Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79153
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | บุญชู ณ ป้อมเพ็ชร | - |
dc.contributor.author | สายเคน เพ็ชรธันตรา | en_US |
dc.date.accessioned | 2023-11-08T01:27:22Z | - |
dc.date.available | 2023-11-08T01:27:22Z | - |
dc.date.issued | 2566-08-17 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79153 | - |
dc.description.abstract | Vientiane Capital, Lao PDR, from 2015 to 2020, faced with an increasing solid waste problem severely and continuously. Such problems had greatly affected the people's livelihoods and the scenery of Vientiane Capital. The management of the waste problem in Vientiane Capital must be resolved urgently and the legal action should be taken seriously. The management of the municipal solid waste problem of Vientiane Capital had been implemented according to the National Environmental Management Plan and the Vientiane Capital City had adopted the law to the management of the solid waste problem. Each law aimed to enforce differently. Moreover, the authorized law enforcement agencies had not been in the same department, resulting in the lack of unity in managing the waste problem through the law. Including, the implemented law to the management of solid waste problems did not cover the entire system, and the enforced laws had not been amended to achieve the appropriateness of sustainable waste management. This study focused on studying the problems and legal restrictions those related to the management of solid waste in Vientiane Capital, also to focus on authorities and duties of agencies involved in solid waste management to propose guidelines in resolving problems leading to legal action on solid waste management of the Vientiane Capital to make them suitable and successful. The methods of this study were analyzing the content of the provisions, legal regulations, accordingto the National Environment Act B.E. 2556, Health Act B.E. 2562, ministerial regulations, orders, regulations related to waste management of Vientiane Capital, Lao PDR, then explained the situation of law enforcement descriptively. The results of the study revealed that; 1) Vientiane Capital lacked a law on infectious and hazardous waste management, which led to the waste management of Vientiane Capital being not systematic. This caused infectious and hazardous waste to be dumped and confined together with general waste. 2) Vientiane Capital had applied existing laws to manage waste management problems, seeing that the laws that had been enforced were inconsistent and affected the waste management system, for example: First, existing statutes did not address all solid waste problems. As a result, Vientiane Capital needed to issue provisions to deal with the problem of solid waste, but at the same time, the enforcement of statutory provisions and regulations in accordance with this existing Act had caused conflicts which led to the imposition of penalties and compensation on the waste problem which contradicted to each other. Second, the 2013 National Environment Act stipulates the waste problem too broad and did not clearly specify the penalties for the waste problem, causing the waste management authority to fall under the regulations of other acts. For example, the Health Act B.E. 2562, the Chemical Protection Act B.E. as of 25 September 2015, these laws had the authority to deal with the same waste problem, but the enforcement was different. Third, according to the Act on Local Administration B.E. 2558, the Act on the creation of Legal Acts B.E. 2555 and the National Environment Act B.E. 2556 empowered the central and local Natural Resources and Environment agencies to issue provisions, to manage the problem of solid waste in their territory with legal authority and to make agencies regarding waste management. There were conflicts both in terms of authority and law enforcement, although the National Environment Act had already specified the authority of the waste management agency, but the Natural Resources Agency and the public environment and Vientiane Capital had implemented the different waste management practices, with different agencies applying their own laws, which led to grievances and disregarding the responsibility for managing solid waste problems. Those resulted in inefficient solid waste management. In addition, government agencies lacked unity in law enforcement, including the issue of imposing penalties, fine was not equal and this made law enforcement hesitant to enforce the law. In some case, the violator had a single case but received punishment in many laws, people saw that the enforcement of the law was too heavy and lack of justice to the people who is severely punished. 3) In terms of budget, it was found that Vientiane Capital lacked management power because the central government allocates a budget and determined the cost of managing all solid waste problems for Vientiane Capital. But the capital was only an abide by the Act on Local Government and the Act allowed Vientiane Capital an authority to deal with the waste problem, but Vientiane Capital was able to use only a part of the budget. This resulted that the solid waste management system was not able to fully operate and did not go along with the city’s waste management plan. In the future, to be effective in the Vientiane Capital waste management, Vientiane City should have a law on the management of infectious and hazardous waste to make the household waste and hazardouswaste well-sorted and disposed properly. And Vientiane Capital Administration should review the existing laws to have them integrated into a single law. The law on household solid waste management must be clearly defined in order to lead to the law enforcement on a proper solid waste management. | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | นครหลวงเวียงจันทน์ | en_US |
dc.subject | การจัดการขยะมูลฝอย | en_US |
dc.subject | องค์กรปกครองท้องถิ่น | en_US |
dc.subject | Vientiane Capital | en_US |
dc.subject | solid waste management | en_US |
dc.title | ปัญหาและข้อจำกัดทางกฎหมายเกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอยที่นครหลวงเวียงจันทน์ สปป. ลาว | en_US |
dc.title.alternative | The Problems and legal restrictions related to solid waste management by Vientiane Capital City Lao P.D.R | en_US |
dc.type | Thesis | |
thailis.controlvocab.thash | ขยะ -- ลาว | - |
thailis.controlvocab.thash | การกำจัดขยะ -- ลาว | - |
thailis.controlvocab.thash | รถบรรทุกขยะ ขยะ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- ลาว | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | นครหลวงเวียงจันทน์ สปป. ลาว ในช่วง พ.ศ. 2558 ถึง พ.ศ. 2563 เผชิญกับปัญหาขยะมูลฝอย ที่เพิ่มขึ้นอย่างจำนวนมากและต่อเนื่อง ปัญหาดังกล่าวส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของชุมชนและภาพลักษณ์ของนครหลวงเวียงจันทน์อย่างมาก การจัดการปัญหาขยะมูลฝอยในนครหลวงเวียงจันทน์จำเป็นต้องมีการแก้ไขอย่างเร่งด่วนและการดำเนินการตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด การจัดการปัญหาขยะมูลฝอยของนครหลวงเวียงจันทน์ได้ดำเนินการตามแผนการจัดการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติและนำเอากฎหมายหลายฉบับมาปรับใช้เพื่อการจัดการปัญหาขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม กฎหมายแต่ละฉบับมีอำนาจการบังคับใช้ที่แตกต่างกัน นอกจากนี้ หน่วยงานที่ดำเนินการบังคับใช้กฎหมายแต่ละฉบับนั้นไม่ได้อยู่ในสังกัดเดียวกัน จึงทำให้การจัดการปัญหาขยะมูลฝอยด้วยวิธีการทางกฎหมายขาดความเป็นเอกภาพ อีกทั้ง กฎหมายที่บังคับใช้ในการจัดการปัญหาขยะมูลฝอยที่มีอยู่ไม่ครอบคลุมกับการจัดการขยะมูลฝอยอย่างครบถ้วนและขาดการปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้เกิดความเหมาะสมในการจัดการปัญหาขยะมูลฝอยอย่างยั่งยืน การศึกษาครั้งนี้ จึงมุ่งศึกษาถึงปัญหาและข้อจำกัดทางกฎหมายที่เกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอยของนครหลวงเวียงจันทน์ รวมถึงอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะมูลฝอย เพื่อเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาที่สอดคล้องกับกฎหมายอันนำไปสู่การปฏิบัติทางกฎหมายที่เหมาะสมในการจัดการขยะมูลฝอยของนครหลวงเวียงจันทน์ ผู้ศึกษาได้ศึกษาเนื้อหาบทบัญญัติของกฎหมาย เช่นพระราชบัญญัติสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2556 พระราชบัญญัติสุขภาพ พ.ศ. 2562 รวมทั้ง กฎกระทรวง คำสั่ง ระเบียบการที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะมูลฝอยของนครหลวงเวียงจันทน์ สปป. ลาว โดยการอภิปรายและวิเคราะห์ถึงการบังคับใช้ข้อกฎหมายดังกล่าว ผลการศึกษา พบว่า 1) การจัดการขยะมูลฝอยของนครหลวงเวียงจันทน์ที่ขาดประสิทธิภาพนั้น เกิดจากสาเหตุที่นครหลวงเวียงจันทน์ยังขาดกฎหมายเฉพาะในการจัดการปัญหาขยะมูลฝอยโดยเฉพาะกฎหมายว่าด้วยการจัดการขยะมูลฝอยติดเชื้อและอันตราย อันนำไปสู่การจัดการ ขยะมูลฝอยของนครหลวงเวียงจันทน์ไม่เป็นระบบ ทำให้ขยะมูลฝอยติดเชื้อและอันตรายถูกทิ้งและ ถูกจำกัดรวมกันกับขยะมูลฝอยทั่วไป 2) กฎหมายที่นครหลวงเวียงจันทน์ได้มีนำมาปรับใช้เพื่อการจัดการปัญหาขยะมูลฝอยนั้น เห็นว่า กฎหมายที่นำมาบังคับใช้เกิดความซ้ำซ้อนกันและกระทบต่อระบบการจัดการขยะมูลฝอยของนครหลวงเวียงจันทน์ ดังนี้ หนึ่ง กฎหมายที่มีอยู่ไม่สามารถจัดการกับปัญหาขยะมูลฝอยได้ทั้งระบบทำให้นครหลวงเวียงจันทน์มีความจำเป็นต้องตราข้อบัญญัติและกฎหมายเพื่อจัดการกับปัญหาขยะมูลฝอยเพิ่มมากขึ้น แต่การบังคับใช้ข้อบัญญัติและข้อบังคับกฎหมาย ทำให้เกิดความซ้ำซ้อนกันและนำไปสู่การกำหนดบทลงโทษและค่าปรับเกี่ยวกับขยะมูลฝอยไม่สอดคล้องกัน สอง พระราชบัญญัติสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2556 ได้บัญญัติถึงการจัดการขยะมูลฝอยโดยมีเนื้อหาที่กว้างขวาง และมิได้กำหนดบทลงโทษปัญหาขยะมูลฝอยไว้อย่างชัดเจน ทำให้อำนาจการจัดการปัญหาขยะมูลฝอยตกอยู่ภายใต้ข้อบังคับของพระราชบัญญัติฉบับอื่น ๆ ด้วย เช่นพระราชบัญญัติสุขภาพ พ.ศ. 2562 พระราชบัญญัติคุ้มครองเคมี พ.ศ. 2559 พระราชบัญญัติว่าด้วยการคุ้มครองทางหลวงและ คำสั่งขององค์การปกครองนครหลวงเวียงจันทน์ว่าด้วยแผนการและมาตรการจัดตั้งปฏิบัติโครงการเวียงจันทน์สะอาด ฉบับเลขที่ 03/อปค.นวลงวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2558 กฎหมายเหล่านี้ ล้วนมีอำนาจหน้าที่จัดการปัญหาขยะมูลฝอยเรื่องเดียวกันและมีอำนาจบังคับใช้ต่างกัน สาม ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการปกครองท้องถิ่น พ.ศ. 2558 พระราชบัญญัติว่าด้วยการสร้างนิติกรรมทางกฎหมาย พ.ศ. 2555 และพระราชบัญญัติสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2556 ให้อำนาจแก่หน่วยงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของส่วนกลางและท้องถิ่น สามารถออกบทบัญญัติเพื่อการจัดการปัญหาขยะมูลฝอยในอาณาเขตของตน ซึ่งกฎหมายให้อำนาจหน้าที่นี้ ทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะมูลฝอยเกิดความซ้ำซ้อนกันทั้งในทางเชิงอำนาจหน้าที่และการบังคับใช้ข้อกฎหมาย แม้ว่าพระราชบัญญัติสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2556 ได้กำหนดอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานจัดการขยะมูลฝอยและสิ่งแวดล้อมไว้แล้วก็ตาม แต่หน่วยงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของส่วนกลาง จังหวัดและนครหลวงเวียงจันทน์ได้ดำเนินการบังคับใช้ข้อกฎหมายในการจัดการ ขยะมูลฝอยแตกต่างกันโดยหน่วยงานต่าง ๆ ใช้ข้อกฎหมายที่ให้อำนาจกับหน่วยงานการกับปัญหาขยะมูลฝอยและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ อันนำไปสู่ความซ้ำซ้อน และการปฏิเสธความรับผิดชอบต่อการจัดการปัญหาขยะมูลฝอย ส่งผลให้การจัดการขยะมูลฝอยขาดประสิทธิภาพ อีกทั้ง หน่วยงานของรัฐขาดความเป็นเอกภาพในการบังคับใช้กฎหมาย รวมไปถึงประเด็นการกำหนดบทลงโทษและค่าปรับที่ไม่เท่ากัน ทำให้ผู้บังคับใช้กฎหมายเกิดความลังเลใจในการบังคับกฎหมาย และผู้กระทำความผิดที่ได้กระทำความผิดในกรณีเดียว แต่ได้รับบทลงโทษในกฎหมายหลายฉบับ จึงเห็นว่าการบังคับใช้กฎหมายต่อผู้กระทำความผิดหลายครั้งทำให้ขาดความเป็นธรรมต่อผู้ที่ถูกลงโทษเป็นอย่างยิ่ง 3) ด้านงบประมาณ พบว่า นครหลวงเวียงจันทน์ขาดอำนาจในการบริหารจัดการด้านงบประมาณในการจัดการขยะมูลฝอย เนื่องจากส่วนกลางได้จัดสรรงบประมาณและกำหนดค่าใช้จ่ายในการจัดการปัญหาขยะมูลฝอยให้แก่นครหลวงเวียงจันทน์ทั้งหมด โดยนครหลวงเวียงจันทน์เป็นเพียงผู้ปฏิบัติตามเท่านั้น ดังนั้น แม้ว่า พระราชบัญญัติว่าด้วยการปกครองท้องถิ่น พ.ศ. 2558 และพระราชบัญญัติว่าด้วยการสร้างนิติกรรมทางกฎหมาย พ.ศ. 2555 ได้ให้อำนาจหน้าที่จัดการปัญหา ขยะมูลฝอยแก่นครหลวงเวียงจันทน์ แต่ในแง่ของข้อจำกัดด้านงบประมาณ นครหลวงเวียงจันทน์สามารถบังคับใช้กฎหมายได้เพียงบางส่วนเท่านั้นทำให้ระบบการจัดการขยะมูลฝอยดำเนินการได้ไม่เต็มที่และแผนการจัดการขยะมูลฝอยของนครหลวงเวียงจันทน์ไม่ได้รับการปฏิบัติตามแผนการที่ตั้งไว้ อีกทั้ง ส่วนกลางกระจายอำนาจในการจัดการขยะมูลฝอยให้แก่นครหลวงเวียงจันทน์มีเพียงแผนการ แต่อำนาจในการจัดการขยะมูลฝอยและงบประมาณของนครหลวงเวียงจันทน์อยู่ภายใต้การควบคุมจากส่วนกลางทั้งหมด ในอนาคต เพื่อให้การจัดการขยะมูลฝอยของนครหลวงเวียงจันทน์มีประสิทธิภาพที่ดี นครหลวงเวียงจันทน์ควรมีกฎหมายว่าด้วยการจัดการขยะมูลฝอยติดเชื้อและอันตราย เพื่อทำให้ขยะมูลฝอยครัวเรือน และขยะมูลฝอยอันตรายสามารถคัดแยกและถูกกำจัดอย่างถูกต้องตามหลักการ ที่เหมาะสม อีกทั้ง ผู้บริหารนครหลวงเวียงจันทน์ควรทบทวนข้อกฎหมายที่มีอยู่ให้เกิดการบูรณาการจนกลายเป็นกฎหมายฉบับเดียว และข้อกฎหมายเกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอยครัวเรือนต้องกำหนดอย่างชัดเจนเพื่อที่จะนำไปสู่การบังคับใช้ในการจัดการขยะมูลฝอยอย่างเหมาะสม | en_US |
Appears in Collections: | LAW: Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
สายเคน เพ็ชรธันตรา642032020.pdf | 3.19 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.