Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79965
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | น้ำผึ้ง อินทะเนตร | - |
dc.contributor.author | นิศา ธงสิบสอง | en_US |
dc.date.accessioned | 2024-08-11T08:33:44Z | - |
dc.date.available | 2024-08-11T08:33:44Z | - |
dc.date.issued | 2024-05 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79965 | - |
dc.description.abstract | The objectives of this research are 1) to investigate the grammatical errors in English language skills among grade 12 students, and 2) to construct a diagnostic test for identifying grammatical error in English language skills among grade 12 students. The sample used in the research consists of 982 grade 12 students from various educational institutions, including Basic education schools, Vocational education offices, and other affiliated institutions. The sample was selected using a Multi-Stage Random sampling method, divided into three groups including group 1, 420 individuals, is used to investigate the error and collect incorrect answers to use them as distractor in diagnostic test. Group 2 consisting of 187 individuals, is used for research to assess quality, select, and improve the test items. Group 3 with 375 individuals, is used for reliability and cut-off score. The research tools include: 1) a survey test in the form of completing item and multiple choices for identify the grammatical errors from the response of students, assessing question content alignment and English language grammar based on CEFR standards, with an Item Objective Concordance (IOC) value ranging from 0.6 to 1; and 2) an English language grammatical diagnostic test in the form of multiple choices test with four choices, comprising 65 multiple-choice questions, with statistical analysis including difficulty, discrimination index B, reliability using Lovett’s Method, and cut-off scores for diagnostic purposes following Glass' method. The findings were; 1. Grammar errors in English language skills identified in each behavior indicated by the survey test among grade 12 students revealed a total of 19 errors across 15 indicative behaviors. It was found that students exhibited the highest deficiency in misunderstanding Grammatical Functions of words in English, founded in 13 indicative behaviors. Following this, the next most prevalent error was in misunderstanding the rule of Subject and Verb Agreement in English, founded in 7 indicative behaviors. 2. The results of constructing a diagnostic test for grammatical errors in English language skills for grade 12 students were derived from synthesizing the content of the diagnostic test surveying grammatical deficiencies in English language skills based on The Common European Framework of Reference for Languages (CEFR). The diagnostic test comprised fill-in-the-blank and multiple-choice questions, along with gathering incorrect responses from the surveying test, which were incorporated as distractors in the diagnostic test. Subsequently, experts assessed the alignment between deficiencies and incorrect responses from the surveying test. All questions and distractors were compiled to create a diagnostic test for English language grammar, in the form of multiple-choice questions with 4 options each. There were three subtests: subtest 1 - Syntax rule, with 21 questions; subtest 2 - Predicted verb, with 30 questions; and subtest 3 - Sentence construction, with 14 questions. The content validity index of the diagnostic test ranged from 0.6 to 1.00. The quality assessment results of the entire test showed an average difficulty index ( p ̅ ) of 0.92, an average discrimination index ( B ̅ ) of 0.49, a reliability coefficient (rcc) of 0.96, a standard measurement error (SEmeas) of ± 3.21, and diagnostic cut-off score for each subtest were 10, 12 and 6 respectively. The overall diagnostic test cut-off score was 29 points. The concurrent validity for each subtest were 0.91, 0.94 and 0.95. perspectively. The overall concurrent validity was 0.95 | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | การสร้างแบบทดสอบวินิจฉัยด้านไวยากรณ์วิชาภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 | en_US |
dc.title.alternative | Construction of the English language grammar diagnostic test for grade 12 students | en_US |
dc.type | Thesis | |
thailis.controlvocab.thash | ภาษาอังกฤษ -- ไวยากรณ์ | - |
thailis.controlvocab.thash | ภาษาอังกฤษ -- แบบทดสอบ | - |
thailis.controlvocab.thash | ภาษาอังกฤษ -- การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา) | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความบกพร่องด้านไวยากรณ์วิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และ 2) เพื่อสร้างแบบทดสอบวินิจฉัยความบกพร่องด้านไวยากรณ์วิชาภาอังกฤษ สำหรับนักเรียนระดับชั้นชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 982 คน จากสถานศึกษาสังกัดสำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน สถานศึกษาสังกัดสำนักงานการอาชีวศึกษา และ สถานศึกษาสังกัดอื่น ๆ โดยกลุ่มตัวอย่างได้อย่างจากสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Random Sampling) แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้ ตัวอย่างกลุ่มที่ 1 ตัวอย่างที่ใช้ในการทดสอบเพื่อสำรวจความบกพร่องและรวบรวมคำตอบผิด จำนวน 420 คน ตัวอย่างกลุ่มที่ 2 ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเพื่อทดลองแบบทดสอบวินิจฉัย การหาคุณภาพ คัดเลือกข้อสอบและปรับปรุงข้อสอบ จำนวน 187 คน ตัวอย่างกลุ่มที่ 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในเพื่อหาความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ และคะแนนจุดตัดในการวินิจฉัย จำนวน 375 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แบบสำรวจความบกพร่องด้านไวยากรณ์วิชาภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 1 ฉบับ เป็นแบบทดสอบชนิดเติมคำและเลือกตอบ จำนวน 87 ข้อ ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาข้อคำถามและไวยากรณ์วิชาภาษาอังกฤษตามกรอบมาตราฐาน CEFR โดยการหาค่า IOC มีค่าตั้งแต่ 0.6 – 1 และ 2) แบบทดสอบวินิจฉัยด้านไวยากรณ์วิชาภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 65 ข้อ เป็นแบบทดสอบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก สถิติที่ใช้ในการหาคุณภาพแบบทดสอบ ได้แก่ ค่าความยากง่าย การหาค่าอำนาจจำแนก ดัชนีบี (Discrimination Index B) ค่าความเชื่อมั่นจากแบบทดสอบอิงเกณฑ์ โดยใช้สูตรของโลเวทท์ (Lovett’s Method) และ การหาคะแนนจุดตัดเพื่อใช้ในการวินิจฉัยในตามวิธีของแกลสส์ (Glass) ผลการวิจัยพบว่า 1. ความบกพร่องด้านไวยากรณ์วิชาภาษาอังกฤษในแต่ละพฤติกรรมบ่งชี้จากแบบทดสอบสำรวจความบกพร่องด้านไวยากรณ์วิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 พบว่าความบกพร่องที่พบมีทั้งหมด 19 ด้าน จาก 15 พฤติกรรมบ่งชี้ โดยรวบรวมความบกพร่องในแต่ละพฤติกรรมบ่งชี้ พบว่า นักเรียนมีความบกพร่องเรื่องการไม่เข้าใจเรื่อง Grammatical Function ของคำในภาษาอังกฤษมากที่สุด พบความบกพร่องนี้ใน 13 พฤติกรรมบ่งชี้ ลำดับต่อมา คือ การไม่รู้กฎ Subject and Verb Agreement ในภาษาอังกฤษ พบความบกพร่องนี้ใน 7 พฤติกรรมบ่งชี้ 2. ผลการสร้างแบบทดสอบวินิจฉัยด้านไวยากรณ์วิชาภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ได้มาจากการนำแบบทดสอบสำรวจด้านไวยากรณ์วิชาภาษาอังกฤษที่สังเคราะห์เนื้อหาไวยากรณ์จากกรอบมาตราฐาน The Common European Framework of Reference for Languages (CEFR) โดยเป็นแบบทดสอบแบบเติมคำและเลือกตอบ และรวบรวมคำตอบผิดที่ได้จากแบบทดสอบสำรวจ นำมาเป็นตัวลวงในแบบทดสอบวินิจฉัย จากนั้นให้ผู้เชี่ยวชาญประเมินความสอดคล้องระหว่างความบกพร่องและคำตอบผิดที่ได้จากแบบทดสอบสำรวจ นำข้อสอบและตัวลวงทั้งหมดมาจัดทำเป็นแบบทดสอบวินิจฉัยด้านไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ โดยมีลักษณะเป็นแบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 3 ฉบับ ได้แก่ ฉบับที่ 1 Syntax rule จำนวน 21 ข้อ ฉบับที่ 2 Predicted verb จำนวน 30 ข้อ และ ฉบับที่ 3 Sentence construction จำนวน 14 ข้อ รวม 65 ข้อ ค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาของแบบทดสอบวินิจฉัยมีค่าดัชนีความสอดคล้องตั้งแต่ 0.6 – 1.00 ผลการหาคุณภาพข้อสอบทั้งฉบับมีค่าความยากง่ายของข้อสอบเท่ากับ 0.65 – 0.88 ค่าเฉลี่ยทั้งฉบับ ( p ̅ ) เท่ากับ 0.92 ค่าอำนาจจำแนกข้อสอบเท่ากับ 0.18 - 0.67 ค่าเฉลี่ยทั้งฉบับ ( B ̅ ) เท่ากับ 0.49 ผลการหาค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ (rcc) เท่ากับ 0.96 ค่าความคาดเคลื่อนมาตรฐานในการวัด (SEmeas) เท่ากับ ± 3.21 และ คะแนนจุดตัดของแบบทดสอบวินิจฉัย แบบทดสอบฉบับที่ 1 เท่ากับ 10 คะแนน ฉบับที่ 2 เท่ากับ 12 คะแนน ฉบับที่ 3 เท่ากับ 6 คะแนน และเมื่อหาจุดตัดแบบทดสอบทั้งฉบับจะได้จุดตัดคะแนน เท่ากับ 29 คะแนน ความตรงเชิงสภาพของแบบทดสอบวินิจฉัยด้านไวยากรณ์วิชาภาษาอังกฤษ แบบทดสอบฉบับที่ 1 เท่ากับ 0.91 ฉบับที่ 2 เท่ากับ 0.94 ฉบับที่ 3 เท่ากับ 0.95 และเมื่อหาความตรงเชิงสภาพของแบบทดสอบวินิจฉัยด้านไวยากรณ์วิชาภาษาอังกฤษ เท่ากับ 0.95 คะแนน | en_US |
Appears in Collections: | EDU: Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
620232020-นิศา ธงสิบสอง.pdf | 2.01 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.