Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/77783
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorJetsada Ruangsuriya-
dc.contributor.advisorSuphat Phongthai-
dc.contributor.advisorChurdsak Jaikang-
dc.contributor.authorSarod Chaiwornen_US
dc.date.accessioned2022-11-05T05:24:33Z-
dc.date.available2022-11-05T05:24:33Z-
dc.date.issued2022-09-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/77783-
dc.description.abstractTofu is a plant-based product consumed worldwide as a dietary protein alternative. Tofu production is based on protein extraction by water and precipitation and is considered rich in protein nutrients. Although there is a relatively high protein content in tofu, it is limited by certain essential amino acids, such as methionine, and dietary fibers. Therefore, this study aimed to develop a high-quality protein tofu formula, which is rich in dietary fiber, by adding cow milk and oyster mushroom. The researcher hoped that the developed tofu could be added to the market as an alternative to the dietary protein source. The experimental design started with optimizing the conditions for tofu production on the laboratory scale and produced from a standard method for household consumption. Then, the nutritional and physical properties of the tofu were analyzed. In the optimization step, the optimal water volume for soymilk production was initially obtained from 50 g of dry soybeans, and the number of extraction repeats was investigated. Next, the suitable coagulant for soymilk and cow milk protein precipitation was explored. Finally, the amounts of cow milk and oyster mushroom were investigated for tofu production. After all optimal conditions were revealed, four types of tofu were produced accordingly to the household consumption scale for nutritional analyses, including proximate analysis and amino acid contents. The physical analyses included water holding capacity (WHC), texture profile analysis, and microstructure investigation. The results were compared between types of tofu, and the relationship between nutritional data and physical characteristics was established. Furthermore, the lactose content was assured due to the addition of cow milk during tofu production. The results revealed that the suitable water volume for extracting 50 g of soybean protein to produce soymilk was 1,000 ml (1:20, dried soybeans to water). The extraction was repeated 4 times within the optimal water volume to obtain the highest protein in the soymilk. The most suitable coagulant is 0.2% (w/v) citric acid, which precipitated both soymilk and cow milk proteins. The optimal percentage of cow milk added to soymilk was 5% (w/v) using whole cow milk, and the optimal percentage of oyster mushroom added to soymilk was 10% (w/v). Four types of tofu in this study were the tofu made from solely soymilk (SPT), the tofu made from soymilk and cow milk (SCT), the tofu made from soymilk and oyster mushroom (SMT), and the tofu made from soymilk, cow milk, and oyster mushroom, known as hybrid tofu (HBT). The general characteristics of the four types of tofu were similar. Nutritional analysis by the proximate analysis revealed that tofu with oyster mushroom (SMT=16.99±1.60 g) and soy protein tofu (SPT = 14.60±0.24 g) contained lower protein contents than those of the tofu containing cow milk protein (SCT = 22.46±0.15 g and HBT = 21.12±0.51 g). Moreover, this resulted in the amino acid content results in which tofu without oyster mushrooms (SPT = 12.068 mg and SCT = 19.733 mg) and SMT (19.076 mg) contained higher protein than HBT (6.740 mg). However, the essential amino acid to non-essential amino acid ratio of HBT was highest at 113.3%, while other types of tofu ranged from 78.70% to 84.87%. In addition, methionine content in HBT (0.038 mg) was the highest compared to other tofu types without cow milk. The absolute content of dietary fiber in tofu with oyster mushroom (SMT = 28.13±2.21 g and HBT = 25.67±2.17 g) was higher than that in tofu without oyster mushroom (SPT = 1.06±0.11 g and SCT = 0.54±0.12 g). The moisture of the tofu with oyster mushroom (SMT = 127.79±0.29g) and HBT = 133.11±0.32 g) was relatively high. However, fat content was lower in tofu without oyster mushroom (SPT = 17.64±1.01 g and SCT = 25.37±5.69 g) and SMT (12.22±3.35 g) while HBT (49.88±2.53 g) contained the highest fat content. The texture analyses of tofu, including the hardness, cohesiveness, and springiness of the tofu with cow milk and oyster mushrooms, were balanced to maintain the original tofu. Nevertheless, it did not affect the ability to swallow (gumminess) and chew (chewiness). The microstructure of tofu without oyster mushroom (SPT and SCT) showed a smooth and homogeneous protein surface, while the tofu with oyster mushroom (SMT and HBT) appeared rough surfaces and the fine fibers were visible in a good combination with the protein. Pearson’s correlation between nutrients and texture characteristics of tofu indicated protein and fat content were positively correlated to cohesiveness (r = 0.63 and r = 0.57, respectively), while protein was negatively correlated to crude fiber (r = -0.76) and water-holding capacity; WHC) (r = -0.87). A negative association was found between fat and WHC (r = -0.61). Moreover, lactose content analysis of four types of tofu showed that all tofu in this study was lactose-free. To summarize, HBT demonstrated general characteristics similar to conventional tofu, although the protein and amino acid contents were significantly less than that of the conventional one. However, the ratio of essential amino acids to non-essential amino acids was higher in HBT and was rich in dietary fiber. HBT might be considered an alternative dietary protein source for specific groups, such as limited dietary protein-consuming people and restricted dietary fuel-consuming people.en_US
dc.language.isoenen_US
dc.publisherChiang Mai : Graduate School, Chiang Mai Universityen_US
dc.subjecthigh quality tofuen_US
dc.subjectalternative proteinen_US
dc.subjectdietary proteinen_US
dc.subjectdietary fibersen_US
dc.subjectconventional tofuen_US
dc.titleDevelopment of high-quality protein tofu with dietary fiber supplementation as an alternative for dietary proteinen_US
dc.title.alternativeการพัฒนาเต้าหู้โปรตีนคุณภาพสูงเสริมไฟเบอร์ในอาหาร สําหรับอาหารโปรตีนทางเลือกen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashTofu-
thailis.controlvocab.thashProteins-
thailis.controlvocab.thashPlant proteins-
thailis.controlvocab.thashFibers-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractเต้าหู้เป็นผลิตภัณฑ์จากธัญพืชที่นิยมบริโภคในหลายหลายเชื้อชาติ โดยการผลิตเต้าหู้อาศัยหลักการสกัดโปรตีนด้วยน้ำและตกตะกอนโปรตีนที่สกัดได้จากเมล็ดถั่วเหลือง เต้าหู้นับว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่อุดมด้วยสารอาหารประเภทโปรตีน แม้นจะมีปริมาณโปรตีนที่เป็นองค์ประกอบค่อนข้างสูง อย่างไรก็ตาม เต้าหู้จากถั่วเหลืองขาดกรดอะมิโนจำเป็นบางชนิด เช่น เมไทโอนีน อีกทั้งยังมีปริมาณกากใยอาหารที่ต่ำ ดังนั้นคณะผู้วิจัยจึงต้องการพัฒนาสูตรการผลิตเต้าหู้ที่จัดว่าเป็นโปรตีนคุณภาพสูงและอุดมด้วยกากใยอาหาร โดยการเติมนมวัวเพื่อเพิ่มโปรตีนและกรดอะมิโน และการเติมเห็ดนางฟ้าเพื่อเพิ่มกากใยอาหาร โดยมีวัตถุประสงค์ให้เต้าหู้ที่พัฒนาขึ้นเป็นอีกตัวเลือกหนึ่งของกลุ่มอาหารโปรตีนทางเลือก การศึกษาทดลองเริ่มจากการหาสภาวะที่เหมาะสมในการผลิตเต้าหู้ในระดับห้องปฏิบัติการ การผลิตเต้าหู้ใช้วิธีมาตรฐานสำหรับการบริโภคในครัวเรือน จากนั้นทำการวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการและลักษณะทางกายภาพของเต้าหู้ที่ผลิตได้ สำหรับการทดลองเริ่มจากการหาสภาวะที่เหมาะสมในการผลิตเต้าหู้จากเมล็ดถั่วเหลืองแห้ง 50 กรัม ทำการทดลองหาปริมาตรน้ำและจำนวนครั้งที่เหมาะสมต่อการสกัดโปรตีนในรูปน้ำนมถั่วเหลือง ชนิดและความเข้มข้นของสารตกตะกอนที่เหมาะสมสำหรับนมถั่วเหลืองและนมวัว อัตราส่วนที่เหมาะสมสำหรับปริมาณนมวัวที่เสริมในการผลิตเต้าหู้ และอัตราส่วนของปริมาณเห็ดนางฟ้าที่เหมาะสมที่เติมลงในการผลิตเต้าหู้ จากนั้นนำสภาวะที่เหมาะสมที่ได้จากการศึกษามาผลิตเต้าหู้ทั้งหมด 4 ชนิด ในระดับการบริโภคในครัวเรือน เพื่อทำการวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการ ได้แก่ คุณค่าทางโภชนาการรวมและปริมาณกรดอะมิโนและคุณสมบัติทางกายภาพของเต้าหู้ ได้แก่ ความสามารถของสารที่จะอุ้มน้ำ เนื้อสัมผัส และ โครงสร้างจุลภาคของเต้าหู้ ซึ่งข้อมูลที่ได้ถูกเปรียบเทียบระหว่างชนิดของเต้าหู้และหาความสัมพันธ์ระหว่างสารอาหารกับลักษณะทางกายภาพ อีกทั้งทดสอบเพื่อยืนยันเต้าหู้ที่ผลิตปราศจากการปนเปื้อนของน้ำตาลแลคโตสจากการผสมนมวัวในเต้าหู้ จากผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าปริมาตรน้ำที่เหมาะสมต่อการสกัดโปรตีนจากถั่วเหลือง 50 กรัม ในรูปนมถั่วเหลืองเท่ากับ 1,000 มิลลิลิตร คิดเป็นอัตราส่วน 1:20 ของน้ำหนักเมล็ดถั่วเหลืองแห้งซึ่งทำการสกัดจำนวน 4 ครั้ง เพื่อให้ได้โปรตีนมากที่สุดในนมถั่วเหลือง สารตกตะกอนที่เหมาะสมคือ กรดซิตริกที่ความเข้มข้นร้อยละ 0.2 โดยน้ำหนักต่อปริมาตร ที่สามารถตกตะกอนทั้งโปรตีนในนมถั่วเหลืองและนมวัว สำหรับอัตราส่วนที่เหมาะสมของการเสริมนมวัวลงในนมถั่วเหลืองคือร้อยละ 5 โดยน้ำหนักต่อปริมาตรด้วยนมผงสูตรเต็มมันเนย และอัตราส่วนที่เหมาะสมของเห็ดนางฟ้าคือร้อยละ 10 โดยน้ำหนักต่อปริมาตร เต้าหู้ที่ผลิตขึ้นในงานวิจัยนี้มีทั้งหมด 4 ชนิดได้แก่ เต้าหู้ที่ทำจากนมถั่วเหลืองอย่างเดียว (SPT) เต้าหู้ที่ทำจากนมถั่วเหลืองและนมวัว (SCT) เต้าหู้ที่ทำจากนมถั่วเหลืองและเห็ดนางฟ้า (SMT) และเต้าหู้ที่ทำจากนมถั่วเหลือง นมวัว และเห็ดนางฟ้า หรือ เต้าหู้ลูกผสม (HBT) ลักษณะทั่วไปของเต้าหู้ทั้ง 4 ชนิดไม่มีความแตกต่างกัน สำหรับการวิเคราะห์ทางโภชนาการของเต้าหู้โดยการวิเคราะห์ด้วยการประมาณค่า พบว่า เต้าหู้ที่มีเห็ดนางฟ้า (SMT = 16.99±1.60 กรัม) และเต้าหู้ถั่วเหลือง (SPT = 14.60±0.24 กรัม) มีปริมาณโปรตีนน้อยกว่าเต้าหู้ที่เติมโปรตีนจากนมวัว (SCT = 22.46±0.15 กรัม และ HBT = 21.12±0.51 กรัม) นอกจากนี้ ปริมาณกรดอะมิโนรวมของเต้าหู้ที่ไม่มีเห็ดนางฟ้า (SPT = 12.068 มิลลิกรัม และ SCT = 19.733 มิลลิกรัม) และ SMT (19.076 มิลลิกรัม) พบปริมาณสูงกว่า HBT (6.740 มิลลิกรัม) อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาอัตราส่วนระหว่างกรดอะมิโนจำเป็นต่อกรดอะมิโนที่ไม่จำเป็นของ HBT พบอัตราส่วนสูงที่สุดซึ่งคิดเป็นร้อยละ 113.3 ขณะที่เต้าหู้ชนิดอื่นพบอยู่ที่ร้อยละ 78.70 - 84.87 นอกจากนี้ ปริมาณของกรดอะมิโนเมไธโอนีนใน HBT (0.038 มิลลิกรัม) พบปริมาณมากกว่าเต้าหู้ชนิดที่ไม่เติมนมวัว และแน่นอนที่สุดกากใยอาหารในเต้าหู้ที่มีเห็ดนางฟ้า (SMT = 28.13±2.21 กรัม และ HBT = 25.67±2.17 กรัม) พบปริมาณสูงกว่าเต้าหู้ที่ไม่มีเห็ดนางฟ้าเป็นองค์ประกอบ (SPT = 1.06±0.11 กรัม และ SCT = 0.54±0.12 กรัม) ส่วนความชื้นของเต้าหู้พบสูงขึ้นในเต้าหู้ที่มีเห็ดนางฟ้า (SMT = 127.79±0.29 กรัม) และ HBT= 133.11±0.32 กรัม) อย่างไรก็ตาม ปริมาณไขมันในเต้าหู้ที่ไม่มีเห็ดนางฟ้า (SPT = 17.64±1.01 กรัม และ SCT = 25.37±5.69 กรัม) และ SMT (12.22±3.35 กรัม) มีปริมาณต่ำกว่า HBT (49.88±2.53 กรัม) แม้นว่าการเติมนมวัวและเห็ดนางฟ้ามีผลต่อลักษณะของความแข็ง (hardness) ความเกาะติดกัน (cohesiveness) และความยืดหยุ่น (springiness) ของเต้าหู้อย่างมีนัยสำคัญ แต่ก็เป็นกระบวนการปรับสมดุลให้คงความเป็นเต้าหู้แบบดั่งเดิม ส่วนการเติมนมวัวและเห็ดนางฟ้าไม่มีผลต่อระดับความสามารถของการกลืน (gumminess) และความสามารถในการเคี้ยว (chewiness) ของเต้าหู้แต่อย่างใด ส่วนของโครงสร้างระดับจุลภาพของเต้าหู้ที่ไม่มีเห็ดนางฟ้า (SPT และ SCT) พบผิวเรียบและเป็นเนื้อเดียวกันของโปรตีน ต่างจากเต้าหู้ที่มีเห็ดนางฟ้า (SMT และ HBT) ที่ปรากฏผิวขรุขระและมองเห็นเส้นของกากใยอาหารได้อย่างชัดเจนและผสานเป็นเนื้อเดียวกันกับโปรตีน ส่วนการหาค่าสหสัมพันธ์ระหว่างสารอาหารต่อลักษณะของเนื้อสัมผัสของเต้าหู้ พบว่า ปริมาณโปรตีนและไขมันพบความสัมพันธ์เชิงบวกต่อความเกาะติดกัน (r = 0.63 และ r = 0.57) แต่โปรตีนพบความสัมพันธ์เชิงลบต่อไฟเบอร์ (r = -0.76) และต่อความสามารถของสารที่จะอุ้มน้ำ (water holding capacity; WHC) (r = -0.87) สำหรับไขมันพบความสัมพันธ์เชิงลบต่อ WHC (r = -0.61) เพียงอย่างเดียวและเมื่อทำการวิเคราะห์หาปริมาณน้ำตาลแลคโตสในเต้าหู้ทั้ง 4 ชนิด พบว่า เต้าหู้ในงานวิจัยนี้ทั้งหมดปราศจากน้ำตาลแลคโตส จากผลการทดลองทั้งหมดแสดงให้เห็นว่า HBT ที่ผลิตขึ้นแสดงลักษณะเหมือนกับเต้าหู้แบบดั้งเดิม แม้นว่าจะพบปริมาณโปรตีนและกรดอะมิโนที่น้อยกว่าเต้าหู้แบบดั่งเดิม แต่อัตราส่วนของกรดอะมิโนจำเป็นต่อกรดอะมิโนไม่จำเป็นมีค่าสูงขึ้น และที่แน่นอน HBT อุดมด้วยกากใยอาหารสูง ซึ่งเป็นทางเลือกที่สำคัญต่อผู้ที่ต้องการควบคุมการรับประทานอาหารในกลุ่มโปรตีน แต่คงคุณค่าทางโภชนาการและระดับพลังงานรวมทั้งผู้ที่ต้องการรับประทานอาหารประเภทโปรตีนที่อุดมด้วยกากใยอาหารen_US
Appears in Collections:MED: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
630731005_Sarod_Chaiworn_watermark.pdf5.52 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.