Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78370
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorปิยะพงษ์ วงค์เมธา-
dc.contributor.authorปวริศ ประดงจงเนตรen_US
dc.date.accessioned2023-07-09T03:53:17Z-
dc.date.available2023-07-09T03:53:17Z-
dc.date.issued2022-11-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78370-
dc.description.abstractThis research studies the behavior of simple beams subjected with impact loading and static loading under three-point bending load. The impact load was established with dropped hammer weight 160 kg. from 70 cm to the mid-span at the first time and with different heights at another times. For static loading test, the point load was generated at mid-span and increased gently until failure. The specimens included 3 groups : reinforced concrete beams, concrete filled steel tube beam, and hollow steel beam. The clear span was 1.2 m. in all samples. For each group, the number of sample under impact loading was 8 samples and under static loading was 4 samples. The shear strength and flexural strength of reinforced concrete beam samples were designed equal to the concrete filled steel tube beam samples. Furthermore, the section of concrete filled steel tube beam samples and hollow steel beam samples were same dimension. From the impact loading test, in early stage, the input impact energy was absorbed and dissipated with the energy absorption, inertia force. For reinforced concrete beams had higher impact load comparing with the concrete filled steel tube beams but they had lower energy absorption. A large flexural crack was also found in the center of the beam after impact loading. For concrete filled steel tube beams showed very little damage from the first impact load. For hollow steel tube beams, a large local buckling was founded after impact load, resulting in a loss of loading resistance. For the static loading, it was found that The bending strength of the reinforced concrete beam and the concrete filled steel tube beam were similar as designed. the failure mode of reinforced concrete beams were flexural failure with flexural cracks distributed along span of beams. It was shown that the impact resulted in a change in the characteristic of the crack of the reinforced concrete beam specimens. The concrete filled steel tube beams caused a little lateral local buckling, Hollow steel tube beams caused a large lateral local buckling. And the stiffness of the reinforced concrete beams was the highest. From the test results, it can be concluded that the concrete filled steel tube beams are more suitable for impact load than other types of specimens. It is because it produced less Impact force and less damage than other types of specimens. Also, when the specimen is repeatedly impacted, the specimen is still able to withstand the impact well.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleพฤติกรรมแบบเหนียวของโครงสร้างคานเหล็กรูปพรรณแบบกล่องสี่เหลี่ยมกรอกคอนกรีตต้านทานแรงกระแทกen_US
dc.title.alternativeDuctile behavior in concrete-filled rectangular tubular steel beam structure resisting impact loadsen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashคาน-
thailis.controlvocab.thashคาน (วิศวกรรมศาสตร์)-
thailis.controlvocab.thashโครงสร้างเหล็กกล้า-
thailis.controlvocab.thashอาคารเหล็กรูปพรรณ-
thailis.controlvocab.thashแรงกระแทก-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractงานวิจัยนี้ทำการศึกษาพฤติกรรมของตัวอย่างคานอย่างง่ายรับแรงกระแทกและแรงแบบสถิตแบบจุดกระทำที่ตำแหน่งกึ่งกลางช่วงพาด สำหรับการทดสอบแรงกระแทกจะปล่อยตุ้มกระแทกมวล 160 กิโลกรัม ที่ความสูงของการกระแทกแต่ละครั้งแตกต่างกัน เว้นแต่การให้แรงกระแทกกระทำครั้งแรกจะมีความสูงของการปล่อยตุ้มกระแทกที่ความสูงเท่ากันคือ 70 เซนติเมตร จากผิวบนของคานให้ตกอย่างอิสระ ณ กึ่งกลางคาน สำหรับการทดสอบแรงแบบสถิตจะค่อยๆเพิ่มแรงกดที่กึ่งกลางคานจนเกิดการวิบัติ ตัวอย่างทดสอบทั้งหมดมีความยาวช่วงพาด (Span) เท่ากันคือ 1.2 เมตร และจุดรองรับเป็นชนิดจุดรองรับอย่างง่าย (Simple support) ซึ่งตัวอย่างที่ใช้ทดสอบในงานวิจัยนี้แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ 1) ตัวอย่างคอนกรีตเสริมเหล็ก (Reinforce concrete, RC) 2) ตัวอย่างเหล็กกล่องกรอกคอนกรีต (Concrete filled steel tube, CFST) 3) ตัวอย่างเหล็กกล่องกลวง (Hollow steel tube, HS) ประกอบด้วย ตัวอย่างทดสอบรับแรงกระแทกประเภทละ 8 ตัวอย่าง ตัวอย่างทดสอบแรงแบบสถิตประเภทละ 4 ตัวอย่าง รวมจำนวนทั้งสิ้น 36 ตัวอย่างโดยทำการแปรผันขนาดกำลังรับแรงเฉือนและแรงดัดของคาน สำหรับตัวอย่างคอนกรีตเสริมเหล็กและตัวอย่างเหล็กกล่องกรอกคอนกรีตถูกออกแบบให้มีกำลังรับแรงดัดและแรงเฉือนมีค่าใกล้เคียงกัน ส่วนตัวอย่างเหล็กกล่องกรอกคอนกรีตและตัวอย่างเหล็กกล่องกลวงจะมีขนาดหน้าตัดที่เหมือนกัน จากการทดสอบแรงแบบกระแทกพบว่า ในช่วงเริ่มต้นของการกระแทกพลังงานที่เกิดขึ้นนั้นจะถูกดูดซับและสลายไปด้วยอัตราการดูดซับพลังงาน แรงเฉื่อยและความเสียหายที่เกิดขึ้นของตัวอย่าง สำหรับตัวอย่างคอนกรีตเสริมเหล็กเกิดแรงกระแทกสูงกว่าตัวอย่างเหล็กกล่องกรอกคอนกรีตรวมถึงมีอัตราการดูดซับพลังงานที่ต่ำกว่า และยังพบความเสียหายที่เป็นรอยร้าวดัดขนาดใหญ่ที่บริเวณกึ่งกลางคาน ส่วนตัวอย่างเหล็กกล่องกรอกคอนกรีตพบความเสียหายน้อยมาก ตัวอย่างเหล็กกล่องกลวงเกิดการโก่งเดาะเฉพาะที่ด้านข้าง (Lateral local buckling) ขนาดใหญ่ส่งผลให้สูญเสียกำลังในการต้านทานแรงกระแทก สำหรับการทดสอบแรงแบบสถิตพบว่า กำลังในการรับแรงดัดของตัวอย่างคอนกรีตเสริมเหล็กและตัวอย่างเหล็กกล่องกรอกคอนกรีตมีค่าใกล้เคียงกันตามที่ออกแบบไว้ และรูปแบบความเสียหายของตัวอย่างคอนกรีตเสริมเหล็กเกิดรอยร้าวเนื่องจากแรงดัด (Flexural crack) กระจายตามผิวล่างของคาน ซึ่งรอยร้าวแตกต่างกับตัวอย่างการทดสอบรับแรงกระแทก แสดงให้เห็นว่าแรงกระแทกส่งผลให้ลักษณะความเสียหายของตัวอย่างเปลี่ยนไป ส่วนตัวอย่างเหล็กกล่องกรอกคอนกรีตเกิดการโก่งเดาะเฉพาะที่ด้านข้างเล็กน้อย และตัวอย่างเหล็กกล่องกลวงเกิดการโก่งเดาะที่มีขนาดใหญ่ และค่าความแข็งเกร็ง (Stiffness) ของตัวอย่างคอนกรีตเสริมเหล็กมีค่าสูงที่สุด จากผลการทดสอบสรุปได้ว่าตัวอย่างเหล็กกล่องกรอกคอนกรีตมีความเหมาะสมในการรับแรงกระแทกมากกว่าตัวอย่างประเภทอื่นเพราะเกิดแรงกระแทกที่น้อยกว่าและมีความเสียหายที่น้อยกว่าตัวอย่างประเภทอื่น อีกทั้งเมื่อได้รับแรงกระแทกซ้ำยังคงความสามารถในการรับแรงกระแทกได้ดีen_US
Appears in Collections:ENG: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
620631014-ปวริศ ประดงจงเนตร.pdf11.4 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.