Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/80283
Title: | การวิเคราะห์สถานการณ์การดำเนินงานการป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำในวัยรุ่น โรงพยาบาลเชียงดาว |
Authors: | กาวงศ์, คณิตา |
Authors: | กาวงศ์, คณิตา |
Keywords: | การวิเคราะห์สถานการณ์, มารดาวัยรุ่น, การตั้งครรภ์ซ้ำ |
Issue Date: | 31-Oct-2565 |
Abstract: | การป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำในวัยรุ่น เป็นนโยบายสำคัญในการการลดผลกระทบทางลบต่อสุขภาพของมารดาวัยรุ่นและบุตร การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ การดำเนินงานนโยบายการป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำในวัยรุ่น ณ โรงพยาบาลเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้กรอบแนวคิดของโดนาบีเดียน ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ คือ 1) ด้านโครงสร้าง 2) ด้านกระบวนการ 3) ด้านผลลัพธ์ ข้อมูลในการวิจัยนี้จะเก็บด้วยวิธีเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ข้อมูลองค์ประกอบด้านโครงสร้างและด้านกระบวนการจะเก็บด้วยวิธีเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย ผู้บริหาร จำนวน 4 คน และผู้ให้บริการสาธารณสุข จำนวน 6 คน ข้อมูลองค์ประกอบด้านผลลัพธ์เก็บด้วยวิธีเชิงปริมาณโดยการประเมินความพึงพอใจต่อบริการสุขภาพที่ได้รับของกลุ่มหญิงวัยรุ่นตั้งครรภ์ที่มารับบริการจำนวน 10 คน แบบประเมินความพึงพอใจได้ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาและความเชื่อมั่นก่อนนำไปใช้ ข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์ด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อกา และข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษา พบว่า โรงพยาบาลเชียงดาวได้มีการดำเนินงานตามนโยบายที่สอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข องค์ประกอบด้านโครงสร้างพบว่ามีการดำเนินงานในรูปแบบคณะกรรมการซึ่งประกอบด้วย ทีมสหสาขาวิชาชีพทั้งภายในและภายนอกโรงพยาบาล มีการกำหนดตัวชี้วัดเฉพาะแต่ไม่มีการมอบหมายผู้รับผิดชอบในการประเมินและติดตามการปฏิบัติตามนโยบายอย่างเป็นทางการ ไม่มีแผนการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มมารดาวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์ซ้ำโดยเฉพาะถึงแม้ว่าจะมีงบประมาณการดำเนินงานในการป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำในมารดาวัยรุ่นที่เฉพาะเจาะจงโดยได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และมีทรัพยากร ได้แก่ สิ่งอำนวยความสะดวก อุปกรณ์ เครื่องมือทางการแพทย์ อาคารและห้องแยกเฉพาะอย่างเพียงพอต่อความต้องการ ด้านกระบวนการการดำเนินงาน พบว่า 1) มีการให้ความรู้การป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำ แก่มารดาวัยรุ่นทุกระยะของการตั้งครรภ์ 2) มีการจัดบริการที่เป็นมิตรกับวัยรุ่น มีการรักษาความลับ ให้บริการจุดเดียวเบ็ดเสร็จ 3) มีการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม เพื่อการพัฒนา ระบบการบริการสุขภาพ โดยการใช้สื่อออนไลน์ในการให้ความรู้ การประชาสัมพันธ์ ด้านผลลัพธ์พบว่า ผู้รับบริการ มีความพึงพอใจในการบริการสุขภาพ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ผลการศึกษาในครั้งนี้ทำให้ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์สำหรับการปรับปรุงการดำเนินงาน การป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำของมารดาวัยรุ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดบริการที่เหมาะสมสำหรับวัยรุ่นเพื่อเพิ่มประสิทธิผลของการป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำในวัยรุ่นในโรงพยาบาล |
URI: | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/80283 |
Appears in Collections: | RIHES: Independent Study (IS) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
612232024-คณิตา กาวงศ์.pdf | 1.73 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.