Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78731
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สุภาพร ชินชัย | - |
dc.contributor.author | วรกนก ภาพพริ้ง | en_US |
dc.date.accessioned | 2023-08-29T01:03:49Z | - |
dc.date.available | 2023-08-29T01:03:49Z | - |
dc.date.issued | 2023-04 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78731 | - |
dc.description.abstract | Cerebral palsy is a physical disability that affects movement and posture, with a risk of complications and communication impairment. Severe communication impairment may require augmentative and alternative communication. Partner-Assisted Scanning (PAS) is a technique used with children who have severe motor and communication impairment. Many studies have shown that PAS is effective way to increase communication. However, there is limited research on this topic in Thailand. The purpose of this study was to develop a communication book for children with cerebral palsy and communication disorders by using the partner-assisted scanning method. Additionally, the study aimed to compare the pre-and post-test communication abilities of children and the satisfaction level of the communication partners using the communication book. The research design employed a one-group pretest-posttest design. The research tools included four instruments: 1) an assessment of the communication abilities of children with cerebral palsy by using the partner-assisted scanning method, 2) an evaluation form for the satisfaction of the communication partner assisting in the use of the communication book with the partner-assisted scanning method, 3) a manual for using the communication book for children with cerebral palsy and communication disorders by using the partner-assisted scanning method, and 4) a communication book for children with cerebral palsy and communication disorders by using the partner-assisted scanning method. The validity of all four tools together was 0.97. The experimental tool was used with three families with the highest overall satisfaction level (mean = 4.67, SD = 0.49). Then, the experimental tool was tested with a sample group of ten families for five weeks. The researcher followed up on the results for 30-45 minutes one day a week, and the statistical analysis used was the Wilcoxon Matched Pair Signed Rank test. The researcher found that the children with cerebral palsy and the partner-assisted scanning method communication abilities scores were significantly different (p < 0.05) [Median Difference (MD) = 13, 95% Confident Interval (CI) = 8.5-14.5]. The scores on all assessment items demonstrated a clear upward trend after using the communication book. The assessment item with the highest total score was assessment item 1, positive emotional communication, and the assessment item with the lowest score was assessment item 2, negative emotional communication. The satisfaction of the communication partners in using the communication book for children with cerebral palsy and communication disorders by using the partner-assisted scanning method was found to be the highest (mean = 4.57, SD = 0.52). | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | การพัฒนาสมุดสื่อสารสำหรับเด็กสมองพิการที่มีความบกพร่องทางด้านการสื่อสารด้วยวิธีการที่มีผู้ช่วยค้นหา | en_US |
dc.title.alternative | Development of communication book for children with cerebral palsy and communication disorders by using partner assisted scanning method | en_US |
dc.type | Thesis | |
thailis.controlvocab.thash | สมองพิการ | - |
thailis.controlvocab.thash | ผู้ป่วยสมองพิการ | - |
thailis.controlvocab.thash | การสื่อสาร | - |
thailis.controlvocab.thash | การพูด | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | สมองพิการ เป็นความผิดปกติทางด้านร่างกาย หรือการเคลื่อนไหว และการทรงตัว ซึ่งมีความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อน รวมถึงมีความบกพร่องทางด้านการพูดและการสื่อสาร ซึ่งหากมีความบกพร่องในระดับรุนแรงอาจต้องนำวิธิการสื่อสารเสริมและทางเลือกอื่นมาใช้เสริมและหรือทดแทนการพูด วิธีการที่มีผู้ช่วยค้นหาเป็นเทคนิคที่มีประสิทธิภาพเหมาะสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางด้านร่างกายและการสื่อสาร ซึ่งในปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีการศึกษาเทคนิควิธีการนี้ วัตถุประสงค์ของการศึกษาในครั้งนี้เพื่อพัฒนาสมุดสื่อสารในเด็กสมองพิการที่มีความบกพร่องทางด้านการสื่อสารด้วยวิธีการที่มีผู้ช่วยค้นหา รวมทั้งเปรียบเทียบคะแนนความสามารถในการสื่อสารเพื่อบอกความต้องการของเด็กสมองพิการก่อนและหลังการใช้สมุดสื่อสารด้วยวิธีการที่มีผู้ช่วยค้นหา และศึกษาระดับความพึงพอใจของผู้ช่วยค้นหาต่อการใช้สมุดสื่อสารด้วยวิธีการที่มีผู้ช่วยค้นหา โดยใช้แบบแผนการทดลองแบบ One Group Pretest – Posttest Design เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยจำนวน 4 เครื่องมือ ได้แก่ 1) แบบประเมินความสามารถในการสื่อสารของเด็กสมองพิการกับผู้ช่วยค้นหาผ่านการใช้สมุดสื่อสารด้วยวิธีการที่มีผู้ช่วยค้นหา 2) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้ช่วยค้นหาต่อการใช้สมุดสื่อสารด้วยวิธีการที่มีผู้ช่วยค้นหา 3) คู่มือการใช้สมุดสื่อสารสำหรับเด็กสมองพิการที่มีความบกพร่องทางด้านการสื่อสารด้วยวิธีการที่มีผู้ช่วยค้นหา 4) สมุดสื่อสารสำหรับเด็กสมองพิการที่มีความบกพร่องทางด้านการสื่อสารด้วยวิธีการที่มีผู้ช่วยค้นหามีค่าความตรงเชิงเนื้อหารวมทั้ง 4 เครื่องมือเท่ากับ 0.97 ทำการทดลองใช้เครื่องมือกับกลุ่มทดลองจำนวน 3 ครอบครัว พบว่ามีระดับความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.67, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.49) จากนั้นทำการทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 10 ครอบครัว เพื่อหาประสิทธิภาพ โดยใช้เวลาทั้งหมด 5 สัปดาห์ โดยผู้วิจัยนัดติดตามผลสัปดาห์ละ 1 วัน วันละ 30-45 นาที สถิติที่ใช้ คือ Wilcoxon Matched Pair Signed Rank test ผลการวิจัย พบว่า คะแนนความสามารถในการสื่อสารของเด็กสมองพิการกับผู้ช่วยค้นหา มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) [Median Difference (MD) = 13, 95% Confident Interval (CI) = 8.5-14.5] โดยผลคะแนนในทุกข้อประเมินมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนหลังใช้สมุดสื่อสาร ข้อประเมินที่ได้คะแนนรวมสูงที่สุดคือ ข้อประเมินที่ 1 สื่อสารอารมณ์ทางบวก และข้อประเมินที่ได้คะแนนน้อยที่สุดคือ ข้อประเมินที่ 2 สื่อสารอารมณ์ทางลบ สำหรับการประเมินความพึงพอใจของผู้ช่วยค้นหาต่อการใช้สมุดสื่อสารสำหรับเด็กสมองพิการที่มีความบกพร่องทางด้านการสื่อสารด้วยวิธีการที่มีผู้ช่วยค้นหาในด้านรูปแบบของสมุดสื่อสารในภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.57, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.52) | en_US |
Appears in Collections: | AMS: Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
621131007-วรกนก ภาพพริ้ง.pdf | 5.82 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.