Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78641
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุพัฒน์ พงษ์ไทย-
dc.contributor.authorสบัน ทองคงen_US
dc.date.accessioned2023-08-15T01:02:51Z-
dc.date.available2023-08-15T01:02:51Z-
dc.date.issued2023-06-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78641-
dc.description.abstractThis research aimed to study the application of pulsed electric field (PEF) for the process development of quick-cooking rice product. In addition, the derived product was determined for physicochemical properties, in vitro digestibility, as well as sensory attributes. Four varieties of rice, including Kum Chao Mor Chor 107, Jasmin 105, Kum Doi Saket, and Sanpatong 1, were studied. A three-level three-factor Box–Behnken design were chosen to evaluate the effect of three independent variables, including pulse number (X1, 2,000-6,000 pulses), electric filed strength (X2, 6-10 kV/cm) and frequency (X3, 3-15 Hz) on the cooking time (min) and full grain portion as response values. The optimal condition was obtained by using Response Surface Methodology (RSM) As a result, the number of pulses and frequency were the most significant factors affecting those response values (p<0.05). The optimal condition for quick-cooking rice production consisted of 2565-5079 pulses, electric filed strength of 6-8 kV/cm, and frequency of 4.4-15 Hz. This optimized process could reduce the cooking time for about 3.9-4.3 folds, as well as retain the full grain portion for about 66.33-96.67%. The water uptake ratio and cooking loss of the derived rice were 0.85-2.12 and 1.30-12.08%, respectively. Moreover, the hardness of four PEF-treated rice samples were significantly decreased (p<0.05). The remained vitamin B1 and B3 contents found in PEF-treated rice and freeze-thawed rice (comparative method) were not significantly different (p>0.05). Furthermore, PEF treatment was efficient to improve the in vitro digestibility of protein and carbohydrate. A rapid digestible starch (RDS) tended to increase; meanwhile, a slowly digestible starch (SDS) was significantly reduced (p<0.05). The quick-cooking rice obtained by the developed PEF treatment was higher accepted, in terms of sensory evaluation, than that one from freeze-thawing process. This study revealed the efficiency of PEF for the application as a new strategy for the process development of rice product. As the derived rice can be comfortably quickly cooked with obtaining the soft texture, so it is expected in meeting nowadays consumers demand particularly working-age and aging populations.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการพัฒนากระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ข้าวหุงสุกเร็ว โดยใช้เทคนิคสนามไฟฟ้าพัลส์en_US
dc.title.alternativeProcess development of quick-cooking rice product using pulsed electric field techniqueen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashสนามไฟฟ้า-
thailis.controlvocab.thashสนามแม่เหล็กไฟฟ้า-
thailis.controlvocab.thashข้าว-
thailis.controlvocab.thashผลิตภัณฑ์ข้าว-
thailis.controlvocab.thashการปรุงอาหาร-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractวิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้เทคนิคสนามไฟฟ้าพัลส์ในการพัฒนากระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ข้าวหุงสุกเร็ว รวมถึงศึกษาสมบัติเคมีกายภาพ ความสามารถในการถูกย่อยของข้าวในระบบจำลองทางเดินอาหาร และการประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัส โดยใช้ข้าว 4 สายพันธุ์ ประกอบไปด้วย ข้าวเจ้า 2 สายพันธุ์ ได้แก่ ข้าวก่ำเจ้า มช.107 และข้าวหอมมะลิ 105 นอกจากนี้ ยังศึกษาข้าวเหนียว 2 สายพันธุ์ ได้แก่ ข้าวก่ำดอยสะเก็ดและข้าวสันป่าตอง 1 ออกแบบการทดลองโดยใช้ Box-Behnken design ศึกษา 3 ปัจจัย ปัจจัยละ 3 ระดับ ได้แก่ จำนวนพัลส์ในช่วง 2,000-6,000 พัลส์ ความเข้มสนามไฟฟ้าในช่วง 6-10 กิโลโวลต์ต่อเซนติเมตร และความถี่ในช่วง 3-15 เฮิรตซ์ โดยข้าวเจ้าและข้าวเหนียวใช้ช่วงของระดับปัจจัยที่แตกต่างกัน เพื่อติดตามค่าการตอบสนอง ได้แก่ ระยะเวลาหุงสุก (นาที) และร้อยละความสมบูรณ์ของเมล็ด จากนั้นหาสภาวะที่เหมาะสมด้วยวิธีโครงร่างพื้นผิวตอบสนอง (response surface methodology, RSM) จากการศึกษา พบว่า จำนวนพัลส์และความถี่มีผลต่อค่าการตอบสนองทั้ง 2 ค่ามากที่สุดอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05)โดยสภาวะที่เหมาะสมสำหรับกระบวนการผลิตข้าวหุงสุกเร็วประกอบด้วย จำนวนพัลส์ในช่วง 2,565 ถึง 5,079 พัลส์ ความเข้มสนามไฟฟ้าระหว่าง 6 ถึง 8 กิโลโวลต์ต่อเซนติเมตร และความถี่ในช่วง 4.4-15 เฮิรตซ์ ซึ่งกระบวนการดังกล่าว สามารถลดระยะเวลาหุงสุกได้ประมาณ 3.9-4.3 เท่า และสามารถคงความสมบูรณ์ของเมล็ดข้าวได้ ร้อยละ 66.33-96.67 ข้าวที่ได้มีค่าอัตราการดูดซับน้ำในช่วง 0.85-2.12 และร้อยละการสูญเสียน้ำหนักระหว่างการหุงสุกในช่วงร้อยละ 1.30-12.08 นอกจากนี้ จากการวิเคราะห์เนื้อสัมผัสของข้าว พบว่า ข้าวทั้ง 4 สายพันธุ์มีค่าความแข็งลดลงอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) อีกทั้งไม่พบความแตกต่างทางสถิติของปริมาณวิตามินบี 1 และวิตามินบี 3 ในตัวอย่างข้าวหุงสุกเร็วด้วยกระบวนการแช่แข็ง-ละลาย (วิธีเปรียบเทียบ) และเทคนิคสนามไฟฟ้าพัลส์ (p>0.05) นอกจากนี้ เทคนิคสนามไฟฟ้าพัลส์สามารถปรับปรุงความสามารถในการถูกย่อยของโปรตีนและคาร์โบไฮเดรตภายใต้สภาวะจำลองทางเดินอาหารได้ โดยมีแนวโน้มการเพิ่มของปริมาณแป้งย่อยเร็วมากขึ้น (rapid digestible starch) ในขณะที่แป้งย่อยช้า (slowly digestible starch, SDS) จะมีปริมาณลดลงอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) อีกทั้งข้าวหุงสุกเร็วด้วยเทคนิคสนามไฟฟ้าพัลส์ที่พัฒนาขึ้นมีแนวโน้มการยอมรับทางประสาทสัมผัสสูงกว่าข้าวหุงสุกเร็วที่ผ่านกระบวนการแช่แข็ง-ละลาย การศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นถึงประสิทธิภาพของเทคนิคสนามไฟฟ้าพัลส์นี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้เป็นแนวทางใหม่เพื่อพัฒนากระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์จากข้าว โดยผลิตภัณฑ์ข้าวที่ได้สามารถนำมาหุงสุกได้อย่างสะดวกสบายในระยะเวลาที่สั้นลง เนื้อสัมผัสมีลักษณะอ่อนนุ่ม เคี้ยวง่าย ซึ่งรูปแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้นั้นตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคกลุ่มวัยทำงานและผู้สูงอายุในยุคปัจจุบันได้en_US
Appears in Collections:AGRO: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
641331012สบัน ทองคง.pdf9.7 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.