Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/37857
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorทิพวรรณ ทั่งมั่งมี-
dc.contributor.authorพรพรรณ ศริกุลen_US
dc.date.accessioned2015-03-11T10:04:54Z-
dc.date.available2015-03-11T10:04:54Z-
dc.date.issued2014-06-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/handle/6653943832/37857-
dc.description.abstractเวียงท่ากานตั้งอยู่ในเขตตำบลบ้านกลาง อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นเมืองโบราณที่ปรากฏมีหลักฐานทางกายภาพ คูเมืองและกำแพงเมือง ตลอดจนโบราณสถานจำนวนมาก ซึ่งกรมศิลปากรได้ทำการขุดค้นศึกษาทางโบราณคดีเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่เป็นที่น่าเสียดายที่ไม่ค่อยจะได้รับความสนใจมีนักท่องเที่ยวเข้าชมมากนัก ทั้งที่อยู่ในเส้นทางท่องเที่ยวที่สำคัญทางตอนใต้ของจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อให้การจัดการเมืองประวัติศาสตร์เวียงท่ากาน ให้เป็นแหล่งเรียนรู้และท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่เกิดประโยชน์ต่อท้องถิ่น การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาบริบททางประวัติศาสตร์ ลักษณะกายภาพ สิ่งแวดล้อมของเมืองโบราณและมรดกวัฒนธรรมของเมืองประวัติศาสตร์เวียงท่ากาน ตำบลบ้านกลาง อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ ตลอดจนศักยภาพและสภาพปัญหาของเมืองโบราณเวียงท่ากานและโบราณสถานในฐานะที่แหล่งเรียนรู้และท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เพื่อเสนอแนวทางของการจัดการเมืองประวัติศาสตร์เวียงท่ากาน ให้เป็นแหล่งเรียนรู้และท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เพื่อการรักษาคุณค่าและเกิดประโยชน์ต่อท้องถิ่น ผลการศึกษาพบว่า เวียงท่ากาน เป็นเมืองโบราณที่มีเป็นเมืองโบราณที่มีอายุอยู่ในสมัยหริภุญไชย ลักษณะกายภาพของเมืองโบราณมีผังเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ยังปรากฏหลักฐานกำแพงเมืองและคูเมืองค่อนข้างชัดเจน มีโบราณสถานซึ่งกรมศิลปากรขุดค้นศึกษาเรียบร้อยแล้วอยู่ทั้งภายในเมืองและนอกเมืองโดยรอบกำแพงเมือง 14 แห่ง และอยู่ไกลออกไปในชุมชนใกล้เคียงโดยรอบอีก 20 แห่ง ภายในตัวเมืองเป็นที่ตั้งของชุมชนหมู่บ้านท่ากาน ซึ่งเป็นชุมชนที่มีความเข้มแข็งช่วยปกปักษาดูแลโบราณสถานเป็นอย่างดี ซึ่งในการศึกษาครั้งนี้ได้เสนอแนวทางของการจัดการการเมืองประวัติศาสตร์เวียงท่ากาน ในรูปแบบของกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้การเมืองประวัติศาสตร์ เวียงท่ากานมีประสิทธิภาพของการเป็นแหล่งเรียนรู้และท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมต่าง ๆ 7 กิจกรรม ดังนี้ 1) ปรับปรุงภูมิทัศน์เมืองประวัติศาสตร์และโบราณสถานเวียงท่ากานให้เหมาะสมต่อการเป็นแหล่งเรียนรู้และท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม 2) ปรับปรุงเส้นทางเข้าสู่โบราณสถานในแต่ละแห่ง และควรมีสื่อความรู้และสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อบริการการเรียนรู้และท่องเที่ยวให้เหมาะสม 3) จัดตั้งศูนย์บริการข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ 4) จัดกิจกรรมของชุมชนเพื่อสนับสนุน ดำเนินการโดยภาคประชาชนในชุมชนบ้านท่ากาน 5) จัดกิจกรรมเสริมต่างๆ เพื่อสร้างความเคลื่อนไหวในชุมชน เช่น การจัดงานประเพณีของท้องถิ่น การจัดตั้งร้านค้าเพื่อจำหน่ายสินค้าของชุมชน 6) มีการประชาสัมพันธ์เชิงรุกในสื่อต่าง ๆ เช่น อินเตอร์เน็ต สื่อโฆษณาทางโทรทัศน์ สื่อทางนิตยสาร รวมถึงป้ายประชาสัมพันธ์ตามสถานที่ต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมาย 7) จัดเส้นทางการเรียนรู้และท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเมืองประวัติศาสตร์เวียงท่ากานทั้งรูปแบบของเส้นทางการเรียนรู้และท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมระยะสั้นและระยะยาว ทั้งนี้กระบวนการดังกล่าวจะทำให้เวียงท่ากานบรรลุเป้าหมายของการเป็นแหล่งเรียนรู้และท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมได้อย่างยั่งยืนและมีประสิทธิภาพen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการจัดการเมืองประวัติศาสตร์เวียงท่ากาน ตำบลบ้านกลาง อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ และท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมen_US
dc.title.alternativeHistorical city management of Wiang Takan, Banklang Sub-district, Sanpatong District, Chiang Mai Province for learning resources and cultural tourismen_US
thailis.classification.ddc959.362-
thailis.controlvocab.thashเมืองโบราณ--เชียงใหม่-
thailis.controlvocab.thashโบราณคดี (การขุดค้น)--เชียงใหม่. อำเภอสันป่าตอง-
thailis.controlvocab.thashการพัฒนาเมือง--เชียงใหม่-
thailis.controlvocab.thashเวียงท่ากาน (เชียงใหม่)-
thailis.manuscript.callnumberว/ภน 959.362 พ176ก-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractเวียงท่ากานตั้งอยู่ในเขตตำบลบ้านกลาง อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นเมืองโบราณที่ปรากฏมีหลักฐานทางกายภาพ คูเมืองและกำแพงเมือง ตลอดจนโบราณสถานจำนวนมาก ซึ่งกรมศิลปากรได้ทำการขุดค้นศึกษาทางโบราณคดีเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่เป็นที่น่าเสียดายที่ไม่ค่อยจะได้รับความสนใจมีนักท่องเที่ยวเข้าชมมากนัก ทั้งที่อยู่ในเส้นทางท่องเที่ยวที่สำคัญทางตอนใต้ของจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อให้การจัดการเมืองประวัติศาสตร์เวียงท่ากาน ให้เป็นแหล่งเรียนรู้และท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่เกิดประโยชน์ต่อท้องถิ่น การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาบริบททางประวัติศาสตร์ ลักษณะกายภาพ สิ่งแวดล้อมของเมืองโบราณและมรดกวัฒนธรรมของเมืองประวัติศาสตร์เวียงท่ากาน ตำบลบ้านกลาง อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ ตลอดจนศักยภาพและสภาพปัญหาของเมืองโบราณเวียงท่ากานและโบราณสถานในฐานะที่แหล่งเรียนรู้และท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เพื่อเสนอแนวทางของการจัดการเมืองประวัติศาสตร์เวียงท่ากาน ให้เป็นแหล่งเรียนรู้และท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เพื่อการรักษาคุณค่าและเกิดประโยชน์ต่อท้องถิ่น ผลการศึกษาพบว่า เวียงท่ากาน เป็นเมืองโบราณที่มีเป็นเมืองโบราณที่มีอายุอยู่ในสมัยหริภุญไชย ลักษณะกายภาพของเมืองโบราณมีผังเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ยังปรากฏหลักฐานกำแพงเมืองและคูเมืองค่อนข้างชัดเจน มีโบราณสถานซึ่งกรมศิลปากรขุดค้นศึกษาเรียบร้อยแล้วอยู่ทั้งภายในเมืองและนอกเมืองโดยรอบกำแพงเมือง 14 แห่ง และอยู่ไกลออกไปในชุมชนใกล้เคียงโดยรอบอีก 20 แห่ง ภายในตัวเมืองเป็นที่ตั้งของชุมชนหมู่บ้านท่ากาน ซึ่งเป็นชุมชนที่มีความเข้มแข็งช่วยปกปักษาดูแลโบราณสถานเป็นอย่างดี ซึ่งในการศึกษาครั้งนี้ได้เสนอแนวทางของการจัดการการเมืองประวัติศาสตร์เวียงท่ากาน ในรูปแบบของกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้การเมืองประวัติศาสตร์ เวียงท่ากานมีประสิทธิภาพของการเป็นแหล่งเรียนรู้และท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมต่าง ๆ 7 กิจกรรม ดังนี้ 1) ปรับปรุงภูมิทัศน์เมืองประวัติศาสตร์และโบราณสถานเวียงท่ากานให้เหมาะสมต่อการเป็นแหล่งเรียนรู้และท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม 2) ปรับปรุงเส้นทางเข้าสู่โบราณสถานในแต่ละแห่ง และควรมีสื่อความรู้และสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อบริการการเรียนรู้และท่องเที่ยวให้เหมาะสม 3) จัดตั้งศูนย์บริการข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ 4) จัดกิจกรรมของชุมชนเพื่อสนับสนุน ดำเนินการโดยภาคประชาชนในชุมชนบ้านท่ากาน 5) จัดกิจกรรมเสริมต่างๆ เพื่อสร้างความเคลื่อนไหวในชุมชน เช่น การจัดงานประเพณีของท้องถิ่น การจัดตั้งร้านค้าเพื่อจำหน่ายสินค้าของชุมชน 6) มีการประชาสัมพันธ์เชิงรุกในสื่อต่าง ๆ เช่น อินเตอร์เน็ต สื่อโฆษณาทางโทรทัศน์ สื่อทางนิตยสาร รวมถึงป้ายประชาสัมพันธ์ตามสถานที่ต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมาย 7) จัดเส้นทางการเรียนรู้และท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเมืองประวัติศาสตร์เวียงท่ากานทั้งรูปแบบของเส้นทางการเรียนรู้และท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมระยะสั้นและระยะยาว ทั้งนี้กระบวนการดังกล่าวจะทำให้เวียงท่ากานบรรลุเป้าหมายของการเป็นแหล่งเรียนรู้และท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมได้อย่างยั่งยืนและมีประสิทธิภาพen_US
Appears in Collections:GRAD-Humanities and Social Sciences: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ABSTRACT.pdfABSTRACT243.26 kBAdobe PDFView/Open
APPENDIX.pdfAPPENDIX274.67 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 1.pdfCHAPTER 1344.27 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 2.pdfCHAPTER 2521.94 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 3.pdfCHAPTER 3278.04 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 4.pdfCHAPTER 42.98 MBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 5.pdfCHAPTER 5654.16 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 6.pdfCHAPTER 6193.04 kBAdobe PDFView/Open
CONTENT.pdfCONTENT173.25 kBAdobe PDFView/Open
COVER.pdfCOVER796.3 kBAdobe PDFView/Open
REFERENCE.pdfREFERENCE265.34 kBAdobe PDFView/Open


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.