Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/37860
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อนิรุทธ์ ธงไชย | - |
dc.contributor.author | ธีระนันท์ ใจสม | en_US |
dc.date.accessioned | 2015-03-12T09:30:52Z | - |
dc.date.available | 2015-03-12T09:30:52Z | - |
dc.date.issued | 2014-08 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/handle/6653943832/37860 | - |
dc.description.abstract | การศึกษาเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างรูปแบบการจัดการ การมีส่วนร่วมของประชาคมในการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานของเทศบาลตำบล ในจังหวัดเชียงใหม่ ให้ดำเนินเป็น ไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล กลุ่มตัวอย่างคือประชาคมตำบลและข้าราชการส่วนท้องถิ่นในเทศบาลตำบลขนาดเล็กและขนาดกลางในจังหวัดเชียงใหม่ จำนวนทั้งสิ้น 115 แห่ง โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน(Multi-Stage Random Sampling) กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 289 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติ T-test ที่เป็นอิสระจากกัน (Independent) ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Window (Statistic Package for Social Sciences) และนำแนวทางการแก้ไขปัญหาให้ผู้เชี่ยวชาญเรียงลำดับความสำคัญ เพื่อจัดทำเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วนเป็นลำดับแรก ผลการศึกษาพบว่าปัญหาด้านการมีส่วนร่วมของประชาคมในการจัดทำแผนพัฒนาสามปีเทศบาลตำบลขนาดเล็กพบว่าเป็นหน้าที่ของหน่วยงานราชการที่จะต้องดำเนินการซึ่งคณะกรรมการในการจัดทำแผนมีผลต่อประสิทธิภาพในการจัดทำแผนมาก ส่วนเทศบาลตำบลขนาดกลาง พบว่าประชาชนคิดว่าเป็นหน้าที่ของตัวแทนชุมชนในการประชุมระดมความคิดและประชาคมเกิดความเบื่อหน่ายไม่อยากเข้าร่วมกิจกรรมการจัดทำแผนพัฒนาเนื่องจากด้านกฎหมายกระบวนการไม่มีความยืดหยุ่นด้านการมีส่วนร่วมของประชาคมที่ร่วมในการสำรวจเพื่อออกแบบเทศบาลตำบลขนาดเล็กพบว่าตัวแทนประชาคมมีผลต่อดำเนินการสำรวจ เพื่อกำหนดรูปแบบโครงการก่อสร้างในระดับมาก ส่วนเทศบาลตำบลขนาดกลางพบว่าเจ้าหน้าที่และประชาคม ขาดการสื่อสารและการตรวจสอบข้อมูลสภาพพื้นที่ของโครงการร่วมกันทำให้ข้อมูลที่ได้มาไม่ชัดเจนด้านการมีส่วนร่วมของประชาคมที่ร่วมเป็นคณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้าง (เฉพาะวิธีการสอบราคา) เทศบาลตำบลขนาดเล็ก พบว่าการคัดเลือกประชาคมมาจากชุมชน ไม่ได้พิจารณาความรู้ ความสามารถ ในการทำหน้าที่เป็นคณะกรรมการเปิดซองส่วนเทศบาลตำบลขนาดกลาง พบว่าเจ้าหน้าที่พัสดุของหน่วยงานขาดการอธิบาย ชี้แจง สร้างความเข้าใจ โดยเฉพาะลักษณะงานเหมือนกันหรือต่างกันอย่างไรแก่ประชาคมก่อนการพิจารณาด้านการมีส่วนร่วมของประชาคมที่ร่วมเป็นคณะกรรมการตรวจรับงานจ้าง เทศบาลตำบลขนาดเล็กพบว่าคณะกรรมการที่มาจากตัวแทนประชาคมมีผลต่อการตรวจรับงานก่อสร้างระดับมาก ส่วนเทศบาลตำบลขนาดกลาง พบว่าประชาคมขาดการพัฒนาเทคนิคและเครื่องมือการตรวจสอบงานก่อสร้าง รวมถึงส่งเสริมองค์ความรู้อย่างต่อเนื่องทำให้ขั้นตอนปฏิบัติงานขาดประสิทธิภาพ ข้อค้นพบรูปแบบการจัดการปัญหาพบแนวทางการแก้ไขดังนี้ด้านการมีส่วนร่วมของประชาคมในการจัดทำแผนพัฒนาสามปีเทศบาลตำบลขนาดเล็กให้มีการทำวิจัยชุมชนตนเองทุกปี เพื่อได้ข้อมูลปัญหาที่เป็นการวิเคราะห์จากชุมชนส่วนเทศบาลตำบลขนาดกลาง ให้มีการจัดประชุมเวทีสัญจร ตู้รับฟังความคิดเห็น การใช้แบบสอบถาม ในการดำเนินกิจกรรมทุกครั้งด้านการมีส่วนร่วมของประชาคมที่ร่วมในการสำรวจเพื่อออกแบบเทศบาลตำบลขนาดเล็ก ก่อนการทำเทศบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีให้มีการจัดประชุมชี้แจงรูปแบบโครงการ ให้ชุมชนทราบ ส่วนเทศบาลตำบลขนาดกลาง ให้มีการวางแผนงานด้านสำรวจ ให้ตรงกับปฏิทินการจัดทำแผนพัฒนาสามปีโดยเริ่มตั้งแต่เดือนแรกของปีงบประมาณ ด้านการมีส่วนร่วมของประชาคมที่ร่วมเป็นคณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้าง (เฉพาะวิธีการสอบราคา) เทศบาลขนาดเล็ก ประชาคมตำบลที่ถูกคัดเลือกจากชุมชนให้เป็นคณะกรรมการเปิดซองสอบราคา ให้พิจารณาคุณสมบัติจากวุฒิการศึกษาที่เกี่ยวกับงานจ้างในแต่ละครั้งส่วนเทศบาลตำบลขนาดกลางให้จัดทำเอกสารสิ่งพิมพ์ คู่มือขั้นตอนในการตรวจสอบเอกสาร แบบฟอร์มตรวจสอบคุณสมบัติงานก่อสร้างแต่ละประเภท ด้านการมีส่วนร่วมของประชาคมที่ร่วมเป็นคณะกรรมการตรวจรับงานจ้าง เทศบาลตำบลขนาดเล็กให้มีการจัดประชุมย่อยระหว่างประชาคมกับเจ้าหน้าที่ก่อนการพิจารณาตรวจรับงานจ้างทุกครั้ง ส่วนเทศบาลตำบลขนาดกลาง ให้จัดทำเอกสารสิ่งพิมพ์ คู่มือขั้นตอนในการตรวจสอบเอกสารแบบฟอร์มตรวจสอบงานก่อสร้างแต่ละประเภทงาน | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | การจัดการปัญหาการมีส่วนร่วมของประชาคมในขบวนการพัฒนาระบบสาธารณูปโภค กรณีศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ | en_US |
dc.title.alternative | Management of problems in community participation in the infrastructure development process : a case study of Chiangmai Province | en_US |
thailis.classification.ddc | 363.6 | - |
thailis.controlvocab.thash | สาธารณูปโภค--เชียงใหม่ | - |
thailis.controlvocab.thash | การพัฒนาเมือง--เชียงใหม่ | - |
thailis.manuscript.callnumber | ว/ภน 363.6 ธ3711ก | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | การศึกษาเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างรูปแบบการจัดการ การมีส่วนร่วมของประชาคมในการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานของเทศบาลตำบล ในจังหวัดเชียงใหม่ ให้ดำเนินเป็น ไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล กลุ่มตัวอย่างคือประชาคมตำบลและข้าราชการส่วนท้องถิ่นในเทศบาลตำบลขนาดเล็กและขนาดกลางในจังหวัดเชียงใหม่ จำนวนทั้งสิ้น 115 แห่ง โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน(Multi-Stage Random Sampling) กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 289 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติ T-test ที่เป็นอิสระจากกัน (Independent) ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Window (Statistic Package for Social Sciences) และนำแนวทางการแก้ไขปัญหาให้ผู้เชี่ยวชาญเรียงลำดับความสำคัญ เพื่อจัดทำเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วนเป็นลำดับแรก ผลการศึกษาพบว่าปัญหาด้านการมีส่วนร่วมของประชาคมในการจัดทำแผนพัฒนาสามปีเทศบาลตำบลขนาดเล็กพบว่าเป็นหน้าที่ของหน่วยงานราชการที่จะต้องดำเนินการซึ่งคณะกรรมการในการจัดทำแผนมีผลต่อประสิทธิภาพในการจัดทำแผนมาก ส่วนเทศบาลตำบลขนาดกลาง พบว่าประชาชนคิดว่าเป็นหน้าที่ของตัวแทนชุมชนในการประชุมระดมความคิดและประชาคมเกิดความเบื่อหน่ายไม่อยากเข้าร่วมกิจกรรมการจัดทำแผนพัฒนาเนื่องจากด้านกฎหมายกระบวนการไม่มีความยืดหยุ่นด้านการมีส่วนร่วมของประชาคมที่ร่วมในการสำรวจเพื่อออกแบบเทศบาลตำบลขนาดเล็กพบว่าตัวแทนประชาคมมีผลต่อดำเนินการสำรวจ เพื่อกำหนดรูปแบบโครงการก่อสร้างในระดับมาก ส่วนเทศบาลตำบลขนาดกลางพบว่าเจ้าหน้าที่และประชาคม ขาดการสื่อสารและการตรวจสอบข้อมูลสภาพพื้นที่ของโครงการร่วมกันทำให้ข้อมูลที่ได้มาไม่ชัดเจนด้านการมีส่วนร่วมของประชาคมที่ร่วมเป็นคณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้าง (เฉพาะวิธีการสอบราคา) เทศบาลตำบลขนาดเล็ก พบว่าการคัดเลือกประชาคมมาจากชุมชน ไม่ได้พิจารณาความรู้ ความสามารถ ในการทำหน้าที่เป็นคณะกรรมการเปิดซองส่วนเทศบาลตำบลขนาดกลาง พบว่าเจ้าหน้าที่พัสดุของหน่วยงานขาดการอธิบาย ชี้แจง สร้างความเข้าใจ โดยเฉพาะลักษณะงานเหมือนกันหรือต่างกันอย่างไรแก่ประชาคมก่อนการพิจารณาด้านการมีส่วนร่วมของประชาคมที่ร่วมเป็นคณะกรรมการตรวจรับงานจ้าง เทศบาลตำบลขนาดเล็กพบว่าคณะกรรมการที่มาจากตัวแทนประชาคมมีผลต่อการตรวจรับงานก่อสร้างระดับมาก ส่วนเทศบาลตำบลขนาดกลาง พบว่าประชาคมขาดการพัฒนาเทคนิคและเครื่องมือการตรวจสอบงานก่อสร้าง รวมถึงส่งเสริมองค์ความรู้อย่างต่อเนื่องทำให้ขั้นตอนปฏิบัติงานขาดประสิทธิภาพ ข้อค้นพบรูปแบบการจัดการปัญหาพบแนวทางการแก้ไขดังนี้ด้านการมีส่วนร่วมของประชาคมในการจัดทำแผนพัฒนาสามปีเทศบาลตำบลขนาดเล็กให้มีการทำวิจัยชุมชนตนเองทุกปี เพื่อได้ข้อมูลปัญหาที่เป็นการวิเคราะห์จากชุมชนส่วนเทศบาลตำบลขนาดกลาง ให้มีการจัดประชุมเวทีสัญจร ตู้รับฟังความคิดเห็น การใช้แบบสอบถาม ในการดำเนินกิจกรรมทุกครั้งด้านการมีส่วนร่วมของประชาคมที่ร่วมในการสำรวจเพื่อออกแบบเทศบาลตำบลขนาดเล็ก ก่อนการทำเทศบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีให้มีการจัดประชุมชี้แจงรูปแบบโครงการ ให้ชุมชนทราบ ส่วนเทศบาลตำบลขนาดกลาง ให้มีการวางแผนงานด้านสำรวจ ให้ตรงกับปฏิทินการจัดทำแผนพัฒนาสามปีโดยเริ่มตั้งแต่เดือนแรกของปีงบประมาณ ด้านการมีส่วนร่วมของประชาคมที่ร่วมเป็นคณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้าง (เฉพาะวิธีการสอบราคา) เทศบาลขนาดเล็ก ประชาคมตำบลที่ถูกคัดเลือกจากชุมชนให้เป็นคณะกรรมการเปิดซองสอบราคา ให้พิจารณาคุณสมบัติจากวุฒิการศึกษาที่เกี่ยวกับงานจ้างในแต่ละครั้งส่วนเทศบาลตำบลขนาดกลางให้จัดทำเอกสารสิ่งพิมพ์ คู่มือขั้นตอนในการตรวจสอบเอกสาร แบบฟอร์มตรวจสอบคุณสมบัติงานก่อสร้างแต่ละประเภท ด้านการมีส่วนร่วมของประชาคมที่ร่วมเป็นคณะกรรมการตรวจรับงานจ้าง เทศบาลตำบลขนาดเล็กให้มีการจัดประชุมย่อยระหว่างประชาคมกับเจ้าหน้าที่ก่อนการพิจารณาตรวจรับงานจ้างทุกครั้ง ส่วนเทศบาลตำบลขนาดกลาง ให้จัดทำเอกสารสิ่งพิมพ์ คู่มือขั้นตอนในการตรวจสอบเอกสารแบบฟอร์มตรวจสอบงานก่อสร้างแต่ละประเภทงาน | en_US |
Appears in Collections: | ENG: Independent Study (IS) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
ABSTRACT.pdf | ABSTRACT | 209.37 kB | Adobe PDF | View/Open |
APPENDIX.pdf | APPENDIX | 1.58 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
CHAPTER 1.pdf | CHAPTER 1 | 453.69 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
CHAPTER 2.pdf | CHAPTER 2 | 689.69 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
CHAPTER 3.pdf | CHAPTER 3 | 575.05 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
CHAPTER 4.pdf | CHAPTER 4 | 794.85 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
CHAPTER 5.pdf | CHAPTER 5 | 339.21 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
CONTENT.pdf | CONTENT | 226.28 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
COVER.pdf | COVER | 635 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
REFERENCE.pdf | REFERENCE | 193.45 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.