Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/46042
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวรลัญจก์ บุณยสุรัตน์-
dc.contributor.authorจตุพร ภูมิพิงค์en_US
dc.date.accessioned2018-04-09T08:23:06Z-
dc.date.available2018-04-09T08:23:06Z-
dc.date.issued2557-06-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/46042-
dc.description.abstractA Study to manage Tai-Yai art and architecture culture heritage learning route for local youth by participatory action studying process of youth in Mae Hong Son city aims to study the historical, social and cultural as well as physical and environmental characteristics of the community. Including Tai-Yai Art and architecture culture heritage in Mae Hong Son city and to propose the model and methods to manage the Art and architecture culture heritage learning Route for Local Youth in order to prompting and realize to local youths in learning and aware in their culture. This study used a participatory action research (Participatory Action Research: PAR) by study with “the Tai-Yai culture heritage studied youths Team” to collect the information as part of document and fieldwork for Youth learning, understanding and aware in their culture. Then, the author analyzes to propose to the model and methods to manage the Art and architecture culture heritage learning Route for Local Youth and this study used the focus group mythology to collect the opinion and suggestions their requirement in the Tai-Yai Art and Architecture Culture heritage Learning Route to be formed as part of suggestion in this study. The results of the study, having proposed the Tai-Yai Art and Architecture Culture heritage Learning Route for Local Youth into 2 routes on following the first one is the study route of the Tai-Yai storing houses and traditional houses and the second one is the study route of the Tai-Yai temples and religious architecture places . And In order to make this Culture heritage learning for Local Youth achieve and get effective on these routes. Then, the author has proposed the model of the locals’ participatory management. So that. The locals have participated and involved in activities and promoted learning. As well as coordination of local governments have contributed and supported to create learning media and promote these learning activities.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectเส้นทางการเรียนรู้en_US
dc.subjectศิลปะสถาปัตยกรรมวัฒนธรรมไทใหญ่en_US
dc.subjectกระบวนการศึกษาเชิงปฏิบัติการen_US
dc.titleการศึกษาเพื่อจัดการเส้นทางการเรียนรู้มรดกทางศิลปะสถาปัตยกรรมวัฒนธรรมไทใหญ่สำหรับเยาวชนในท้องถิ่น โดยกระบวนการศึกษาเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วมของกลุ่มเยาวชนในเขตเมืองแม่ฮ่องสอนen_US
dc.title.alternativeA Study to Manage Tai-Yai Art and Architecture Culture Heritage Learning Route for Local Youth by Participatory Action Studying Process of Youth in Mae Hong Son Cityen_US
dc.typeThesis
thailis.classification.ddc915.9362-
thailis.controlvocab.thashการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม -- แม่ฮ่องสอน-
thailis.controlvocab.thashทรัพยากรทางวัฒนธรรม -- แม่ฮ่องสอน-
thailis.controlvocab.thashวัฒนธรรมไทใหญ่ -- แม่ฮ่องสอน-
thailis.controlvocab.thashแม่ฮ่องสอน -- ประวัติศาสตร์-
thailis.manuscript.callnumberว/ภน 915.9362 จ144ก-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษาเพื่อจัดการเส้นทางการเรียนรู้มรดกทางศิลปะสถาปัตยกรรมวัฒนธรรมไทใหญ่สำหรับเยาวชนในท้องถิ่น โดยกระบวนการศึกษาเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วมของกลุ่มเยาวชนในเขตเมืองแม่ฮ่องสอน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบททางประวัติศาสตร์ สังคม และวัฒนธรรม ตลอดจนลักษณะกายภาพและสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ และวัฒนธรรมของชุมชนเมืองแม่ฮ่องสอน ในเขตเทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน รวมถึงคุณค่าและความสำคัญของมรดกทางศิลปะสถาปัตยกรรมวัฒนธรรมไทใหญ่ ในเขตเทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอน และเสนอรูปแบบและวิธีการจัดการเส้นทางการเรียนรู้มรดกทางศิลปะสถาปัตยกรรมวัฒนธรรมไทใหญ่สำหรับเยาวชนในท้องถิ่น และเพื่อการกระตุ้นเตือนและสร้างสำนึกให้กับกลุ่มเยาวชนเมืองแม่ฮ่องสอนได้เรียนรู้เข้าใจ และสำนึกรักในวัฒนธรรมของตน ซึ่งในการศึกษาใช้วิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม (Participatory Action Research : PAR) โดยผู้ศึกษาได้ดำเนินการร่วมกับ “ทีมยุวศึกษามรดกวัฒนธรรมไทใหญ่เมืองแม่ฮ่องสอน” ทำการเก็บข้อมูลในส่วนหนึ่งของภาคเอกสารและเก็บข้อมูลภาคสนาม เพื่อให้เยาวชนได้เรียนรู้เข้าใจ และสำนึกรักในมรดกวัฒนธรรมของท้องถิ่นตน จากนั้นในวิเคราะห์เพื่อเสนอรูปแบบและวิธีการจัดการเส้นทางการเรียนรู้มรดกทางศิลปะสถาปัตยกรรมวัฒนธรรมไทใหญ่สำหรับเยาวชนในท้องถิ่นนั้น ได้ศึกษาได้ใช้วิธีการสนทนากลุ่มเก็บข้อมูลความคิดเห็นและข้อเสนอแนะความต้องการเรียนรู้ ในเส้นการเรียนรู้มรดกทางศิลปะสถาปัตยกรรมวัฒนธรรมไทใหญ่ เพื่อนำประกอบเป็นส่วนหนึ่งของข้อเสนอในการศึกษาครั้งนี้ด้วย ผลของการศึกษาผู้ศึกษาได้เสนอเส้นการเรียนรู้มรดกทางศิลปะสถาปัตยกรรมวัฒนธรรมไทใหญ่สำหรับเยาวชนในท้องถิ่นออกเป็น 2 เส้นทาง คือ เส้นทางที่ 1 เส้นทางการเรียนรู้เรือนร้านค้าไทใหญ่ และเรือนพื้นถิ่น และเส้นทางที่ 2 เส้นทางการเรียนรู้วัดแบบไทใหญ่ และสถาปัตยกรรมทางศาสนา และเพื่อให้การเรียนรู้มรดกทางศิลปะสถาปัตยกรรมวัฒนธรรมไทใหญ่สำหรับเยาวชนในท้องถิ่น ตามเส้นทางดังกล่าวบรรลุเป้าหมาย และเกิดประสิทธิภาพ จึงได้เสนอรูปแบบการจัดการอย่างมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อให้ภาคประชาชนในพื้นที่ได้มีส่วนร่วมในกิจกรรม และการดำเนินการส่งเสริมการเรียนรู้ ตลอดจนประสานงานให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ได้มีส่วนร่วมสนับสนุนการสร้างสื่อเพื่อการเรียนรู้ และส่งเสริมกิจกรรมการเรียนรู้ดังกล่าวด้วยen_US
Appears in Collections:GRAD-Humanities and Social Sciences: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ABSTRACT.pdfABSTRACT240.09 kBAdobe PDFView/Open
APPENDIX.pdfAPPENDIX643.95 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 1.pdfCHAPTER 1357.81 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 2.pdfCHAPTER 2985.62 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 3.pdfCHAPTER 3571.95 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 4.pdf CHAPTER 42.69 MBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 5.pdfCHAPTER 55.27 MBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 6.pdf CHAPTER 6408.14 kBAdobe PDFView/Open
CONTENT.pdf CONTENT234.11 kBAdobe PDFView/Open
COVER.pdfCOVER747.28 kBAdobe PDFView/Open
REFERENCE.pdfREFERENCE330.48 kBAdobe PDFView/Open


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.