Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79264
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศันสนีย์ จำจด-
dc.contributor.advisorชนากานต์ เทโบลต์ พรมอุทัย-
dc.contributor.advisorต่อนภา ผุสดี-
dc.contributor.authorพีรดนย์ สุริยะธงen_US
dc.date.accessioned2023-12-06T10:19:35Z-
dc.date.available2023-12-06T10:19:35Z-
dc.date.issued2023-09-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79264-
dc.description.abstractPi-ei-zu 1 (PEZ1) is a local rice variety with a black pericarp contains high anthocyanin, which can protect against cancer cells. The genetic resources and plant nutrition group at the Division of Agronomy, Faculty of Agriculture, Chiang Mai University, collected and evaluated Pi-i-su 1 from local rice varieties in northern Thailand. It had photoperiod sensitivity and low yield, which is why it should be developed by crossing Pathum Thani 1 (PTT1) the high yielding, non-photoperiod sensitivity variety. The objective of this study was to select an advanced line for insensitivity to photoperiod, high yields and high anthocyanin content. This research was a continuation of prior efforts. Initially, seeds from the F3 generation of 41 lines were assessed. It was found that PEZ1 had anthocyanin concentrations of 10.2 mg/100 g. No anthocyanin was detected in PTT1. All F3 families were found to possess a black pericarp. Out of 41 families, 21 families showed higher anthocyanin concentrations than PEZ1 parent, ranging between 13.3-53.6 mg/100g. Moreover, antioxidant concentrations were identified between 202.5-558.3 mg/100 g. A positive correlation between anthocyanin concentrations and antioxidant quantities was observed, with an r value of 0.695 F4 population was evaluated in the dry season in pot experiment. All lines had black seed pericarp. Flowering was observed to range between 91-132 days, similar range to PTT1 at 115-120 days. Features like green leaf blades, green leaf sheaths, and the rice type resembling PTT1 were observed. From this evaluation, 15 lines were selected based on the relationship between anthocyanin concentrations in F3 generation and the seed weight per plant of the F4 generation. Anthocyanin concentrations and grain yield of the selected lines were ranging from 32.6-53.6 mg/100 g and 3.6-9.0 g/plant, respectively. which was greater than the PEZ1 check variety. They were chosen to represent the F5 generation population. F5 generation was evaluated in field experiment. The 15 selected lines were flowering at 96-106 days, within the range of PTT1 parent at 101 days. Grain yield was harvested individually. Grain yield of PEZ1 and PTT1 were 11.5 and 41 g/plant, respectively and those of the F5 plants were within the range of parents, between 11.3-25.4 g/plant. Grain from each plant within lines were sampling equally and bulked. The bulked samples were analyzed for anthocyanin concentrations compared to PEZ1 parent. Anthocyanin concentration of PEZ1 was 33.2 mg/100 g and the concentration of F5 lines were between 17.3-70.7 mg/100 g Three lines with highest anthocyanin concentration were selected and subjected to individual plant selection. Grain from each plant within three selected lines were analyzed for individual anthocyanin concentration. Seven plants with high anthocyanin and high grain yield were selected. They were represented F6 lines possessing photoperiod insensitive, high anthocyanin, high grain yield which could be sown suitability for year-round cultivation, and high yields. These were deemed potentially valuable for farmers and as a genetic base for future rice variety improvements.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectSelectionen_US
dc.subjectAnthocyaninen_US
dc.subjectPhotoperiod insensitivityen_US
dc.titleการคัดเลือกสายพันธุ์ก้าวหน้าเพื่อลักษณะแอนโทไซยานินในเมล็ดสูงและไม่ไวต่อช่วงแสงในลูกผสมชั่วที่ 4 และชั่วที่ 5 ระหว่างพันธุ์ปิอิ๊ซู 1 และพันธุ์ปทุมธานี 1en_US
dc.title.alternativeSelection of advanced lines for high grain anthocyanin content and photoperiod insensitivity in F4 and F5 Generations Between Pi-i-su 1 and Pathum Thani 1 Rice Varietiesen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashพืชไร่-
thailis.controlvocab.thashข้าว -- พันธุ์พื้นเมือง-
thailis.controlvocab.thashแอนโทไซยานินส์-
thailis.controlvocab.thashข้าว -- การปรับปรุงพันธุ์-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractข้าวพันธุ์ปิอิ๊ซู 1 เป็นข้าวพื้นเมืองคุณภาพพิเศษที่มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีดำ ซึ่งมีปริมาณแอนโทไซยานินสูง มีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ มีส่วนช่วยป้องกันและยับยั้งการเกิดเซลล์มะเร็งในร่างกาย ข้าวพันธุ์ปิอิ๊ซู 1 รวบรวม ประเมิน และคัดเลือกจากข้าวพื้นเมืองทางภาคเหนือของประเทศไทย โดยกลุ่มวิจัยทรัพยากรพันธุกรรมและธาตุอาหาร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นข้าวที่มีลักษณะไวต่อช่วงแสงและให้ผลผลิตต่ำ เนื่องจากสามารถปลูกได้ปีละครั้ง เพื่อปรับปรุงลักษณะเหล่านี้จึงนำมาผสมพันธุ์กับข้าวพันธุ์สมัยใหม่ปทุมธานี 1 ที่มีลักษณะไม่ไวต่อช่วงแสงและให้ผลผลิตสูง สามารถปลูกได้มากกว่าหนึ่งครั้งในหนึ่งปี ดังนั้นกลุ่มวิจัยทรัพยากรพันธุกรรมและธาตุอาหาร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จึงได้สร้างลูกผสมระหว่างข้าวพันธุ์ปิอิ๊ซู 1 และพันธุ์ปทุมธานี 1 ปลูกคัดเลือกในแต่ละชั่วเพื่อให้ได้สายพันธุ์ก้าวหน้า โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้ต้นที่มีลักษณะไม่ไวต่อช่วงแสง ให้ผลผลิตสูง และมีปริมาณแอนโทไซยานินในเมล็ดสูง งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยต่อเนื่อง โดยเริ่มจากการประเมินเมล็ดของลูกผสมจากประชากรชั่วที่ 3 จำนวน 41 families พบว่าพันธุ์แม่ปิอิ๊ซู 1 มีค่าปริมาณแอนโทไซยานินเฉลี่ย 10.2 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม ไม่พบแอนโทไซยานินในพันธุ์พ่อปทุมธานี 1 ลูกผสมทั้งหมดมีเยื่อหุ้มเมล็ดสีดำและพบลูกผสมจำนวน 21 สายพันธุ์ มีปริมาณแอนโทไซยานินมากกว่าพันธุ์แม่ปิอิ๊ซู 1 มีค่าระหว่าง 13.3-53.6 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม และมีค่าปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระระหว่าง 202.5-558.3 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม พบความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณแอนโทไซยานินและปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระ r มีค่าเท่ากับ 0.695 (p=0.05) ปลูกประเมินประชากรชั่วที่ 4 ในฤดูนาปรัง ในกระถางทดลองสภาพนาสวน พบว่าลูกผสมทุกสายพันธุ์มีเยื่อหุ้มเมล็ดเมล็ดสีดำ มีอายุออกดอกระหว่าง 91-132 วัน โดยพันธุ์พ่อมีอายุออกดอก 115-120 วัน และมีลักษณะแผ่นใบเขียว กาบใบสีเขียว และเป็นข้าวเจ้าเหมือนพันธุ์พ่อ สามารถคัดเลือกลูกผสมได้จำนวน 15 สายพันธุ์ โดยคัดเลือกจากความสัมพันธ์ของปริมาณแอนโทไซยานินในเมล็ดชั่วที่ 3 และผลผลิตน้ำหนักเมล็ดต่อต้นของประชากรชั่วที่ 4 ที่ปลูกในฤดูนาปรัง ที่มีค่าปริมาณแอนโทไซยานินในประชากรชั่วที่ 3 มากกว่าพันธุ์แม่ มีค่า 32.6-53.6 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม มากกว่าพันธุ์แม่ที่มีค่า 10.2 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม และมีค่าผลผลิตน้ำหนักเมล็ดต่อต้นมากกว่าพันธุ์แม่ มีน้ำหนักเมล็ดต่อต้นระหว่าง 3.6-9.0 กรัม นำไปปลูกเป็นตัวแทนในประชากรชั่วที่ 5 ประชากรชั่วที่ 5 ปลูกประเมินในสภาพแปลงนาทดลอง เก็บเกี่ยวผลผลิตแบบแยกต้น พบว่าลูกผสมจำนวน 15 สายพันธุ์ มีอายุออกดอกระหว่าง 96-106 วัน อยู่ในช่วงพันธุ์พ่อปทุมธานี 1 มีค่าเฉลี่ย 101 วัน ผลผลิตน้ำหนักเมล็ดต่อต้นลูกผสมมีค่าระหว่าง 11.3-25.4 กรัม กระจายตัวระหว่างพันธุ์แม่และพันธุ์พ่อ ซึ่งพันธุ์แม่และพันธุ์พ่อมีค่าเท่ากับ 11.5 กรัม และ 41.0 กรัม ตามลำดับ จากการวิเคราะห์ปริมาณแอนโทไซยานินแบบรวมทุกต้นภายในสายพันธุ์พบว่า ปริมาณแอนโทไซยานิน ของแต่ละสายพันธุ์มีค่าระหว่าง 38.23-67.06 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 45.93 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม มากกว่าพันธุ์แม่ที่มีค่าเท่ากับ 33.2 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม และไม่พบปริมาณแอนโทไซยานินในพันธุ์พ่อปทุมธานี 1 ดังนั้นจึงคัดเลือก 3 สายพันธุ์ที่มีปริมาณแอนโทไซยานินมากที่สุดไปคัดเลือกแบบรายต้นต่อไป พบว่ามีลูกผสมมีปริมาณแอนโทไซยานินกระจายตัวระหว่าง 17.3-70.7 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม จึงได้คัดเลือกลูกผสมโดยใช้น้ำหนักเมล็ดในการคัดเลือกร่วม สามารถคัดเลือกลูกผสมได้ 7 ต้น ที่มีปริมาณแอนโทไซยานินสูง ไม่ไวต่อช่วงแสงสามารถปลูกได้ตลอดปี และให้ผลผลิตสูง ซึ่งสามารถเพิ่มมูลค่าข้าวให้เกษตรกรและใช้เป็นฐานพันธุกรรมในการปรับปรุงพันธุ์ข้าวในอนาคตต่อไปen_US
Appears in Collections:AGRI: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
620831004-พีรดนย์ สุริยะธง.pdf727.12 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.