect basic characteristics Some basic personal, economic, and social characteristics of farmers were interview form with a confidence value of 0. 99. and compare the members' opinions on the operational potential of their own groups by testing the hypothesis with statistical t-test. The results of the research found that farmers in the strong group had an average of 12.69 years of organic rice cultivation in the 2019/2020 crop year. Average yield 524. 56 kg per rai The average net income per rai is 7, 037. 83 baht and most farmers are certified organic farming standards up to 94 %. 05 for farmers In the non-strong group, it was found that farmers had an average of 6. 87 years of organic rice cultivation in the 2019/2020 crop year. Average yield 480. 36 kg per rai Average net income per rai 4,177. 83 baht and certified by agricultural standards only 20 percent organic. 56. Growing organic rice, it was found that farmers in both groups had different opinions on their operational potential. 7 areas: Leadership and Management Implementation plan marketing management Knowledge and Information Management member administration product management and operational results statistically significant at the level 0.05 (2) Organizational level (farmer groups) using qualitative research Qualitative Research, including Focus Group Discussion and in - depth interviews with staff involved with local farmer groups. using analysis SWOT Analysis according to the framework of 7s McKinsey Strategy to analyze internal factors (Internal Factors) and use PESTEL Analysis principle to analyze external factors (External Factors) to do Content Analysis to link with other concepts, theories and research. In this regard, to propose an appropriate process of strengthening the organic rice farmers group in Chun District, Phayao Province. The results showed that the farmers in both groups had different factors within the group. including strengths, found that farmers in strong groups There is a new generation of group leaders. There is a clear management structure. The product is certified organic rice standard. and using market-leading production strategies While farmers in the weak group did not find the strengths of the group, the weak points showed that the farmers in the strong groups cannot proceed as planned. due to natural disasters and members do not have specific knowledge and expertise (mechanical) while the farmers are not strong There is no planning, operation, different members produce, resulting in some members still not passed. The certification of organic rice standards and the committees mostly lacked knowledge of group management. However, farmers in both groups had The same external factors are as follows: Opportunity found that Phayao Province has set a strategy for Chun District to be the source of organic rice production for export and that the demand for organic rice of both domestic and foreign consumers tends to increase continuously and the limitation is the policy to promote organic rice. The government sector is unclear and continuous. It was also found that problems in the occupation Both groups of farmers faced the same problem: the economic problem (shortage of labor), while the physical problem. (Water shortage) and social (networking) problems faced by strong farmers at moderate levels, while those in weak groups faced. such problems to a large extent Therefore, suggestions on the process of strengthening the group of organic rice farmers in Chun District, Phayao Province will consist of the following issues: (1) Leadership and Management The group leader should be a new generation with knowledge and opportunity for group members to participate. Group management in every step (2) in planning, operations Farmers groups should have group meetings and implement planned activities, as well as coordinate with relevant government agencies in the area on an ongoing basis. (3) Marketing management. Farmers should use the principle “Production Leading Marke”. involved in the area Consultation and advice should be continued (4) on knowledge and information management. Farmers' groups should hold group meetings according to the plan. To inform information about the group's performance and other information for members to be informed continuously as well as more technology and innovations in production have been applied. (5) Member administration Farmers' groups must set clear conditions for accepting new members. which was selected through at the meeting of the group committee There are also plans to develop the potential of organic rice production for members such as continuous and concrete (6) product management Farmers groups should have Electing representatives of farmers in the group to form a committee to monitor the practices in the fields of members. This will allow the produce to pass the organic rice standard and (7) on the results of group operations. Adopting participatory processes as a mechanism to encourage members within the weak group to participate more in the activities of the group. Therefore, relevant agencies should focus on the development of farmer groups. with an emphasis on development knowledge and technology to farmers until they become professional farmers to provide opportunities for members to learn together in the field of production Marketing and group management, coupled with the introduction of online marketing channel technology and data recording. as well as pushing new generations of farmers into the agricultural sector along with developing their potential The production and marketing of organic rice go hand in hand by government agencies and educational institutions in the area. Should develop the potential of the new generation of farmers to become the new generation of agricultural entrepreneurs. both in terms of knowledge and the ability to apply technology and innovation to increase production efficiency, as well as to provide low-interest credit services to incentivize farmers to adopt more modern technology and innovations in organic rice production. for the development of product quality and also to strengthen the strength of the group of farmers who grow organic rice sustainableen_US
dc.language.isoenen_US
dc.publisherChiang Mai : Graduate School, Chiang Mai Universityen_US
dc.subjectPotentialen_US
dc.subjectManagementen_US
dc.subjectOrganic Riceen_US
dc.subjectPhayaoen_US
dc.titleStengthening process of organic rice farmer groups in Chun District, Phayao Provinceen_US
dc.title.alternativeกระบวนการสร้างความเข้มแข็งของกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกข้าวอินทรีย์ ในอำเภอจุน จังหวัดพะเยาen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.lcshFarmers -- Chun (Phayao)-
thailis.controlvocab.thashOrganic farming-
thailis.controlvocab.thashRice -- Chun (Phayao)-
thesis.degreedoctoralen_US
thesis.description.thaiAbstractการวิจัยมีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อเสนอกระบวนการสร้างความเข้มแข็งของกลุ่มเกษตรกร ผู้ปลูกข้าวอินทรีย์ในอำเภอจุน จังหวัดพะเยา โดยใช้กระบวนการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed methods) โดยทำการศึกษาในสองระดับ ดังนี้ (1) ระดับสมาชิก คือ เกษตรกรที่เป็นสมาชิกกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกข้าวอินทรีย์ในอำเภอจุน จังหวัดพะเยา จำนวน 11 กลุ่ม สมาชิก 252 ราย โดยใช้ การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ผู้วิจัยนำหลักเกณฑ์การประเมินศักยภาพกลุ่มวิสาหกิจชุมชนของกรมส่งเสริมการเกษตรมาปรับใช้เพื่อแบ่งกลุ่มเกษตรกรออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ เกษตรกรกลุ่มเข้มแข็งและเกษตรกรกลุ่มไม่เข้มแข็ง ทั้งนี้ผู้วิจัยได้คำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของ Taro Yamane ความคลาดเคลื่อนที่ยอมรับได้ที่ 0.01 ซึ่งทำให้ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่างจากเกษตรกร กลุ่มเข้มแข็งจำนวน 84 ราย และเกษตรกรกลุ่มไม่เข้มแข็ง จำนวน 107 ราย ตามลำดับ เก็บรวบรวมข้อมูลลักษณะพื้นฐานลักษณะพื้นฐานส่วนบุคคล เศรษฐกิจ และสังคมบางประการของเกษตรกรโดยใช้แบบสัมภาษณ์ที่มีค่าความเชื่อมั่น 0.99 ทำการทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติ t-test เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของสมาชิกต่อศักยภาพการดำเนินงานของกลุ่มของตนเอง ผลการวิจัย พบว่า เกษตรกรกลุ่มเข้มแข็งมีประสบการณ์ปลูกข้าวอินทรีย์เฉลี่ย 12.69 ปี ในปี การเพาะปลูก 2562/2563 ผลผลิตเฉลี่ย 524.56 กิโลกรัมต่อไร่ มีรายได้สุทธิเฉลี่ยต่อไร่ 7,037.83 บาท และเกษตรกรส่วนใหญ่ผ่านการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์มากถึงร้อยละ 94.05 สำหรับเกษตรกรกลุ่มไม่เข้มแข็ง พบว่า เกษตรกรมีประสบการณ์ปลูกข้าวอินทรีย์เฉลี่ย 6.87 ปี ในปีการเพาะปลูก 2562/2563 ผลผลิตเฉลี่ย 480.36 กิโลกรัมต่อไร่ มีรายได้สุทธิเฉลี่ยต่อไร่ 4,177.83 บาท และผ่านการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์เพียงร้อยละ 20.56 ทั้งนี้การเปรียบเทียบความคิดเห็นของสมาชิกที่มีต่อศักยภาพด้านการดำเนินงานของกลุ่มเกษตรกรปลูกข้าวอินทรีย์ พบว่า เกษตรกรทั้งสองกลุ่มมีความคิดเห็นต่อศักยภาพด้านการดำเนินงานแตกต่างกันทั้ง 7 ด้าน ได้แก่ ผู้นำและ การบริหาร วางแผนการดำเนินงาน การบริหารการตลาด การจัดการความรู้และข้อมูล การบริหารสมาชิก การจัดการสินค้า และผลลัพธ์การดำเนินการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (2) ระดับองค์กร (กลุ่มเกษตรกร) โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ได้แก่ การจัดสนทนากลุ่ม และการสัมภาษณ์เชิงลึกกับเจ้าหน้าที่ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกลุ่มเกษตรกร โดยใช้การวิเคราะห์ SWOT Analysis ตามกรอบกลยุทธ์ 7s McKinsey เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยภายใน และใช้หลักการ PESTEL Analysis เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยภายนอก ทำการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) เพื่อเชื่อมโยงกับแนวคิดทฤษฎี และงานวิจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อเสนอกระบวนการสร้างความเข้มแข็งของกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกข้าวอินทรีย์ในอำเภอจุน จังหวัดพะเยา ที่เหมาะสม ผลการวิจัย พบว่า เกษตรกรทั้งสองกลุ่มมีปัจจัยภายในกลุ่มแตกต่างกัน ได้แก่ จุดแข็ง พบว่า เกษตรกรกลุ่มเข้มแข็ง มีผู้นำกลุ่มเป็นคนรุ่นใหม่ มีโครงสร้างการบริหารงานที่ชัดเจน ผลผลิตผ่านการรับรองมาตรฐานข้าวอินทรีย์และมีการใช้กลยุทธ์ตลาดนำการผลิต ในขณะที่เกษตรกรกลุ่มไม่เข้มแข็งมีจุดอ่อน พบว่า เกษตรกรกลุ่มเข้มแข็งไม่สามารถดำเนินตามแผนที่ได้กำหนดไว้ เนื่องจากปัญหาภัยธรรมชาติ และสมาชิกไม่มีความรู้ความชำนาญเฉพาะด้าน (เครื่องจักรกล) ในขณะที่เกษตรกรกลุ่ม ไม่เข้มแข็งจะไม่มีการวางแผนการดำเนินงาน สมาชิกต่างคนต่างผลิต จึงส่งผลให้สมาชิกบางรายยังไม่ผ่านการรับรองมาตรฐานข้าวอินทรีย์ และคณะกรรมการส่วนใหญ่ขาดความรู้การบริหารจัดกลุ่ม อย่างไรก็ตามเกษตรกรทั้งสองกลุ่มมีปัจจัยนอกที่เหมือนกันดังนี้ โอกาส พบว่า จังหวัดพะเยากำหนดยุทธศาสตร์ให้อำเภอจุนเป็นแหล่งการผลิตข้าวอินทรีย์เพื่อการส่งออก ตลอดจนความต้องการ ข้าวอินทรีย์ของผู้บริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และข้อจำกัด คือ นโยบายส่งเสริมข้าวอินทรีย์ภาครัฐไม่มีความชัดเจนและต่อเนื่อง รวมถึงการประกอบอาชีพประสบปัญหาเหมือนกัน คือ ด้านเศรษฐกิจ (การขาดแคลนแรงงาน) ส่วนปัญหาที่แตกต่างกัน คือ ด้านกายภาพ (การขาดแคลนแหล่งน้ำ) และด้านสังคม (การเชื่อมโยงเครือข่าย) ซึ่งเกษตรกร กลุ่มเข้มแข็งประสบปัญหาระดับปานกลาง ส่วนเกษตรกรกลุ่มไม่เข้มแข็งพบปัญหาระดับมาก ดังนั้น ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับกระบวนการสร้างความเข้มแข็งของกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกข้าวอินทรีย์ในอำเภอจุน จังหวัดพะเยา จะประกอบไปด้วยประเด็นที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ (1) ด้านผู้นำและการบริหาร ผู้นำกลุ่มควรเป็นคนรุ่นใหม่ที่มีความรู้ และการเปิดโอกาสให้สมาชิกกลุ่มเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารกลุ่มในทุกขั้นตอน (2) ด้านการวางแผนการดำเนินงาน กลุ่มเกษตรกรควรจะมีการประชุมกลุ่มอย่างต่อเนื่อง และการดำเนินกิจกรรมตามแผนที่กำหนดไว้ ตลอดจนมีการประสานกับหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง 3) ด้านการบริหารการตลาด กลุ่มเกษตรกรควรใช้หลักการ “ตลาดนำการผลิต” ทั้งนี้หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ควรให้คำปรึกษาและแนะนำอย่างต่อเนื่อง (4) ด้านการจัดการความรู้และข้อมูล กลุ่มเกษตรกรควรจัดประชุมกลุ่มตามแผนที่กำหนด เพื่อแจ้งข้อมูลผลการดำเนินงานกลุ่มและข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ให้กับสมาชิกได้รับทราบอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนมีการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ในการจัดเก็บข้อมูลให้มากขึ้น (5) ด้านการบริหารสมาชิก กลุ่มเกษตรกรต้องกำหนดเงื่อนไขในการรับสมาชิกใหม่ที่ชัดเจน โดยมีการคัดเลือกผ่านในที่ประชุมของคณะกรรมการกลุ่ม อีกทั้งมีแผนการพัฒนาศักยภาพการผลิตข้าวอินทรีย์ให้กับสมาชิกอย่างต่อเนื่องและเป็นรูปธรรม (6) ด้านการจัดการสินค้า กลุ่มเกษตรกรควรมีการคัดเลือกตัวแทนเกษตรกรในกลุ่มเพื่อจัดตั้งเป็นคณะกรรมการตรวจสอบการปฏิบัติในแปลงนาของสมาชิก ซึ่งจะทำให้ผลผลิตผ่านการรับรองมาตรฐานข้าวอินทรีย์ และ (7) ด้านผลลัพธ์การดำเนินการกลุ่ม การนำกระบวนการมีส่วนร่วมมาใช้เป็นกลไกในการกระตุ้นให้สมาชิกภายในกลุ่มไม่เข้มแข็งได้เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของกลุ่มมากขึ้น ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้ความสำคัญกับการพัฒนากลุ่มเกษตรกร โดยเน้นการพัฒนาองค์ความรู้และเทคโนโลยีให้แก่เกษตรกรจนนำไปสู่การเป็นเกษตรกรมืออาชีพ การส่งเสริมคู่ขนานแบบระบบพี่เลี้ยงระหว่างเกษตรกรทั้งสองกลุ่ม เพื่อเปิดโอกาสให้สมาชิกเกิดการเรียนรู้ร่วมกันในด้านการผลิต การตลาดและการบริหารกลุ่มควบคู่กับการนำเทคโนโลยีด้านช่องทาง การตลาดออนไลน์และการบันทึกข้อมูลมาใช้ ตลอดจนการผลักดันเกษตรกรรุ่นใหม่เข้าสู่ภาคการเกษตรควบคู่กับการพัฒนาศักยภาพด้านการผลิตและการตลาดข้าวอินทรีย์ไปพร้อมกัน รวมทั้งการพัฒนากระบวนการกลุ่ม โดยใช้การบริหารกลุ่มแบบมีส่วนร่วม ซึ่งจะเป็นการเปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่และสมาชิกทุกคนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารกลุ่ม ซึ่งจะเป็นการพัฒนาความรู้ด้านการบริหารจัดการกลุ่มให้กับสมาชิกทุกคนไปพร้อมกัน และพัฒนาการผลิตโดยการพัฒนาองค์ความรู้และเทคโนโลยีให้แก่เกษตรกรการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวสู่มาตรฐานอินทรีย์อย่างเป็นรูปธรรมen_US
Appears in Collections:AGRI: Theses



Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.