Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/45876
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อารี วิบูลย์พงศ์ | - |
dc.contributor.advisor | เยาวเรศ เชาวนพูนผล | - |
dc.contributor.author | พนิต บรรณสาร | en_US |
dc.date.accessioned | 2018-03-21T04:35:48Z | - |
dc.date.available | 2018-03-21T04:35:48Z | - |
dc.date.issued | 2557-05 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/45876 | - |
dc.description.abstract | The purposes of this study were to study the rice planting labor use model, the farmers’ production cost and productivity in Mueang district, Kamphaeng Phet province and the factors that relates to the adoption of parachute rice planting methods in Mueang district, Kamphaeng Phet province. The population used in the study included 300 farmers in areas of Mueang District, Kamphaeng Phet province. With regard to data collection, it was acquired by using the random sampling method and the questionnaire as a tool. Data analysis was conducted via the statistical package program. The findings revealed that most farmers had three family members and occupied the agriculture as their main occupation. Mostly, the family heads had primary education as the educational background and their children would have the highest educational level. The farmers would like to grow the rice three production cycles in one year because there was enough water for cultivation all year round and did not face the drought. Most farmers showed having the land areas of not more than 30 rais and total productivity of 71-80 barrels per rai. Regarding the farmers’ labor use model in the rice cultivation, it found that the wage of laborers both men and women in the area is approximately 300 baht per day. According to the step of soil preparation, most farmers applied the labor use in form of hiring employment but in the step of seedling culture of the farmers who cultivated the rice in forms of lowland planting and parachute rice planting. The farmers would like to use the hiring employment and the hirer would manage the rice plantlets used for planting and valued the hiring cost mixed in the step of planting. With regard to the paddy-sown planting farmer was able to do the rice grain culture itself, this did not let to get the expense. In terms of planting steps, the farmers who cultivated the rice in forms of lowland planting would like to hire the laborers or use the household labor as the parachute rice planting farmers liked to use the hiring employment method. However, in step of sowing and using chemical spray for weed control, the farmers preferred to hire the laborers and would also use the household labor and hiring laborers. According to sprays of chemicals for insect and disease prevention, the farmers would hire the laborers, and the farmers preferred the machine hiring method in the step of harvesting. It found that the costs of the farmers differentiated according to the planting methods and a number of machines and equipment that the farmers had. If there were a number of modern machines and equipment, it would result in high fixed costs. However, the farmers could hire the machines for reduce such fixed costs. Regarding the variable cost, if the farmers chose the methods of lowland planting or parachute planting, they would have lower variable costs due to less use of chemicals for weed control and the methods of lowland planting and parachute planting could also reduce the weed problem. However, the rice sowing method would have the expense on chemicals for weed control more than such two methods above mentioned and this would result in reduction of returns, accordingly. In accordance with personal factors, it found that the levels of educational background of the head of family and family member, farmers’ economic and financial factors, income from other agricultures and other households’ income, farmers’ total debt and total saving deposits, it found that there was no correlation with decision making to choose the methods of parachute rice planting of the farmers. Regarding farmers’ personal factors and family members, experience in rice planting, financial factors, income from rice planting in the previous year, household expenditure and requirement of agricultural extension officials for providing knowledge of parachute rice planting method, it found that there was no correlation with decision making of the farmers’ parachute rice planting method. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | การปลูกข้าว | en_US |
dc.subject | เกษตรกร | en_US |
dc.subject | ปัจจัย | en_US |
dc.title | ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการปลูกข้าวด้วยวิธีโยนกล้าของเกษตรกรในอำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร | en_US |
dc.title.alternative | Factors Affecting Farmers’ Adoption of Parachute Rice Planting Method in Mueang District, Kamphaeng Phet Province | en_US |
dc.type | Independent Study (IS) | |
thailis.classification.ddc | 633.18 | - |
thailis.controlvocab.thash | ข้าว -- การปลูก -- กำแพงเพชร | - |
thailis.controlvocab.thash | ข้าว -- การปลูก | - |
thailis.controlvocab.thash | เกษตรกร -- กำแพงเพชร | - |
thailis.manuscript.callnumber | ว/ภน 633.18 พ153ป | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการใช้แรงงานในการปลูกข้าว รวมถึงต้นทุนและผลผลิตของเกษตรกรในอำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อระดับการยอมรับการปลูกข้าวด้วยวิธีโยนกล้าของเกษตรกรในอำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร โดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเกษตรกรจำนวน 300 รายในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่ายและแบบสอบถามเป็นเครื่องมือ นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมสถิติสำเร็จรูป ผลการวิจัยพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่มีสมาชิกภายในครอบครัวจำนวน 3 คน และประกอบอาชีพเกษตรกรเป็นหลัก หัวหน้าครอบครัวส่วนมากมีระดับการศึกษาสูงสุดอยู่ในระดับประถมศึกษา และภายในครอบครัว บุตรจะมีระดับการศึกษาสูงสุด เกษตรกรมักจะปลูกข้าว 3 รอบการผลิตในหนึ่งปีเนื่องจากมีน้ำเพียงพอสำหรับการปลูกตลอดปีและไม่ประสบปัญหาแห้งแล้ง เกษตรกรส่วนใหญ่มีพื้นที่การเพาะปลูกไม่เกิน 30 ไร่และมีผลผลิตรวม 71-80 ถังต่อไร่ รูปแบบการใช้แรงงานในการเพาะปลูกข้าวของเกษตรกร ค่าจ้างแรงงานของทั้งผู้ชายและผู้หญิงภายในพื้นที่อยู่ที่ประมาณ 300 บาทต่อวัน ในขั้นตอนของการเตรียมดิน ส่วนมากเกษตรกรจะใช้แรงงานแบบจ้างเหมาเครื่องจักร ในขั้นตอนการเพาะกล้าของเกษตรกรที่ปลูกข้าวแบบนาดำและโยนกล้า เกษตรกรจะนิยมจ้างเหมาและผู้รับเหมาจะจัดการเรื่องกล้าข้าวที่ใช้ในการปลูกและคิดค่าจ้างรวมในขั้นตอนการปลูก ส่วนผู้ปลูกข้าวแบบนาหว่านสามารถที่จะเพาะเมล็ดข้าวด้วยตัวเองได้จึงไม่เสียค่าใช้จ่าย ขั้นตอนการปลูก เกษตรกรที่ปลูกข้าวแบบนาดำมักจะใช้แรงงานแบบจ้างเหมาเครื่องจักร ส่วนเกษตรกรที่ปลูกข้าวแบบนาหว่านมักจะใช้แรงงานจ้างหรือแรงงานภายในครัวเรือน และเกษตรกรที่ปลูกข้าวแบบโยนกล้าจะนิยมใช้แรงงานแบบจ้างเหมา ขั้นตอนของการหว่าน การพ่นสารเคมีควบคุมวัชพืช เกษตรกรจะนิยมใช้แรงงานจ้าง ในการหว่านปุ๋ย เกษตรกรจะใช้แรงงานภายในครัวเรือนหรือแรงงานจ้าง ส่วนการฉีดสารเคมีป้องกันโรคและแมลง จะใช้แรงงานจ้าง และในขั้นตอนการเก็บเกี่ยว เกษตรกรจะนิยมการจ้างเหมาเครื่องจักร ต้นทุนของเกษตรกรแตกต่างกันออกไปตามวิธีการปลูกและปริมาณเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่เกษตรกรมี หากมีเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ทันสมัยจำนวนมาก จะส่งผลทำให้มีต้นทุนคงที่ที่สูง แต่เกษตรกรสามารถจ้างเหมาเครื่องจักรเพื่อลดต้นทุนคงที่ได้ ในส่วนของต้นทุนผันแปร หากเกษตรกรเลือกปลูกข้าวด้วยนาดำหรือโยนกล้า เกษตรกรจะมีต้นทุนผันแปรที่ต่ำเนื่องจากใช้ปริมาณสารเคมีควบคุมวัชพืชน้อยลง เนื่องจากการปลูกข้าวด้วยวิธีนาดำหรือโยนกล้าสามารถลดปัญหาเรื่องวัชพืชลงได้ ส่วนการปลูกข้าวด้วยวิธีนาหว่าน จะมีค่าใช้จ่ายเรื่องสารเคมีควบคุมวัชพืชที่สูงกว่าสองวิธีดังกล่าว อันจะส่งผลต่อผลตอบแทนที่ได้รับลดลงตามไปด้วย ปัจจัยส่วนบุคคลของเกษตรกร พบว่า ระดับการศึกษาสูงสุดของหัวหน้าครอบครัวและบุคคลภายในครอบครัว จำนวนสมาชิกในครอบครัวที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ และปัจจัยทางด้านการเงินของเกษตรกร รายได้จากการทำการเกษตรอื่น ๆ ของเกษตรกร รายได้อื่น ๆ ของครัวเรือนเกษตรกร และยอดหนี้สินและยอดเงินออมในปัจจุบันของเกษตรกร ไม่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเลือกวิธีการปลูกข้าวด้วยวิธีโยนกล้าของเกษตรกร ส่วนปัจจัยส่วนบุคคลของเกษตรกร จำนวนสมาชิกภายในครอบครัว ประสบการณ์ด้านการเพาะปลูกข้าว ปัจจัยทางด้านการเงิน รายได้จากการปลูกข้าวในปีก่อน รายจ่ายครัวเรือน และความต้องการเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรเพื่อเข้ามาให้ความรู้ด้านการปลูกข้าวด้วยวิธีการโยนกล้า พบว่ามีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเลือกวิธีการปลูกข้าวด้วยวิธีโยนกล้าของเกษตรกร | en_US |
Appears in Collections: | AGRI: Independent Study (IS) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
ABSTRACT.pdf | ABSTRACT | 542.73 kB | Adobe PDF | View/Open |
APPENDIX.pdf | APPENDIX | 1.04 MB | Adobe PDF | View/Open |
CHAPTER 1.pdf | CHAPTER 1 | 243.82 kB | Adobe PDF | View/Open |
CHAPTER 2.pdf | CHAPTER 2 | 277.8 kB | Adobe PDF | View/Open |
CHAPTER 3.pdf | CHAPTER 3 | 398.83 kB | Adobe PDF | View/Open |
CHAPTER 4.pdf | CHAPTER 4 | 455.6 kB | Adobe PDF | View/Open |
CHAPTER 5.pdf | CHAPTER 5 | 485.77 kB | Adobe PDF | View/Open |
CHAPTER 6.pdf | CHAPTER 6 | 257.12 kB | Adobe PDF | View/Open |
CONTENT.pdf | CONTENT | 395.27 kB | Adobe PDF | View/Open |
COVER.pdf | COVER | 1.24 MB | Adobe PDF | View/Open |
REFERENCE.pdf | REFERENCE | 282.66 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.