Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79531
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนิยตา กาวีวงศ์-
dc.contributor.authorจิตลดา เจริญขึ้นen_US
dc.date.accessioned2024-06-19T10:22:08Z-
dc.date.available2024-06-19T10:22:08Z-
dc.date.issued2024-03-14-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79531-
dc.description.abstractThe Purpose of this study was to explore the expectations and satisfaction levels of Thai tourists who visited Nan Province. A questionnaire was employed to gather data from 400 Thai tourists who traveled to Nan Province, focusing on six keys components of tourism (6 A’s): (1) accessibility, (2) attractions, (3) amenities, (4) ancillary service, (5) accommodations, and (6) activities. The collected data were analyzed using descriptive statistics, including frequency, percentage, mean, and standard deviation. In addition, a comparative analysis of tourists' expectations and satisfaction levels was conducted using the Importance Performance Analysis (IPA) technique. The Study revealed that the respondents to the questionnaire were Thai tourists who were visiting Nan Province. The majority of them were female, aged between 36 and 45 years, held bachelor's degrees, and worked as employees in private companies, with a monthly income of 20,001 – 30,000 baht. These tourists primarily resided in the northern region of Thailand. Their typical travel expenses to Nan Province ranged from 5,001 to 10,000 baht per trip. Most of them were visiting Nan Province for the first time and were accompanied by relatives/family members, with group sizes typically ranging from 3 to 5 people. The preferred mode of transportation to Nan Province was by plane. The main objective for visiting Nan Province was for travel/relaxation during holidays. The typical duration of their stay was 1 – 2 nights, and the majority obtained travel news/information through the internet and social media platforms. Overall, Thai tourists' expectations were at a moderate level for the following components of tourism: accessibility, accommodations, ancillary service, amenities, and activities, respectively. Meanwhile, their expectations regarding attractions were at a high level. Furthermore, Thai tourists' satisfaction was at a high level for the following components of tourism: activities, attractions, accommodations, ancillary service, amenities, and accessibility, respectively. The Comparative analysis of tourists' expectations and satisfaction, using the Importance Performance Analysis (IPA) technique, revealed sub-factors falling into Quadrant A (Concentrate Here) representing aspects where tourists had high expectations but received unsatisfactory service. The tourists considered these sub-factors as essential, but their needs were not adequately met. Hence, urgent improvement is required for these seven sub-factors: the clarity of signposts to tourist attractions along routes; the diversity of popular tourist spots such as Khuang Muang Nan Walking Street, coffee shops/cafes, rafting areas, camping sites, and natural attractions; the representation of local cultures and ways of life; the adequacy, cleanliness, and safety of public restrooms, with separated sections for men, women, and people with disabilities; the rental services for cars, motorcycles, bicycles, and so on; the availability of a tourist service center to assist visitors; and the reasonable prices of accommodations.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยต่อการท่องเที่ยวในจังหวัดน่านen_US
dc.title.alternativeThai tourist satisfaction towards tourism in Nan provinceen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.controlvocab.thashพฤติกรรมผู้บริโภค-
thailis.controlvocab.thashน่าน -- ภูมิประเทศและการท่องเที่ยว-
thailis.controlvocab.thashความพอใจของผู้ใช้บริการ-
thailis.controlvocab.thashนักท่องเที่ยว-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคาดหวังและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เข้ามาท่องเที่ยวในจังหวัดน่าน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวจังหวัดน่าน จำนวน 400 คน ตามองค์ประกอบการท่องเที่ยว 6 A’s ได้แก่ (1) ด้านความสามารถในการเข้าถึง (2) ด้านสิ่งดึงดูดใจและแหล่งท่องเที่ยว (3) ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก (4) ด้านการให้บริการของแหล่งท่องเที่ยว (5) ด้านที่พัก และ (6) ด้านกิจกรรม ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทำการวิเคราะห์เปรียบเทียบความคาดหวังและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวด้วยเทคนิค Importance Performance Analysis: IPA จากการศึกษาพบว่า ผู้ตอบตอบแบบสอบถามเป็นนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวจังหวัดน่าน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีช่วงอายุ 36 – 45 ปี ระดับการศึกษาปริญญาตรี มีอาชีพเป็นพนักงานบริษัทเอกชน รายได้ต่อเดือนอยู่ในช่วง 20,001 – 30,000 บาท ถิ่นที่พักอาศัยปัจจุบันของนักท่องเที่ยวอยู่ภาคเหนือ ส่วนใหญ่มีค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาท่องเที่ยวในจังหวัดน่านต่อครั้ง อยู่ที่ 5,001 – 10,000 บาท ส่วนใหญ่เดินทางมาท่องเที่ยวจังหวัดน่าน ครั้งแรก มีผู้ร่วมเดินทางเป็นญาติ/ครอบครัว จำนวนสมาชิกร่วมเดินทางมาท่องเที่ยว 3 – 5 คน ใช้วิธีการเดินทางมาท่องเที่ยวจังหวัดน่านโดยเครื่องบิน มีลักษณะ/วัตถุประสงค์การเดินทางมาท่องเที่ยวจังหวัดน่าน เพื่อการมาท่องเที่ยว/พักผ่อนช่วงวันหยุด ระยะเวลาในการพักแรม 1 – 2 คืน และส่วนใหญ่รับรู้ข่าวสาร/ข้อมูลเกี่ยวกับการเดินทางท่องเที่ยวโดยอินเตอร์เน็ต โซเชียลมีเดีย ความคาดหวังของนักท่องเที่ยวชาวไทยต่อองค์ประกอบการท่องเที่ยวในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ ด้านความสามารถในการเข้าถึง ด้านที่พัก ด้านการให้บริการของแหล่งท่องเที่ยว ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ด้านกิจกรรม ตามลำดับ และในส่วนของ ด้านสิ่งดึงดูดใจและแหล่งท่องเที่ยว มีความคาดหวังโดยรวมอยู่ในระดับ มาก ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยต่อองค์ประกอบการท่องเที่ยวในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านกิจกรรม ด้านสิ่งดึงดูดใจและแหล่งท่องเที่ยว ด้านที่พัก ด้านการให้บริการของแหล่งท่องเที่ยว ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก และด้านความสามารถในการเข้าถึง ตามลำดับ การวิเคราะห์เปรียบเทียบความคาดหวังและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวด้วยเทคนิค Importance Performance Analysis: IPA ผลการวิเคราะห์พบว่า ปัจจัยย่อยที่ตกอยู่ใน Quadrant A (Concentrate Here) ซึ่งเป็นปัจจัยที่นักท่องเที่ยวมีความคาดหวังสูง แต่ได้การบริการที่ไม่พึงพอใจ คุณลักษณะที่มีความสำคัญต่อนักท่องเที่ยว แต่ไม่ได้รับการตอบสนองอย่างเพียงพอ ผู้ให้บริการจำเป็นต้องให้ความสนใจและควรปรับปรุงแก้ไขอย่างเร่งด่วน ประกอบด้วย 7 ปัจจัยย่อย ได้แก่ มีความชัดเจนของป้ายบอกทางไปยังสถานที่ท่องเที่ยวตลอดเส้นทาง ความหลากหลายของสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยม เช่น ถนนคนเดินข่วงเมืองน่าน ร้านกาแฟ/คาเฟ่ ล่องแพ จุดกางเต็นท์ชมวิว แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติต่าง ๆ เป็นต้น วัฒนธรรม วิถีชีวิตสะท้อนความเป็นอยู่ของผู้คนพื้นถิ่น ห้องน้ำสาธารณะมีเพียงพอต่อปริมาณนักท่องเที่ยว สะอาด ไม่มีกลิ่นเหม็นปลอดภัย แยกชาย-หญิง และสำหรับคนพิการ การให้บริการเช่ายานพาหนะรถยนต์ รถจักยานยนต์ จักรยาน ฯลฯ การจัดให้มีศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ช่วยเหลือนักท่องเที่ยว ราคาที่พักมีความเหมาะสม เป็นต้นen_US
Appears in Collections:BA: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
621532080-จิตลดา_เจริญขึ้น.pdf1.34 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.