Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79224
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศิวพร อึ้งวัฒนา-
dc.contributor.advisorเดชา ทำดี-
dc.contributor.authorเจนฐิฏสิริ ตระกูลทาเสนาะen_US
dc.date.accessioned2023-12-02T03:35:12Z-
dc.date.available2023-12-02T03:35:12Z-
dc.date.issued2566-07-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79224-
dc.description.abstractOpisthorchiasis is a major contributor to the development of cholangiocarcinoma. Despite long-term efforts to control opisthorchiasis, the incidence of the disease continues to persist continuously. Therefore, it is crucial for at-risk populations in the community to adopt preventive behaviors against opisthorchiasis. This quasi-experimental research aimed to compare the preventive behaviors for opisthorchiasis among at-risk populations in a community, before and after receiving a participatory learning program. The study also aimed to compare the preventive behaviors between the group that received the program and the group that received regular services over an 8-week period. The sample consisted of 54 individuals from at-risk populations in the community, divided into an experimental group and a control group of 27 individuals each. The study was conducted in Ban Haed district, Khon Kaen province from March to April 2023. The research tools included: 1) a participatory learning program developed by the researcher based on the Participatory Learning (PL) approach by Kolb (1984); 2) an opisthorchiasis preventive behavior manual; 3) presentation slides; and 4) a video. Data collection tools included a general information questionnaire and a questionnaire on opisthorchiasis preventive behaviors. The content validity index (S-CVI) of the tools was 0.99, and reliability using Cronbach's alpha coefficient, with a value of 0.87. Data analysis was performed using descriptive statistics and comparative statistics. The results showed that the experimental group, who received the participatory learning program for 8 weeks, had a mean score of 87.66 (S.D.=3.05) for opisthorchiasis preventive behaviors, which was significantly higher than the pre-program score of 71.08 (S.D.=4.13; p<.001). The experimental group also had a significantly higher score compared to the control group, which received regular services, with a mean score of 69.56 (S.D.=2.99; p<.001). This study demonstrates that the participatory learning program can effectively promote opisthorchiasis preventive behaviors among at-risk populations in a community, reducing the incidence of opisthorchiasis.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectParticipatory learning programen_US
dc.subjectOpisthorchiasis preventive behaviorsen_US
dc.subjectAt-risk populations in communityen_US
dc.subjectOpisthorchiasisen_US
dc.subjectbehaviorsen_US
dc.subjectโปรแกรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมen_US
dc.subjectพฤติกรรมการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับen_US
dc.subjectประชากรกลุ่มเสี่ยงในชุมชนen_US
dc.subjectพฤติกรรมen_US
dc.subjectโรคพยาธิใบไม้ตับen_US
dc.titleผลของโปรแกรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับของประชากรกลุ่มเสี่ยงในชุมชนen_US
dc.title.alternativeEffect of the participatory learning program on opisthorchiasis preventive behaviors of at-risk populations in communityen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashโรคพยาธิใบไม้ในตับ -- การป้องกัน-
thailis.controlvocab.thashโรคพยาธิใบไม้ในตับ-
thailis.controlvocab.thashพยาธิใบไม้-
thailis.controlvocab.thashโรคหนอนพยาธิ-
thailis.controlvocab.thashเวชศาสตร์ป้องกัน-
thailis.controlvocab.thashการประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพ-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractโรคพยาธิใบไม้ตับเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดมะเร็งท่อน้ำดี แม้จะมีการดำเนินการควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับเป็นระยะเวลานานแต่ยังคงพบอัตราความชุกของโรคพยาธิใบไม้ตับอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นการที่ประชากรกลุ่มเสี่ยงในชุมชนมีพฤติกรรมการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับของประชากรกลุ่มเสี่ยงในชุมชนก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม และเปรียบเทียบพฤติกรรมการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับของประชากรกลุ่มเสี่ยงในชุมชนระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมฯ และกลุ่มที่ได้รับบริการตามปกติ เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนกลุ่มเสี่ยงในชุมชน จำนวน 54 ราย โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 27 ราย และกลุ่มควบคุม 27 ราย ศึกษาในพื้นที่อำเภอบ้านแฮด จังหวัดขอนแก่น ระหว่างเดือนมีนาคม ถึงเมษายน พ.ศ. 2566 เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย 1) โปรแกรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้นจากแนวคิดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (Participatory learning: PL) ของโคล์บ (Kolb, 1984) 2) คู่มือพฤติกรรมการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับ 3) สื่อนำเสนอสไลด์บรรยาย 4) วีดิทัศน์ เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป และแบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับ ได้ดัชนีความตรงของเนื้อหาทั้งฉบับ (S-CVI) 0.99 และหาค่าความเชื่อมั่น (reliability) คำนวณสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.87 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรรณา และสถิติเปรียบเทียบ ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ มีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับ 87.66 (S.D.=3.05) สูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม 71.08 (S.D.=4.13) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) และสูงกว่ากลุ่มควบคุมที่ได้รับการบริการตามปกติ 69.56 (S.D.=2.99) อย่างมีนัยสำคัญสำคัญทางสถิติ (p<.001) จากการศึกษาครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่า โปรแกรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมสามารถนำมาใช้ในการส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับของประชากรกลุ่มเสี่ยงในชุมชน เพื่อลดอัตราความชุกของโรคพยาธิใบไม้ตับได้อย่างมีประสิทธิภาพen_US
Appears in Collections:NURSE: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
631231001 เจนฐิฎสิริ ตระกูลทาเสนาะ WM.pdf631231001 เจนฐิฎสิริ ตระกูลทาเสนาะ1.18 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.