Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78318
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorยุทธนา พิมิลศิริผล-
dc.contributor.authorสุดารัตน์ นาดอนen_US
dc.date.accessioned2023-07-05T00:52:59Z-
dc.date.available2023-07-05T00:52:59Z-
dc.date.issued2023-04-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78318-
dc.description.abstractThe objectives of this research were to modify surface of film using polybutylene succinate (PBS) and thermoplastic starch (TPS) and applied cold argon plasma treatment and Makhwaen pepper extract coated on the film for prolonging shelf life of cooked pork sausages. The different ratios of PBS and TPS in blown film extrusion were investigated. Results showed that the best condition was 80:20, resulting in actable quality for E (0.91) tensile strength (17.25 MPa), elongation (185.67%). contact angle (69.8°), water absorption (3.03%) and solubility (2.73%). The film surface was further treated using cold argon plasma at different powers (100, 120 and 140 W) and treatment times (5, 10 and 15 s). Cold plasma at 120 W for 10 s resulted in higher tensile strength (21.16 MPa) and elongation (293.82%) of film than untreated plasma film. Atomic force microscope showed the roughness surface increased after cold plasma treatment. Again, scanning electron microscopy showed greater homogeneous surface morphology, decreased in contact angle and increased hydrophilic properties of the film. The optimal supercritical fluid extraction (SFE) using CO2 condition of Makhwaen essential oil (ME) was 20 MPa at 60 °C, resulting in the highest yield (19.19%) and greater antioxidant activity than ME extracted by hydro-distillation. However, However, ME extracted by the hydro-distillation showed better antimicrobial properties (Minimum Inhibitory Concentration (MIC) and Minimum Bactericidal Concentration (MBC) for Staphylococcus aureus, Escherichia coli, Bacillus subtilis and Pseudomonas aeruginosa than the ME extracted by SFE. The film incorporated an essential oil from Makhwaen pepper (Zanthoxylum myriacanthum) was further investigated. Makhwaen pepper was extracted using hydro-distillation. The obtained extract oil had 11.80% yield and 52.21 mg GAE/mL extract of phenolic content. DPPH and ABTS IC50 values of oil were 77.38 and 31.29 μg/mL extract, respectively. For antimicrobial activities, the best concentration of 80% v/v with Tween 20 was suitable to inhibit Staphylococcus aureus, Escherichia coli, Bacillus subtilis and Pseudomonas aeruginosa and also enhanced the adhesion of ions when applying cold argon plasma on the film surface. Cold plasma resulted in decreased in contact angle which unable to measure of water droplets and had no effect on the water vapor permeability rate and the ability of water vapor diffusion of the film. From study the shelf-life testing of pork cocktail sausages packaged under packaging. ME at the concentration of 80% v/v was coated on film surface and kept at 25ºC for 72 h compared to non-coated sample (control). Thus, pork cocktail sausages packaged under packaging with 80% v/v could be kept for 40 h when compared to control (36 h).en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการใช้พลาสมาเย็นในการปรับปรุงพื้นผิวฟิล์มบรรจุภัณฑ์ที่มีน้ำมันหอมระเหยจากมะแขว่นเพื่อยืดอายุการเก็บรักษาในผลิตภัณฑ์ไส้กรอกหมูen_US
dc.title.alternativeCold plasma for improvement of film properties containing Makhwaen pepper extract for prolonging shelf life of cooked pork sausagesen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashมะแขว่น-
thailis.controlvocab.thashพลาสมา (ก๊าซที่เป็นประจุ)-
thailis.controlvocab.thashบรรจุภัณฑ์-
thailis.controlvocab.thashน้ำมันหอมระเหย -- การสังเคราะห์-
thailis.controlvocab.thashไส้กรอก-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractงานวิจัยนี้มีเป้าหมายในการปรับปรุงพื้นผิวฟิล์มจากพอลิบิวทิลีนซัคซิเนต (PBS) และเทอร์โมพลาสติกสตาร์ช (TPS) ด้วยเทคโนโลยีพลาสมาเย็นจากแก๊สอาร์กอน ที่มีน้ำมันหอมระเหยจากมะแขว่นเพื่อยืดอายุการเก็บรักษาไส้กรอกหมู จากการศึกษาอัตราส่วนของ PBS:TPS ที่แตกต่างกันพบว่าการขึ้นรูปฟิล์มด้วยวิธีการเป่าของ PBS และ TPS เท่ากับ 80:20 เป็นอัตราส่วนที่เหมาะสม โดยที่ค่าความต่างสีอยู่ที่ 0.91 ค่าการดึงขาดเท่ากับ 17.25 MPa ค่าระยะยืด ณ จุดขาดเท่ากับร้อยละ 185.67 ค่าการดูดซึมและการละลายน้ำของฟิล์มอยู่ที่ร้อยละ 3.03 และ 2.73 ตามลำดับ ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ เมื่อเปรียบเทียบกับตัวอย่างควบคุม จากนั้นนำมาทำการศึกษาการปรับปรุงพื้นผิวฟิล์มด้วยเทคโนโลยีพลาสมาเย็น โดยการใช้อาร์กอนพลาสมาที่กำลังต่างกัน (100, 120 และ 140 วัตต์) และเวลาที่ใช้ในการอาบ (5, 10 และ 15 วินาที) พบว่า อาร์กอนพลาสมาเย็นที่ 120 วัตต์ เป็นเวลา 15 วินาที ทำให้ฟิล์มมีความต้านแรงดึงเท่ากับ 21.16 MPa และ ร้อยละการยืดตัว ณ จุดขาด เท่ากับร้อยละ 293.82 ซึ่งสูงกว่าฟิล์มพลาสมาที่ไม่ผ่านการเคลือบ การใช้อาร์กอนพลาสมาเย็นมีผลทำให้พื้นผิวที่ขรุขระเพิ่มขึ้นจากผลของการใช้กล้องจุลทรรศน์แรงอะตอม รวมถึงกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราดแสดงสัณฐานวิทยาของพื้นผิวที่เป็นเนื้อเดียวกันมากขึ้นและมุมสัมผัสหยดน้ำลดลง แสดงถึงสมบัติการชอบน้ำที่เพิ่มขึ้นพื้นผิวฟิล์ม จากการสกัดน้ำมันหอมระเหยมะแขว่นด้วยวิธีสกัดด้วยคาร์บอนไดออกไซด์ภายใต้สภาวะ วิกฤตยิ่งยวด พบว่า สภาวะที่เหมาะสมที่สุดของการสกัดคือ ความดันที่ 20 เมกะปาสคาล และอุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส มีปริมาณผลผลิตร้อยละ 19.19 และมีความสามารถในการต้านอนุมูลที่ดีกว่า การกลั่นด้วยน้ำร้อนอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) อย่างไรก็ตาม น้ำมันหอมระเหยมะแขว่น ที่กลั่นด้วยน้ำร้อนจะมีสมบัติต้านจุลินทรีย์ที่ความเข้มข้นต่างๆ ที่สามารถยับยั้งและฆ่าจุลินทรีย์ Staphylococcus aureus, Escherichia coli, Bacillus subtilis และ Pseudomonas aeruginosa ที่ดีกว่าน้ำมันหอมระเหยมะแขว่นด้วยวิธีสกัดด้วยคาร์บอนไดออกไซด์ภายใต้สภาวะวิกฤตยิ่งยวด จากนั้นจึงนำฟิล์มที่ได้มาฉาบน้ำมันหอมระเหยจากมะแขว่น (Zanthoxylum myriacanthum) ที่ได้จากสกัดด้วยวิธีการกลั่นด้วยน้ำร้อน โดยความเข้มข้น 80%v/v ที่มีส่วนผสมของ Tween 20 เหมาะสมที่สุดที่สามารถยับยั้งจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดความเสื่อมเสียของอาหารได้ ทั้งนี้ยังสามารถเพิ่มความสามารถในการยึดเกาะประจุอาร์กอนพลาสมาเย็นบนพื้นผิวฟิล์มได้ดี โดยไม่สามารถวัดค่ามุมสัมผัสหยดน้ำได้ และไม่มีผลต่ออัตราการซึมผ่านของไอน้ำ และความสามารถในการแพร่ผ่านของไอน้ำของฟิล์ม จากการศึกษาการยืดอายุการเก็บรักษาไส้กรอกหมูที่บรรจุภายใต้ฟิล์มบรรจุภัณฑ์ที่ผ่านกระบวนการปรับปรุงพื้นผิวฟิล์มด้วยพลาสมาที่มีน้ำมันหอมระเหยจากมะแขว่นที่ความเข้มข้น 80% v/v ที่เก็บรักษาตัวอย่างที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส ทุกๆ 4 ชั่วโมง จนถึง 72 ชั่วโมง พบว่า มีปริมาณจุลินทรีย์ทั้งหมดที่ไม่เกินเกณฑ์มาตรฐาน ในชั่วโมงที่ 40 ของการเก็บรักษา เมื่อเปรียบเทียบกับตัวอย่างควบคุมที่มีปริมาณจุลินทรีย์ทั้งหมดที่ไม่เกินเกณฑ์มาตรฐานในชั่วโมงที่ 36 ของการเก็บรักษา ทำให้ฟิล์มสามารถยืดอายุการเก็บรักษาที่ 25 องศาเซลเซียสได้ 4 ชั่วโมง เมื่อเปรียบเทียบกับตัวอย่างควบคุมen_US
Appears in Collections:AGRO: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
611331023-สุดารัตน์ นาดอน.pdf9.74 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.